WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BCอสระ วองกศลกจกกร.ปรับเป้า ส่งออกปีนี้เป็น 0 ถึง -1% จากเดิม 0 ถึง -2% คาดเฟดขึ้นดบ.เดือนธ.ค.นี้

   กกร.ปรับเป้า ส่งออกปีนี้เป็น 0 ถึง -1% จากเดิม 0 ถึง -2% หลังส่งออก 9 เดือนติดลบเพียง 0.6 ส่วนปี 60 คาด อยู่ที่ 0 - 2 % ตามเดิม ชี้ศก.โลกยังเปราะบาง แต่เชื่อไทยยังแกร่ง รับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น-การใช้จ่ายภาครัฐโต-ท่องเที่ยวขยายตัว ด้านประธานสอท. คาดเฟดขึ้นดบ.เดือนธ.ค.นี้ กดดันบาทอ่อนค่า แต่เชื่อยังอ่อนค่าแบบมีเสถียรภาพ ส่วนปัญหาราคาข้าวตกต่ำนั้น ยอมรับว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่กระทบกำลังซื้อในประเทศไม่มาก เพราะราคาสินค้าเกษตรชนิดอื่นยังปรับตัวดี ฟากนายกสมาคมธนาคารไทย มองจีดีพีไทยปี 59 โต 3.3-3.5% ปี 60 โต 3.5-4% ตามเป้า

    นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)  มีความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบางสูง โดยมีการประเมินโดย IMF ว่าเศรษฐกิจหลักหลายแห่ง เช่น สหภาพยุโรป จีน เยอรมนี สหราชอาณาจักร เป็นต้น จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในปี 2560 และมีเพียงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะขยายตัวดีขึ้น โดยในระยะใกล้นี้ ต้องติดตามการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งอาจมีผลต่อการปรับตัวของตลาดการเงินโลก

  สำหรับ ภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมนั้น แม้ว่าจะมีปัจจัยกระทบในช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถรักษาการขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการส่งออกที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลบวกต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้รับแรงหนุนจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแรงขับเคลื่อนหลักด้านการใช้จ่ายของภาครัฐ และการท่องเที่ยวที่ยังคาดว่าจะขยายตัวแม้อาจได้รับผลกระทบชั่วคราวจากมาตรการจัดระเบียบธุรกิจนำเที่ยว กกร.จึงยังคงกรอบประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ที่ 3.3-3.5% ในปี 2559 และ 3.5-4.0% ในปี 2560

  ขณะที่ การส่งออกที่ทยอยฟื้นตัว โดยเฉพาะในหมวดอาหารและสินค้าเกษตรบางรายการ กกร. จึงปรับประมาณการส่งออกในปี 2559 จาก -2.0 ถึง 0.0% เป็น -1.0 ถึง 0.0% และในปี 2560 ยังมองกรอบขยายตัวที่ 0.0 ถึง 2.0% ตามเดิม

  อย่างไรก็ตาม ด้วยราคาน้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะทยอยปรับตัวขึ้นและมีผลต่อการเพิ่ม แรงกดดันด้านเงินเฟ้อในช่วงข้างหน้า จึงคาดว่า ธปท.คงจะไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ส่งผลให้บทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจหากมีความจำเป็น จะมาจากการเร่งลงทุนและการออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐเป็นหลัd

  เศรษฐกิจภูมิภาคมีการปรับตัวดีขึ้น ผ่านการเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐและการท่องเที่ยวขยายตัวดีในแทบทุกภูมิภาค  โดยเฉพาะการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนโดยรวม มีการขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังไม่มีการขยายตัวอย่างชัดเจน แม้ว่าเศรษฐกิจทุกภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อาจทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก ภาครัฐจึงควรเร่งฟื้นตัวด้วยการลงทุนเพิ่มมากขึ้น

   ส่วนกรณีที่ สปป.ลาว ประกาศมาตรการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 สำหรับสินค้านำเข้าส่วนบุคคลผ่านแดนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 50 ดอลลาร์ฯ (ประมาณ 1,742 บาท) ซึ่งเป็นการสร้างภาระเพิ่มขึ้นกับประชาชน สปป.ลาวที่เดินทางเข้ามาซื้อสินค้าในไทยจึงส่งผลต่อปริมาณการซื้อสินค้าในไทย และปริมาณนักท่องเที่ยว ซึ่งที่ประชุม กกร.จะนำประเด็นไปหารือในการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS ซึ่งจะมีการจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย. 59 ณ จังหวัดเชียงราย และในกลไกลของคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ เพื่อหาแนวทางและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

     "เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถรักษาการขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการส่งออกที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว เห็นได้จาก 9 เดือนแรกของปีนี้ติดลบน้อยลงเหลือเพียง -0.65% ซึ่งส่งผลบวกต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้รับแรงหนุนจากรายได้เกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อประกอบกับแรงขับเคลื่อนหลักด้านการใช้จ่ายของภาครัฐ และการท่องเที่ยวที่ยังคาดว่าจะขยายตัวแม้อาจได้รับผลกระทบชั่วคราวจากมาตรการจัดระเบียบธุรกิจนำเที่ยว กกร.จึงยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2559 ไว้ที่ 3.3-3.5% และปี 2560 คงอยู่ที่ 3.5-4%"นายอิสระ กล่าว 

   นายอิสระ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้เศรษฐกิจภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น ผ่านการเร่งรัดการลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีในแทบทุกภูมิภาค ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยแล้ว 24.8 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่เดินทางเข้าไทย 9.1 ล้านคน ขยายตัว 14% จากปีก่อน

  ด้านนายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า คาดเฟดอาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุมเดือนธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ตลาดการเงินคาดการณ์และรับรู้อยู่แล้ว ทำให้ค่าเงินบาทน่าจะอ่อนค่าลงอย่างมีเสถียรภาพ ไม่ผันผวนเหมือนในช่วงที่ผ่านมา

    "การเคลื่อนไหวของเงินทุนในเดือนต.ค.ที่ผ่านมาผันผวนค่อนข้างมาก แต่เดือนนี้น่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นจากการรับรู้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งถือว่าไม่เป็นปัจจัยที่เหนือความคาดหมายของตลาด ส่วนตัวจึงมองค่าเงินบาทจากนี้ไปจนถึงสิ้นปีก็คงอยู่ในทิศทางอ่อนค่า แต่คงไม่อ่อนยวบ"นายเจน กล่าว

    สำหรับ ทิศทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ ไม่มีปัจจัยที่น่าเป็นห่วง สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น การส่งออกฟื้นตัวได้ดี ปัญหาน้ำท่วมหรือน้ำแล้งก็ไม่รุนแรง แม้ประเทศไทยจะอยู่ในช่วงไว้ทุกข์ แต่ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยในระยะสั้นเพียง 30 วันเท่านั้น เพราะรัฐบาลก็พยายามสร้างบรรยากาศต่างๆ ให้คนกลับมาบริโภคโดยเร็วที่สุด ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้

    ในส่วนของปัญหาราคาข้าวตกต่ำนั้น ยอมรับว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในประเทศมากนัก เพราะราคาสินค้าเกษตรชนิดอื่นยังปรับตัวไปในทิศทางที่ดี ประกอบกับรัฐบาลมีกลไกให้ความช่วยเหลือชาวนาเต็มที่ อาทิ การอำนวยความสะดวกด้านช่องทางการทำตลาดให้ชาวนาขายข้าวโดยตรงสู่ผู้บริโภคผ่านอีคอมเมิร์ช รวมถึงการรับจำนำยุ้งฉาง และการกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวข้าวในแต่ละพื้นที่ให้แตกต่างกันเพื่อชะลอผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดพร้อมกัน ทำให้ราคาไม่ตกต่ำไปมากกว่านี้

  นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย และนายกสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทุกหน่วยงานมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นไปจนถึงปีหน้า ทำให้ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ปี 2559 คาดโต 3.3-3.5% และปี 2560 คาดโต 3.5-4% ส่งผลดีต่อการขยายตัวของสินเชื่อที่น่าจะโตตามไปด้วย

กกร.คงเป้าจีดีพีปีนี้ ที่ 3.3-3.5% ปรับเพิ่มเป้าส่งออกเป็น 0 ถึง -1% จากเดิมคาด 0 ถึง -2%

      กกร.คงเป้าเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวที่ 3.3-3.5%ส่วนปีหน้า คาดการณ์ที่ 3.5-4% ได้แรงขับเคลื่อนหลักจากการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกเริ่มฟื้นตัว จึงปรับเป้าประมาณการส่งออกปีนี้เป็น 0 ถึง -1% จากเดิม 0 ถึง -2%

    ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กกร. มีความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบางสูง โดยมีการประเมินโดย IMF ว่าเศรษฐกิจหลักหลายแห่ง เช่น สหภาพยุโรป จีน เยอรมนี สหราชอาณาจักร เป็นต้น จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในปี 2560 และมีเพียงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะขยายตัวดีขึ้น โดยในระยะใกล้นี้ ต้องติดตามการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งอาจมีผลต่อการปรับตัวของตลาดการเงินโลก

    สำหรับ ภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมนั้น แม้ว่าจะมีปัจจัยกระทบในช่วงไตรมาส 4 ปี 2559 แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถรักษาการขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการส่งออกที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลบวกต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้รับแรงหนุนจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแรงขับเคลื่อนหลักด้านการใช้จ่ายของภาครัฐ และการท่องเที่ยวที่ยังคาดว่าจะขยายตัวแม้อาจได้รับผลกระทบชั่วคราวจากมาตรการจัดระเบียบธุรกิจนำเที่ยว กกร.จึงยังคงกรอบประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ที่ 3.3-3.5% ในปี 2559 และ 3.5-4.0% ในปี 2560

    ขณะที่ การส่งออกที่ทยอยฟื้นตัว โดยเฉพาะในหมวดอาหารและสินค้าเกษตรบางรายการ กกร. จึงปรับประมาณการส่งออกในปี 2559 จาก -2.0 ถึง 0.0% เป็น -1.0 ถึง 0.0% และในปี 2560 ยังมองกรอบขยายตัวที่ 0.0 ถึง 2.0% ตามเดิม

     อย่างไรก็ตาม ด้วยราคาน้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะทยอยปรับตัวขึ้นและมีผลต่อการเพิ่ม แรงกดดันด้านเงินเฟ้อในช่วงข้างหน้า จึงคาดว่า ธปท.คงจะไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ส่งผลให้บทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจหากมีความจำเป็น จะมาจากการเร่งลงทุนและการออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคจากภาครัฐเป็นหลัd

    เศรษฐกิจภูมิภาคมีการปรับตัวดีขึ้น ผ่านการเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐและการท่องเที่ยวขยายตัวดีในแทบทุกภูมิภาค  โดยเฉพาะการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนโดยรวม มีการขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังไม่มีการขยายตัวอย่างชัดเจน แม้ว่าเศรษฐกิจทุกภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อาจทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก ภาครัฐจึงควรเร่งฟื้นตัวด้วยการลงทุนเพิ่มมากขึ้น

     ส่วนกรณีที่ สปป.ลาว ประกาศมาตรการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 สำหรับสินค้านำเข้าส่วนบุคคลผ่านแดนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 50 ดอลลาร์ฯ (ประมาณ 1,742 บาท) ซึ่งเป็นการสร้างภาระเพิ่มขึ้นกับประชาชน สปป.ลาวที่เดินทางเข้ามาซื้อสินค้าในไทยจึงส่งผลต่อปริมาณการซื้อสินค้าในไทย และปริมาณนักท่องเที่ยว ซึ่งที่ประชุม กกร.จะนำประเด็นไปหารือในการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS ซึ่งจะมีการจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย. 59 ณ จังหวัดเชียงราย และในกลไกลของคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ เพื่อหาแนวทางและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!