WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

สรุปการบรรยายเรื่อง อาคม เติมพิทยาไพสิฐ 'ประเทศไทยกับการฟื้นตัวหลังโควิด-19'

โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

     วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 11.00-12.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร

ภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน

     ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย ไตรมาสที่ 3/2564 หดตัวร้อยละ - 0.3 ต่อปี จากการขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2/2564 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่องและกระจายตัวเป็นวงกว้าง ซึ่งกระทบต่อทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตของประชาชน ซึ่งในอดีตเราเคยพบปัญหาทางเศรษฐกิจมาแล้วหลายครั้ง เช่น พ.ศ. 2540 วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจหดตัวติดต่อกันถึง  7 ไตรมาส

    ในวิกฤตเศรษฐกิจ COVID-19 นี้ เป็นโรคระบาดที่กระทบต่อประชาชนโดยตรง มีผลกระทบในวงกว้างและประสบปัญหาพร้อมกันทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาการนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่ส่งผลกระทบอย่างมากกับประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศส่งออก จึงได้รับผลกระทบอย่างมาก รวมถึงการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ที่ทำให้ระบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต้องชะงัก ทำให้มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูของวิกฤตครั้งนี้มีรูปแบบที่แตกต่างจากในอดีต

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564-2565

      เศรษฐกิจภาพรวมในช่วงท้ายของปี 2564 ทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในขณะที่ เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5-4.5 ต่อปี จากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศไทย การส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่อง และการท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น

การบริหารเศรษฐกิจมหภาค

ได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการไว้ ดังนี้

  1. - การป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด
  2. - การสนับสนุนให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบกลับมาฟื้นตัวได้
  3. - การรักษาแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยว
  4. - การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า
  5. - การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน
  6. - การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
  7. - การติดตามและเฝ้าระวังความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีแนวโน้มจะสร้างแรงกดดันและส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการดูแลเสถียรภาพทางการเมือง

- การรับมือกับสถานการณ์ COVID-19

มาตรการการคลัง

       การรับมือสถานการณ์ COVID-19 รัฐบาลได้ออก พรก.เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 1.5 ล้านล้านบาท โดยนำมาใช้ใน 2 มาตรการดังนี้

  1. มาตรการช่วยเหลือเยียวยา

1) โครงการเราไม่ทิ้งกัน

2) โครงการเยียวยาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

3) โครงการเราชนะ

4) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

5) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

  1. มาตรการกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจ

1) โครงการคนละครึ่ง 3 ระยะ จำนวน 4,500 บาท

2) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

มาตรการทางภาษี

  1.      การขยายระยะเวลาการยื่นแบบและการชำระภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ
  2. เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการส่งออกโดยเร็วที่สุด
  3.      ลดภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องของผู้ประกอบการ เช่น ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายประเมินผ่านระบบ e-Withholding ลดค่าธรรมเนียม ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  4.       สร้างแรงจูงใจให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ ในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากผลกระทบของ COVID-19

มาตรการการเงิน

  1. การเสริมสภาพคล่อง โดย

- สินเชื่อฟื้นฟู ธปท.สนับสนุนเงินทุนให้แก่สถาบันการเงินและสถาบันการเงินให้สินเชื่อใหม่แก่ผู้ประกอบการ ดอกเบี้ย 2% 2ปี แรก โดยมี บสย.ค้ำประกัน

- สินเชื่อผ่าน SFls โดยมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขผ่อนปรนและคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อปกติ

- ค้ำประกันสินเชื่อ ผ่าน บสย. เพื่อช่วย SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อได้ จากมาตรการเสริมสภาพคล่อง พบว่า SMEs ยังไม่สามารถเข้าถึงได้เท่าที่ควร จึงต้องอาศัยกลไกจากภาคเอกชน คณะกรรมการกกร. เข้ามาร่วมผลักดันแก้ไขให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น

  1. - พักหนี้ธนาคารพาณิชย์ และ SFIs พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
  2. - ลดภาระหนี้ มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระยะยาว และปรับวิธีคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
  3. - เพิ่มช่องทางช่วยเหลือลูกหนี้ โครงการหมอหนี้ประชาชน เป็นช่องทางแนะนำและให้คำปรึกษา แก้ไขหนี้ให้กับผู้ประกอบการ เปรียบเทียบนโยบายการคลังเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงของ COVID-19 ประเทศไทยใช้นโยบายการคลังและนโยบายกึ่งการคลังต่อ GDP ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และทั่วโลก ยกเว้น ญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา

การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อรองรับความท้าทายในอนาคต

     การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจต้องตอบโจทย์ความท้าทาย 7 ประการ เพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาวที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ดังนี้

  1. - กับดักรายได้ปานกลาง โดยสนับสนุนอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ มุ่งสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และยกระดับเกษตรมูลค่าสูง
  2. - ขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภาครัฐ และส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนา
  3. - การเติบโตที่ไม่สมดุล โดยส่งเสริมการจ้างงาน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SMEs และกระจายความเจริญไปยังเมืองรอง และความหลากหลายของประเภทธุรกิจ
  4. - ความยากจนเรื้อรัง/ความเหลื่อมล้ำ โดยเสริมความแข็งแกร่งพื้นฐานให้ครัวเรือน สร้างโอกาสในการหารายได้และเพิ่มความก้าวหน้าในอาชีพ
  5. - สังคมผู้สูงอายุ โดยเร่งดำเนินการ Reskill-Upskill ทักษะแรงงาน ขยายและพัฒนาความคุ้มครองทางสังคม
  6. - การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยส่งเสริมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานทดแทน BCG Model ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม
  7.       ภาระทางการคลัง โดยยกร่างแผนการจัดเก็บรายได้รัฐบาล งบประมาณสมดุล อีกประเด็นที่สำคัญ คือส่งเสริมวินัยการออม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ซึ่งปัจจุบันมีความเข้มแข็ง อาทิ Non- bank สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้าน และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่มีความเข้มแข็ง โดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนในบริหารจัดการในภาคการเงิน

     ในปี 2565 ประเทศไทยมีแนวทางในการเก็บภาษีสำหรับ e-Commerce ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการจัดเก็บภาษีในประเภทนี้มาก่อน ในขณะที่ต่างประเทศ ได้มีการหารือแนวทางในการดำเนินการเรียกเก็บภาษี e-Commerce ตัวอย่างเช่น การเก็บภาษีบริษัทที่ไม่มีสถานประกอบการอย่างเป็นทางการในประเทศ จะสร้างรายได้ทางภาษีให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก โดยขอให้ภาคเอกชนและ SMEs ร่วมพัฒนาและเข้ามาอยู่ในระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ดำเนินการไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด

QIC 580x400 

hino2021

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

QIC 720x100

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!