WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

PTTGC-Bovonส.อ.ท.เดินหน้าผลักดันคลัสเตอร์ปิโตรเคมีไทยเป็นผู้นำในอาเซียน วอนรัฐช่วยหนุน

     นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานกลุ่มคลัสเคอร์ปิโตรเคมี ส.อ.ท. กล่าวว่า กลุ่มคลัสเตอร์ปิโตรเคมีมีความมุ่งมั่นในการให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนได้ภายในปี 63 ตามวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งการที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายได้นั้นอยากให้ภาครัฐมีความเข้าใจและช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานต่างๆ ของกลุ่มคลัสเตอร์ปิโตรเคมี ซึ่งภาครัฐไม่ควรที่จะสร้างอุปสรรคในการกำหนดนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายในการกำหนดราคา ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมมีอุปสรรคและไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ อีกทั้งยังส่งผลให้ทุกอุตสาหกรรมในห่วงโซ่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มคลัสเตอร์ปิโตรเคมีได้มีการพูดคุยและทำความเข้าใจกับภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา เพื่อร่วมมือกันเพื่อจะทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยมีการเติบโตและมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

   "ที่ผ่านมารัฐมีการกำหนดนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรม ซึ่งกระทบไปหมดทั้ง supply chain เราก็อยากให้ภาครัฐเข้าใจเราและสนับสนุนเราบ้าง เราไม่ได้ต้องการที่จะมาขอเงิน อย่างตอนนี้มองแล้วอุปสรรคต่างๆ ก็เยอะมาก แต่เราก็เข้าไปทำความเข้าใจ ให้ความรู้ทางวิชาการ และผลกระทบต่างๆ ตอนนี้เราได้มีการคิดออกนอกกรอบ อยากให้มีการใช้ของที่ผลิตได้ในประเทศมาต่อยอด และใช้ไม่หมดก็เอาไปส่งออกได้ ซึ่งตอนนี้ก็คุยกับภาครัฐอยู่เรื่อยๆ"นายบวร กล่าว

    นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นในการที่อยากให้ภาครัฐมีการลดภาษีการนำเข้าเม็ดไบโอพลาสติก เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีต้นทุนที่ถูกลง อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีให้สามารถอยู่รอดได้ เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการนำเข้าเม็ดไบโอพลาสติกมีต้นทุนที่สูง เนื่องจากมีการเสียภาษีการนำเข้าในระดับที่ค่อนข้างสูง

   อย่างไรก็ตาม หากมีความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตเม็ดไบโอพลาสติกเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยได้จริงถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนเม็ดไบโอพลาสติกมีการถูกลงและไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยในขณะนี้มีนักลงทุนที่สนใจตั้งโรงงานผลิตเม็ดไบโอพลาสติกจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีความสนใจเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเม็ดไบโอพลาสติก โดยยังรอความชัดเจนจากทางรัฐบาลไทยก่อน ทั้งนี้ถ้ามีการเกิดขึ้นจริงจะต้องใช้เงินลงทุนกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ในการตั้งโรงงานกลั่นน้ำตาลที่เป็นสารตั้งต้นและโรงผลิตโพลิเมอร์ โดยสถานที่ที่คาดว่าจะใช้ตั้งโรงงานทั้ง 2 โรงงานจะอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จ.สมุทรปราการ (เม็ดไอโอพลาสติกมีการผลิตมาจากน้ำตาลหรือมันสำปะหลังเป็นวัตตถุดิบ)

   ด้านสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ทางกลุ่มกลุ่มคลัสเตอร์ปิโตรเคมีอยากให้ภาครัฐมีความชัดเจนออกมาให้เร็วที่สุด ซึ่งหากไม่มีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ๆ เข้ามาทดแทน จะทำให้ต้นทุนพลังงานของประเทศไทยมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น และกระทบกับต้นทุนของทุกอุตสาหกรรมในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นตามกัน ทำให้อุตสาหกรรมทุกประเภทในประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ และต้องรับภาระต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!