WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กกร.ปรับลดเป้าส่งออกปีนี้เหลือโตไม่ถึง 1%จากเดิมคาดโต 3.5% แต่ยังคงเป้าจีดีพีโต 3.5%

   กกร.ปรับลดเป้าส่งออกปีนี้เหลือโตไม่ถึง 1%จากเดิมคาดโต 3.5% แต่ยังคงเป้าจีดีพีโต 3.5%เผยภาคเอกชนจะหารือร่วมกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน

    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ซึ่งประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของการส่งออกในปี 58 เหลือโตไม่ถึง 1% จากเดิมที่ คาดไว้เติบโต 3.5% เนื่องจากกังวลต่อเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยเฉพาะยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มีเพียงตลาดสหรัฐที่ยังขยายตัวได้ 

   อย่างไรก็ตาม ยังคงคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจขอไทยที่ 3.5% โดยยัง หวังแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนงบลงทุน ซึ่งน่าจะทำได้ดีขึ้นในไตรมาส 3/58 เนื่องจาก ภาคการท่องเที่ยวปีนี้ ยังขยายตัวได้ดีและน่าจะเป็นปัจจัยหลักในการฟื้นฟู เศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้จะขยายตัวได้ตาม เป้าหมายที่ 28 ล้านคน

   นอกจากนี้ ยังหวังกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งคาดว่า จะมีความชัดเจนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบลงทุนในปลาย ไตรมาส 2 และต้นไตรมาส 3 ซึ่งหากเบิกจ่ายได้ดีขึ้น ก็จะช่วยผลักดันให้การ ลงทุนภาคเอกชนกลับมาฟื้นตัว รวมถึงจะช่วยขับเคลื่อนการบริโภคในต่างจังหวัด ที่ซบเซาให้กลับมาดีขึ้น 

  "ภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนของงบ ลงทุน ซึ่งนับว่าเป็นความหวังของการฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีกลับ ยังเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าในอดีต และเป้าที่ภาครัฐวางไว้มาก โดยมีความคาดหวังจะ เห็นอัตราการ

เบิกจ่ายที่เร่งตัวขึ้นในไตรมาสถัดๆ ไป เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ"นายสุพันธุ์ กล่าว

   ทั้งนี้ มองว่าจากฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีที่แล้ว ที่ 0.7%ซึ่งเป็นฐานการขยายตัวที่ต่ำ น่าจะส่งผลทำให้การเติบโตของจีดีพีในปีนี้ที่ 3.5% เป็นไปได้ไม่ยากนัก 

    ขณะที่ การสนับสนุนของภาครัฐในเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการให้ใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ จะทำให้การลงทุนภาคเอกชน ในช่วงหลังของปีนี้เริ่มฟื้นตัว รวมถึงการจะให้ความช่วยเหลือดูแลสินค้าเกษตร เช่น ข้าว และ ยาง ซึ่งหากมีการผลักดันที่ชัดเจนของภาครัฐ ก็จะช่วยกระตุ้น การบริโภคได้

   ขณะนี้ ยังไม่มีสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงการเลิกจ้างงาน ของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ในไทย อาจจะมีเพียงการชะลอการ ทำงานล่วงเวลาหรือโอทีเท่านั้น ซึ่งแสดงว่ายังไม่มีสัญญาณของเศรษฐกิจที่แย่ เกินไป 

    ทางภาคเอกชนจะมีการร่วมหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ในเรื่องการผลักดันการส่งออก โดยภาคเอกชนจะเสนอเรื่องแผนการขยาย ตลาดใหม่ หรือตลาดที่ยังมีการค้าขายไม่สูงนัก รวมทั้งการเน้นส่งเสริมสินค้าของ ไทย ที่ยังมีความแข็งแกร่งและแข่งขันได้ เช่น สินค้าอุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์

    นอกจากนี้ ภาคเอกชนจะหารือร่วมกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล  รองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 เม.ย.นี้ ถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันด้วย

    กกร. ยังได้สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าภาพเศรษฐกิจยังคงมีทิศทางฟื้นตัวอย่างช้าๆ ด้วยปัจจัยหนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่สามารถรักษาโมเมนตัมการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ

   ทั้งนี้ กกร. ยังได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์การฟื้นตัวของภาคส่งออกที่หดตัวติดต่อกันสองเดือน อันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรป ญี่ปุ่นและจีน ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่ผู้ส่งออกไทยยังคงต้องเผชิญอยู่ในปีนี้ รวมทั้งภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐโดยเฉพาะในส่วนของงบลงทุนซึ่งนับว่าเป็นความหวังของการฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงปีที่เหลือ กลับยังเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าในอดีตและเป้าที่ภาครัฐวางไว้มาก โดยมีความคาดหวังจะเห็นอัตราการเบิกจ่ายที่เร่งตัวขึ้นในไตรมาสถัดๆไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งจากงบประมาณปี 2558 มีวงเงินงบประมาณ 2,575 พันล้านบาท (เบิกจ่ายสะสม 1,096 พันลบ.หรือคิดเป็น 43% ของงบประมาณรวม)

    กกร. ร่วมผลักดันการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งได้กำหนดCriteria เพื่อคัดเลือก Clusterหรือ Sector ที่ (1) มีความยั่งยืน มีอนาคต และแข่งขันได้ในภูมิภาค / (2) จะมี Impact ต่อการขยายผลอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ และมีมูลค่าเพิ่ม/ (3) มีปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ กฎหมาย และ/ (4) ทำได้จริง และต้องมี commitment ที่จะดำเนินการ

 กกร. จึงได้จัดทำValue Chain ของ cluster ที่ได้คัดเลือกเพื่อดำเนินการในระยะเร่งด่วน (ภายในปีนี้) ได้แก่ เกษตรและอาหาร (ที่เป็นอนาคต) ท่องเที่ยวและบริการเชิงสุขภาพ (wellness) Digital Economy, Logistics, Lifestyle, ยางและไม้ยางพารา, Machinery, ชิ้นส่วนยานยนต์  การพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า การพัฒนาตลาดการเงิน-ธนาคารและตลาดทุนเพื่อนำหารือในคณะอนุกรรมการการพัฒนา Cluster ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

   นอกจากนี้ กกร.ให้ความสำคัญด้านประสิทธิภาพภาครัฐ หรือ Ease of Doing Business โดยได้จัดทำ Benchmark ของแต่ละตัวชี้วัด เช่น การจัดตั้งธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การจดทะเบียนมาตรฐานบังคับและการออกมาตรฐานต่างๆของสินค้าอุตสาหกรรม การเสียภาษี  การนำเข้า-ส่งออก และใบอนุญาตทำงานและ Visa เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการติดตามและผลักดันให้เกิดการปรับปรุง ซึ่งจะสามารถลดระยะเวลาและต้นทุนของภาคธุรกิจโดยรวมกกร.และ JETRO กำหนดจัด Invest Japan Symposium ในวันที่ 27 พ.ค. 2558 เพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจไทย ที่สนใจเข้าไปทำธุรกิจหรือลงทุนในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจของภาคเอกชนไทยที่จะขยายธุรกิจการค้าการลงทุนไปยังประเทศญี่ปุ่น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!