- Details
- Category: สภาอุตสาหกรรม
- Published: Wednesday, 01 June 2022 21:51
- Hits: 4259
กกร. คง GDP 2.5-4.0% เสนอรัฐชะลอบทลงโทษ PDPA ขอส่วนลดขั้นบันไดภาษีที่ดิน
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนมิถุนายน 2565 โดยมีนายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานร่วมในการประชุม ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพ โดยมีการแถลงข่าวในประเด็นต่อไปนี้
- • ภาคการส่งออกไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง เศรษฐกิจโลกเผชิญ headwind จากสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ความกังวลเกี่ยวกับอาหารขาดแคลนราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอัตราเงินเฟ้อในระดับสูง การขาดแคลนสินค้าสำคัญใน supply chain ภาคอุตสาหกรรม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายธนาคารกลาง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่จีดีพีอาจจะขยายตัวเพียง 4.5% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ 5.5% ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงและอาจจะกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปี
- โดยมีสัญญาณเตือนจากตัวเลขการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่นในเดือนเม.ย. 2565 ที่หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่สำหรับภาพรวมการส่งออกเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาตัวเลขการส่งออกยังเติบโตได้อยู่ในระดับ 9.9% ด้านการขนส่งและ โลจิสติกส์ระหว่างประเทศ Supply ยังสามารถไปได้ แต่ยังประสบภาวะราคาค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาพลังงานที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น
- • การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่สนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี แม้อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นจะฉุดรั้งกำลังซื้อและการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศแต่เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจะได้รับแรงส่งจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น การเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ค. ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นชัดเจน ซึ่งคาดว่าเป้าหมายนักท่องเที่ยวปีนี้ที่ตั้งไว้ 6-8 ล้านคน น่าจะเป็นไปได้ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางในประเทศมีสัญญาณที่ดี โดยขณะนี้ฟื้นตัวได้แล้วถึงระดับ 80% ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562 ดีกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 70% และในระยะข้างหน้ายังได้อานิสงส์จากการขยายสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเพิ่มเติม
- • วิกฤติอาหารโลกรุนแรงขึ้นจนหลายประเทศระงับการส่งออกอาหาร ขณะที่ ไทยอาจได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มเติม สงครามยูเครนและรัสเซียที่ยืดเยื้อทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของโลกในภาพรวมลดลง ส่งผลให้ดัชนีราคาอาหารโลกในเดือน เม.ย. 2565 ปรับเพิ่มขึ้นถึง 29.8%YoY ทำให้หลายประเทศเริ่มเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร และทำให้กว่า 20 ประเทศใช้มาตรการห้ามส่งออกอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มข้าวสาลี น้ำตาล และน้ำมันพืช สำหรับประเทศไทยคาดว่าโอกาสที่จะเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารมีน้อย เนื่องจากความต้องการบริโภคอาหารยังน้อยกว่าผลผลิตที่ผลิตได้ในประเทศ
- อีกทั้ง ในปี 2565 มีปริมาณสินค้าคงคลังสำหรับสินค้าอาหารสำคัญเทียบกับความต้องการในประเทศในระดับสูงกว่าหรือใกล้เคียงกับในอดีต ดังนั้น การที่หลายประเทศตัดสินใจระงับการส่งออก จะเป็นโอกาสของการส่งออกสินค้าของไทย อย่างไรก็ตาม ต้องมีการติดตามและบริหารจัดการสต็อกสินค้าเกษตรและอาหารที่ดี รวมทั้งบริหารจัดการไม่ให้เกิดการขาดแคลนปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์
- • ที่ประชุม กกร. คงประมาณการเศรษฐกิจไทยในกรอบเดิม แม้เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง รวมทั้งต้นทุนและเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นแต่การท่องเที่ยวและการส่งออกที่ยังขยายตัวจะเป็นแรงส่งเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี ทำให้ที่ประชุม กกร. คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5% ถึง 4.0% ในกรอบเดิม และคงประมาณการการส่งออกในปี 2565 ว่าจะยังขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 ว่าจะขยายตัวในกรอบ 3.5% ถึง 5.5%
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2565 ของ กกร.
%YoY ปี 2565
(ณ เม.ย. 65) ปี 2565
(ณ พ.ค. 65) ปี 2565
(ณ มิ.ย. 65)
GDP 2.5 ถึง 4.0 2.5 ถึง 4.0 2.5 ถึง 4.0
ส่งออก 3.0 ถึง 5.0 3.0 ถึง 5.0 3.0 ถึง 5.0
เงินเฟ้อ 3.5 ถึง 5.5 3.5 ถึง 5.5 3.5 ถึง 5.5
นอกจากนี้ กกร. ยังได้มีการหารือในประเด็นอื่น เพิ่มเติม ดังนี้
- • สมาคมธนาคารไทย กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) ร่วมด้วยสถาบันการเงิน 11 แห่ง ยกระดับการยืนยันตัวตน และเชื่อมข้อมูลการให้บริการภาษี วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) ร่วมด้วยสถาบันการเงิน 11 แห่ง ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสำหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี โดยเชื่อมต่อกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของ NDID เมื่อระบบนิติบุคคลสำเร็จ ก็พร้อมต่อยอดนำไปขอข้อมูล ภงด. เพื่อประกอบการขอสินเชื่อ หรือขยายผลไปยัง Use Case อื่นๆ เช่น Smart Financial Infrastructure การใช้บริการภาครัฐแบบ Pure Digital ทั้งหมดต้องช่วยกันผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ
- • ประเด็น พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA ที่มีผลบังคับใช้ในวันนี้ (1 มิ.ย. 65) จะเป็นเรื่องที่ดีและสร้างมาตรฐานให้กับการทำธุรกิจ แม้ว่าเรื่อง PDPA ได้มีการประกาศออกมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่หลายฝ่ายยังคงกังวลในแนวปฏิบัติของกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน และมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกลงโทษ ตามบทลงโทษที่รุนแรงตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันกฎหมายลำดับรองกว่า 20 ฉบับยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กกร. จึงได้เสนอให้ภาครัฐ พิจารณาทบทวนการไม่ใช้บทลงโทษจนกว่าจะออกกฎหมายลำดับรองที่จำเป็นครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนในการปรับปรุงระบบที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ ภาครัฐควรเน้นการประชาสัมพันธ์ สร้างให้ความรู้ความเข้าใจให้ภาคเอกชนและประชาชนในการศึกษาเตรียมตัวในระยะเวลาที่เพียงพอเหมาะสม ซึ่งจะช่วยทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามเจตนารมย์และเป็นประโยชน์ในภาพรวมของประเทศ
- • นอกจากนี้ กกร. ยังได้หารือเรื่องแผนการเดินหน้าเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทย และก็เห็นว่าจำเป็นต้องมีการศึกษา เรื่อง Competitiveness Index ที่ IMD ศึกษามาวิเคราะห์รายละเอียด พร้อมกับทั้งทำเรื่อง BCG Bio-Circular-Green ที่สอดคล้องกับ Sustainable Development Goal เพื่อให้เกิดแผนและรูปแบบที่ชัดเจนสำหรับภาคเอกชนในการขยายผลไปสู่การดำเนินธุรกิจต่อไป
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จัดการประชุมประจำเดือนมิถุนายน โดยมีคุณทวี ปิยะวัฒนา รองประธานกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, คุณกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย และคณะกรรมการ กกร. เข้าร่วม ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพ และผ่านระบบ VDO Conference เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565
สรุปประเด็นแถลงข่าว กกร. ประจำเดือนมิถุนายน 2565 :
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการ กกร. เปิดเผยว่า ภาคการส่งออกไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง เศรษฐกิจโลกเผชิญ headwind จากสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ความกังวลเกี่ยวกับอาหารขาดแคลน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอัตราเงินเฟ้อในระดับสูง การขาดแคลนสินค้าสำคัญใน supply chain ภาคอุตสาหกรรม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายธนาคารกลาง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่จีดีพีอาจจะขยายตัวเพียง 4.5% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ 5.5%
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงและอาจจะกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปี โดยมีสัญญาณเตือนจากตัวเลขการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่นในเดือนเม.ย. 2565 ที่หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่สำหรับภาพรวมการส่งออกเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาตัวเลขการส่งออกยังเติบโตได้อยู่ในระดับ 9.9% ด้านการขนส่งและ โลจิสติกส์ระหว่างประเทศ Supply ยังสามารถไปได้ แต่ยังประสบภาวะราคาค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาพลังงานที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น
การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่สนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี แม้อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นจะฉุดรั้งกำลังซื้อและการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ แต่เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจะได้รับแรงส่งจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น การเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ค. ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นชัดเจน ซึ่งคาดว่าเป้าหมายนักท่องเที่ยวปีนี้ที่ตั้งไว้ 6-8 ล้านคน น่าจะเป็นไปได้ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางในประเทศมีสัญญาณที่ดี โดยขณะนี้ฟื้นตัวได้แล้วถึงระดับ 80% ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562 ดีกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 70% และในระยะข้างหน้ายังได้อานิสงส์จากการขยายสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเพิ่มเติม
วิกฤติอาหารโลกรุนแรงขึ้นจนหลายประเทศระงับการส่งออกอาหาร ขณะที่ ไทยอาจได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มเติม สงครามยูเครนและรัสเซียที่ยืดเยื้อทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของโลกในภาพรวมลดลง ส่งผลให้ดัชนีราคาอาหารโลกในเดือน เม.ย. 2565 ปรับเพิ่มขึ้นถึง 29.8%YoY ทำให้หลายประเทศเริ่มเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร และทำให้กว่า 20 ประเทศใช้มาตรการห้ามส่งออกอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มข้าวสาลี น้ำตาล และน้ำมันพืช
สำหรับ ประเทศไทยคาดว่าโอกาสที่จะเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารมีน้อย เนื่องจากความต้องการบริโภคอาหารยังน้อยกว่าผลผลิตที่ผลิตได้ในประเทศ อีกทั้งในปี 2565 มีปริมาณสินค้าคงคลังสำหรับสินค้าอาหารสำคัญเทียบกับความต้องการในประเทศในระดับสูงกว่าหรือใกล้เคียงกับในอดีต ดังนั้น การที่หลายประเทศตัดสินใจระงับการส่งออก จะเป็นโอกาสของการส่งออกสินค้าของไทย อย่างไรก็ตาม ต้องมีการติดตามและบริหารจัดการสต็อกสินค้าเกษตรและอาหารที่ดี รวมทั้งบริหารจัดการไม่ให้เกิดการขาดแคลนปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์
ที่ประชุม กกร. คงประมาณการเศรษฐกิจไทยในกรอบเดิม แม้เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง รวมทั้ง ต้นทุนและเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นแต่การท่องเที่ยวและการส่งออกที่ยังขยายตัวจะเป็นแรงส่งเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี ทำให้ที่ประชุม กกร. คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5% ถึง 4.0% ในกรอบเดิม และคงประมาณการการส่งออกในปี 2565 ว่าจะยังขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 ว่าจะขยายตัวในกรอบ 3.5% ถึง 5.5%
นอกจากนี้ กกร. ยังได้มีการหารือในประเด็นอื่น เพิ่มเติม ดังนี้ :
สมาคมธนาคารไทย กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) ร่วมด้วยสถาบันการเงิน 11 แห่ง ยกระดับการยืนยันตัวตน และเชื่อมข้อมูลการให้บริการภาษี วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 กรมสรรพากร และ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (NDID) ร่วมด้วยสถาบันการเงิน 11 แห่ง ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การเข้าถึงระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อสนับสนุนข้อมูลสำหรับการให้บริการธุรกรรมภาษี
โดยเชื่อมต่อกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของ NDID เมื่อระบบนิติบุคคลสำเร็จ ก็พร้อมต่อยอดนำไปขอข้อมูล ภงด. เพื่อประกอบการขอสินเชื่อ หรือขยายผลไปยัง Use Case อื่นๆ เช่น Smart Financial Infrastructure การใช้บริการภาครัฐแบบ Pure Digital ทั้งหมดต้องช่วยกันผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ
ประเด็น พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA ที่มีผลบังคับใช้ในวันนี้ (1 มิ.ย. 65) จะเป็นเรื่องที่ดีและสร้างมาตรฐานให้กับการทำธุรกิจ แม้ว่าเรื่อง PDPA ได้มีการประกาศออกมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่หลายฝ่ายยังคงกังวลในแนวปฏิบัติของกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน และมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกลงโทษ ตามบทลงโทษที่รุนแรงตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันกฎหมายลำดับรองกว่า 20 ฉบับยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กกร. จึงได้เสนอให้ภาครัฐ พิจารณาทบทวนการไม่ใช้บทลงโทษจนกว่าจะออกกฎหมายลำดับรองที่จำเป็นครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนในการปรับปรุงระบบที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ ภาครัฐควรเน้นการประชาสัมพันธ์ สร้างให้ความรู้ความเข้าใจให้ภาคเอกชนและประชาชนในการศึกษาเตรียมตัวในระยะเวลาที่เพียงพอเหมาะสม ซึ่งจะช่วยทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามเจตนารมย์และเป็นประโยชน์ในภาพรวมของประเทศ
นอกจากนี้ กกร. ยังได้หารือเรื่องแผนการเดินหน้าเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทย และก็เห็นว่าจำเป็นต้องมีการศึกษา เรื่อง Competitiveness Index ที่ IMD ศึกษามาวิเคราะห์รายละเอียด พร้อมกับทั้งทำเรื่อง BCG Bio-Circular-Green ที่สอดคล้องกับ Sustainable Development Goal เพื่อให้เกิดแผนและรูปแบบที่ชัดเจนสำหรับภาคเอกชนในการขยายผลไปสู่การดำเนินธุรกิจต่อไป