- Details
- Category: สภาอุตสาหกรรม
- Published: Sunday, 06 March 2022 09:26
- Hits: 10104
? กกร. ปรับลด GDP 2.5 ชง จัดตั้ง Focal Point ติดตามสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน แนะยกเลิก Test and Go ตัวช่วยฟื้้น ศก.
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนมีนาคม 2565 โดยมีนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และมีนายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานร่วมในการประชุม ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพ โดยมีการแถลงข่าวในประเด็นต่อไปนี้
- • ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่คาด ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกสูงขึ้น ทั้งสองประเทศมีแนวโน้มที่จะเผชิญหน้ากันมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของทั้งรัสเซียและยูเครนแล้วยังทำให้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นมาก
- โดยราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นสูงสู่ระดับ 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตแพงขึ้นมาก เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน และอาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมลดลงได้
- ทั้งนี้ กกร.เสนอขอให้ภาครัฐมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วม (รัฐ-เอกชน) ในการเป็น Focal Point ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ เพื่อให้เอกชนได้รับข้อมูลจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การปิดน่านฟ้า การประกาศหยุดของสายเรือ รวมถึงผลกระทบหากเกิดกรณีการคว่ำบาตรโดยชาติตะวันตกและพันธมิตรด้วย เพื่อวางแผนในการขนส่งสินค้าไทยต่อไป
- • เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในหลายด้าน ทั้งเงินเฟ้อ การส่งออก รวมถึงการท่องเที่ยว เงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นมากตามทิศทางราคาพลังงาน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจสูงกว่าระดับ 3% ได้เป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อในประเทศและเป็นช่องทางหลักที่ความขัดแย้งรัสเซียยูเครนจะกระทบเศรษฐกิจไทย
- ขณะที่การส่งออกได้รับผลกระทบทางตรงจากตลาดรัสเซียและยูเครนไม่มาก แต่อาจจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจคู่ค้าอื่นที่ชะลอลง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ส่วนด้านการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่จะลดลงจากมาตรการที่จำกัดการเดินทางเช่นการปิดน่านฟ้า แต่กระทบการท่องเที่ยวโดยรวมไม่มากนัก
- • การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจช่วงต้นปีชะลอตัวบ้าง แต่ผลกระทบโดยรวมคาดว่าไม่รุนแรง สอดคล้องกับหลายประเทศที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป แต่การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเข้มงวดน้อยกว่าในช่วงของการระบาดของสายพันธุ์เดลตามาก ประกอบกับหลายประเทศในยุโรปก็เริ่มปรับกลยุทธ์ให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic)
- ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดทางฝั่งเอเชีย รวมถึงไทยกำลังเข้าสู่จุดสูงสุด แต่ก็ไม่ได้เพิ่มความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรค ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ ทั้งนี้ ภาคเอกชนขอบคุณรัฐบาลที่ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ครั้งที่ 2 (วันที่ 5) และปรับเป็นการตรวจด้วย ATK แทน แต่หากมีการยกเลิกมาตรการ Test & GO จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและ นักลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่ดีและเป็นแรงหนุนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2565 ของ กกร.
%YoY ปี 2565
(ณ ม.ค. 65) ปี 2565
(ณ ก.พ. 65) ปี 2565
(ณ มี.ค. 65)
GDP 3.0 ถึง 4.5 3.0 ถึง 4.5 2.5 ถึง 4.5
ส่งออก 3.0 ถึง 5.0 3.0 ถึง 5.0 3.0 ถึง 5.0
เงินเฟ้อ 1.2 ถึง 2.0 1.5 ถึง 2.5 2.0 ถึง 3.0
- • สืบเนื่องจากจีนมีนโยบาย Zero COVID-19 ทำให้มีการเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าผลไม้จากไทยที่ส่งออกเพื่อไปจีนเป็นอย่างมาก ทั้งการฆ่าเชื้อทุกตู้คอนเทนเนอร์ การตรวจสอบศัตรูพืชกักกัน และการตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เวลาการขนส่งจากเดิมใช้เวลาเพียง 3-5 วันเป็น 10 – 15 วันต่อเที่ยว อีกทั้งความไม่แน่นอนในการเปิด-ปิดด่าน ทำให้เกิดความแออัดที่ด่านจำนวนมาก เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการส่งออกผลไม้ของไทย ในข่วงเดือนมี.ค.-มิ.ย. ซึ่งหากแก้ไขไม่ทันจะทำให้ราคาสินค้าผลไม้ตกต่ำอย่างมาก
กกร.จึงขอเสนอให้เร่งเจรจากับรัฐบาลกลางจีน ให้เปิดด่านสถานีรถไฟบ่อหาน เพื่อรองรับสินค้าผลไม้ไทยให้ทันในเดือนเมษายน 2565 นี้ และขยายเวลาเปิดด่านเป็น 24 ชม. เพิ่มช่องทาง Green lane ในการตรวจสินค้าผลไม้ รวมถึงขอให้มีการพิจารณาเพิ่มการอนุญาตจำนวนรถบรรทุกให้ผ่านด่านในเส้นทาง R3A ให้มากขึ้น และขอให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามและผลักดันการเปิดด่านกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนมีนาคม 2565 โดยมีนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานร่วมในการประชุม ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพ
โดยที่ประชุม กกร. เห็นว่า ควรจัดตั้งคณะทำงานร่วม (รัฐ-เอกชน) ในการเป็น Focal Point ติดตามและประเมินสถานการณ์ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั้งนี้้ โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนยังส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจช่วงต้นปีมีแนวโน้มชะลอตัวบ้าง จึงคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5% ถึง 4.5% การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั้งปีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในกรอบ 2.0-3.0%
พร้อมขอบคุณรัฐบาลที่ยกเลิกการตรวจ RT-PCR และปรับเป็นการตรวจด้วย ATK แทน แต่หากมีการยกเลิกมาตรการ Test & GO จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและ นักลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่ดีและเป็นแรงหนุนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมการประชุม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จัดการประชุมประจำเดือนมกราคมคม
โดยมีคุณสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วย คุณกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย และคณะกรรมการ กกร. เข้าร่วม ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพ และผ่านระบบ VDO Conference เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565
สรุปประเด็นแถลงข่าว กกร. ประจำเดือนมีนาคม 2565 :
ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่คาด ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกสูงขึ้น ทั้งสองประเทศมีแนวโน้มที่จะเผชิญหน้ากันมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของทั้งรัสเซียและยูเครนแล้ว ยังทำให้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นมาก โดยราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นสูงสู่ระดับ 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตแพงขึ้นมาก เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน และอาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมลดลงได้
ทั้งนี้ กกร.เสนอขอให้ภาครัฐมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วม (รัฐ-เอกชน) ในการเป็น Focal Point ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ เพื่อให้เอกชนได้รับข้อมูลจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การปิดน่านฟ้า การประกาศหยุดของสายเรือ รวมถึงผลกระทบหากเกิดกรณีการคว่ำบาตรโดยชาติตะวันตกและพันธมิตรด้วย เพื่อวางแผนในการขนส่งสินค้าไทยต่อไป
เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในหลายด้าน ทั้งเงินเฟ้อ การส่งออก รวมถึงการท่องเที่ยว เงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นมากตามทิศทางราคาพลังงาน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจสูงกว่าระดับ 3% ได้เป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อในประเทศและเป็นช่องทางหลักที่ความขัดแย้งรัสเซียยูเครนจะกระทบเศรษฐกิจไทย
ขณะที่การส่งออกได้รับผลกระทบทางตรงจากตลาดรัสเซียและยูเครนไม่มาก แต่อาจจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจคู่ค้าอื่นที่ชะลอลง โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ส่วนด้านการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่จะลดลงจากมาตรการที่จำกัดการเดินทางเช่นการปิดน่านฟ้า แต่กระทบการท่องเที่ยวโดยรวมไม่มากนัก
การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจช่วงต้นปีชะลอตัวบ้าง แต่ผลกระทบโดยรวมคาดว่าไม่รุนแรง สอดคล้องกับหลายประเทศที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป แต่การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเข้มงวดน้อยกว่าในช่วงของการระบาดของสายพันธุ์เดลตามาก ประกอบกับหลายประเทศในยุโรปก็เริ่มปรับกลยุทธ์ให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic)
ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดทางฝั่งเอเชีย รวมถึงไทยกำลังเข้าสู่จุดสูงสุด แต่ก็ไม่ได้เพิ่มความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรค ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ ทั้งนี้ ภาคเอกชนขอบคุณรัฐบาลที่ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ครั้งที่ 2 (วันที่ 5) และปรับเป็นการตรวจด้วย ATK แทน แต่หากมีการยกเลิกมาตรการ Test & GO จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและ นักลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่ดีและเป็นแรงหนุนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป
สืบเนื่องจากจีนมีนโยบาย Zero COVID-19 ทำให้มีการเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าผลไม้จากไทยที่ส่งออกเพื่อไปจีนเป็นอย่างมาก ทั้งการฆ่าเชื้อทุกตู้คอนเทนเนอร์ การตรวจสอบศัตรูพืชกักกัน และการตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เวลาการขนส่งจากเดิมใช้เวลาเพียง 3-5 วันเป็น 10 – 15 วันต่อเที่ยว
อีกทั้ง ความไม่แน่นอนในการเปิด-ปิดด่าน ทำให้เกิดความแออัดที่ด่านจำนวนมาก เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการส่งออกผลไม้ของไทย ในข่วงเดือนมี.ค.-มิ.ย. ซึ่งหากแก้ไขไม่ทันจะทำให้ราคาสินค้าผลไม้ตกต่ำอย่างมาก กกร.จึงขอเสนอให้เร่งเจรจากับรัฐบาลกลางจีน ให้เปิดด่านสถานีรถไฟบ่อหาน เพื่อรองรับสินค้าผลไม้ไทยให้ทันในเดือนเมษายน 2565 นี้ และขยายเวลาเปิดด่านเป็น 24 ชม. เพิ่มช่องทาง Green lane ในการตรวจสินค้าผลไม้ รวมถึงขอให้มีการพิจารณาเพิ่มการอนุญาตจำนวนรถบรรทุกให้ผ่านด่านในเส้นทาง R3A ให้มากขึ้น และขอให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามและผลักดันการเปิดด่านกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง