WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ส.อ.ท.เผย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตฯ ส.ค. อยู่ที่ 88.7 จาก 89.7 ใน ก.ค. ลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน หลังยอดคำสั่งซื้อหดตัว

     ส.อ.ท. เผย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตฯ ส.ค. อยู่ที่ 88.7 จาก 89.7 ใน ก.ค. ลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน หลังยอดคำสั่งซื้อหดตัว  แต่เชื่อว่าจากนี้ไปจะดีขึ้น เพราะมีรัฐบาลแล้ว  มองอัตราจัดเก็บ VAT ที่ 7% ยังต่ำไป แต่หากจะปรับขึ้น ต้องทำในเวลาที่เหมาะสม

   นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนส.ค. 2557 โดยดัชนีความเชื่อมั่น อยู่ที่ระดับ 88.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 89.7 ในเดือนก.ค. เป็นลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยดัชนีที่ปรับลดลงมาจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ              

   ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ  สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ประกอบกับในหลายพื้นที่ของประเทศเกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ              

   อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่าเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลและสามารถผลักดันโยบายและมาตรการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม              

    สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.4 ปรับตัวลดลงจาก 103.1 ในเดือนม.ค. โดยดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ             

    ส่วนข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนนี้  คือ อยากให้ภาครัฐเร่งรัดโครงการลงทุนต่างๆ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และต้องการให้มีการปรับหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อเพ่อช่วยแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ออกมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพต่ำจากต่างประเทศเพื่อปกป้องผู้บริโภคและผู้ประกอบการในประเทศ รวมถึงช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่เออีซี

     นายสุพันธุ์ กล่าวต่อว่า เห็นด้วยที่จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 7% แต่ทั้งนี้ หากจะมีการปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้นนั้น  ควรดำเนินการในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว ซึ่งมองว่าปีหน้าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี จะขยายตัวได้ 4-5%

    "การจะปรับขึ้นก็เพื่อรักษาสมดุลระหว่างงบประมาณกับรายจ่ายให้เหมาะสม คิดว่าในปีหน้าคงเห็น แต่คงต้องดูว่าหากจะปรับต้องทำในเวลาที่เหมาะ โดยต้องจับตาว่ารัฐบาลจะผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตได้ไหม แต่ทั้งนี้ หากปีหน้ามีวิกฤติอะไรเกิดขึ้นก็อาจต้องมาทบทวนกันอีก"นายสุพันธุ์ กล่าว

ตัวเลขภาคอุตฯส.ค.ลดครั้งแรกรอบ 4 เดือน เหตุยอดขายสินค้าในประเทศลด

     แนวหน้า : นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือนสิงหาคม 2557 ว่า  ความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยอยู่ที่ระดับ 88.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 89.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยค่าดัชนีฯที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

    ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 102.4 ปรับตัวลดลงจาก 103.1 ในเดือนกรกฎาคม โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ที่ลดลง เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

    ทั้งนี้ จากการสำรวจ พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อ และยอดขายในประเทศที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทนประเภทรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ประกอบกับในหลายพื้นที่ของประเทศเกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่าเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลจะสามารถผลักดันนโยบายและมาตรการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม

    นายสุพันธุ์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2557 พบว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ส่วนปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

    อย่างไรก็ตาม ทางผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะ ต่อภาครัฐในเดือนสิงหาคมนี้ คือ อยากให้ภาครัฐเร่งรัดการลงทุนโครงการต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องการให้มีการปรับหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการSMEs ออกมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพต่ำจากต่างประเทศเพื่อปกป้องผู้บริโภคและผู้ประกอบการในประเทศรวมถึงช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC

     นายสุพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับนโยบายการปรับโครงสร้างภาษีต่างๆ ของรัฐบาลเช่นภาษีมรดกนั้นภาคเอกชนสนับสนุนให้ดำเนินการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ที่วางไว้ในปี 2558 ที่จะต้องปรับไปอยู่ในระดับปกติคือ 10% จากปีนี้ที่คงไว้ระดับ 7% อยู่นั้นมองว่าการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2558 จะโตได้ในระดับ 4.5%เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวซึ่งจะทำให้โอกาสการส่งออกของไทยจะเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 4-5% จากปีนี้ที่คาดว่าส่งออกคงจะโตได้ไม่เกิน 2% ดังนั้นการเก็บ VAT ระดับ 10% ก็คงจะเหมาะสมแต่ทั้งนี้หากภาวะเศรษฐกิจไทยไม่เติบโตไปตามเป้าหมายนี้ก็เชื่อว่ารัฐบาลจะพิจารณาทบทวนอีกครั้ง

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!