- Details
- Category: หอการค้า
- Published: Saturday, 09 May 2015 22:00
- Hits: 5182
ดัชนี เชื่อมั่นฯเมษายนร่วงต่ำรอบ 10 เดือน-ประชาชนส่อก่อหนี้เพิ่มอีก การบริโภคยังไร้แววฟื้น
แนวหน้า ; ดัชนี เชื่อมั่นฯเมษายนร่วงต่ำรอบ10เดือน-ประชาชนส่อก่อหนี้เพิ่มอีก การบริโภคยังไร้แววฟื้น
การบริโภคในประเทศ ยังอาการไม่ดี ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ประชาชนห่วงค่าครองชีพสูง ซ้ำอยู่ช่วงเปิดเทอม ต้องกู้เงินส่งลูกเรียนอีก ชี้ทางออกเดียวรัฐต้องเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุน ธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายอีกรอบ เพื่อดึงส่งออก และเศรษฐกิจให้โตได้ตามคาดการณ์
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย. 2558 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย. อยู่ที่ระดับ 76.6 ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 77.7 โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และยังต่ำสุดในรอบ 10 เดือน นับจากเดือน ก.ค. 2557 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลงจากระดับ 67.1 มาอยู่ที่ระดับ 66 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานลดลงจากระดับ 72 มาอยู่ที่ระดับ 71.2 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตลดลงจากระดับ 94 มาอยู่ที่ระดับ 92.7
ทั้งนี้ การที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงเป็นผลมาจาก การที่ สศค.ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2558 ลง จาก 3.9% มาอยู่ที่ 3.7%, ราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล์ออกเทน 91(E10) ปรับเพิ่มขึ้น 0.10 บาทต่อลิตร หรือจาก 27.58 บาทต่อลิตร ในสิ้นเดือน มี.ค. มาอยู่ที่ 27.68 บาทต่อลิตร ในสิ้นเดือนเม.ย., ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำ โดยเฉพาะข้าว และยางพารา ทำให้รายได้เกษตรกรอยู่ในระดับต่ำ กำลังซื้อในต่างจังหวัดไม่ขยายตัว, ประชาชนกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าที่ยังทรงตัวในระดับสูง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะติดลบ, ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจกระทบต่อการส่งออก และเศรษฐกิจไทย รวมถึงการส่งออกในเดือน มี.ค. ที่ติดลบ 4.45% แต่ก็มีปัจจัยบวกมาช่วยพยุงบ้าง ทั้งจากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1.50% ต่อปี เพื่อพยุงเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศปรับตัวลดลง
“ยอมรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่มีสัญญาณดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือน พ.ค. ที่เป็นช่วงเปิดเทอมประชาชนจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องบุตรหลานมีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เห็นสัญญาณการกู้เงินนอกระบบมากขึ้น ขณะเดียวกันแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และเห็นสัญญาณเงินฝืดทางเทคนิคส่งผลให้กำลังซื้อลดลงตามไปด้วย”
อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ มองว่าในการเรียกความเชื่อมั่นกลับมา รัฐบาลควรเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อกระจายเม็ดเงินลงสู่ระบบมากขึ้น ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทยควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งต่อไปอีกรอบ เพื่อดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในกรอบ 33.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเอื้อให้การส่งออกและการท่องเที่ยวดีขึ้น แต่ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็มองว่าอาจทำให้การส่งออกติดลบ และทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 2.8-2.9% แม้ว่าขณะนี้หอการค้าไทยยังคงเป้าหมายเศรษฐกิจไทยปีนี้ไว้ที่ 3-3.2% และการส่งออกที่ 0.5% ไว้เช่นเดิมก็ตาม
นายธนวรรธน์กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีการแก้ปัญหาสหภาพยุโรป หรือ อียู ประกาศให้ใบเหลืองประมงไทย อันเนื่องมาจากปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ IUU Fishing ว่า เชื่อว่ารัฐบาลไทยจะมีมาตรการในการแก้ปัญหาที่อียูให้ใบเหลือง และปลดล็อกได้ทันตามกำหนด 6 เดือน ตามที่อียูกำหนด ประกอบกับความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาของไทย น่าจะช่วยให้อียูผ่อนปรน และลดระดับจากใบเหลือง เป็นใบเหลืองอ่อน เพื่อให้ไทยได้เดินหน้าแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งมองว่าการให้ใบเหลืองของอียู เป็นการเตือนให้ไทยเดินหน้าแก้ปัญหาแรงงานประมงผิดกฎหมายอย่างจริงจัง เพราะหากอียูต้องการตัดสิทธิการนำเข้าสินค้าไทยจริงๆอาจจะประกาศให้ใบแดงประเทศไทยไปแล้ว
“หากไทยไม่สามารถแก้ปัญหา IUU ได้ภายใน 6 เดือน อียู อาจจะลงโทษไทย โดยการห้ามนำเข้าสินค้าไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยที่มีมูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ และจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจประมงโดยตรง และหากว่าอียูลงโทษไทย โดยการเก็บภาษีจากไทยแพงขึ้น ก็อาจจะทำให้ผู้ส่งออกของไทยเดือดร้อน แต่ไม่มาก แต่ก็จะทำให้ยอดส่งออกไทยจะลดน้อยลง รวมไปถึงอาจเกิดการคว่ำบาตรสินค้าไทยเกิดขึ้นได้”
ดัชนี เชื่อมั่นบริโภครูดทั้งแผงคนกังวลศก.ซึม-พืชเกษตรตก-ส่งออกวูบ
ไทยโพสต์ * ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.ร่วงยกแผง คนกังวลเศรษฐกิจไม่ฟื้น สินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งออกวูบ กำลังซื้อทรุด แนะรัฐเร่งเบิกจ่ายกระตุ้น ดันราคาสินค้าเกษตรขึ้น "อุ๋ย" ชม มาตรการ ธปท. หนุนลงทุนนอกง่าย กดบาทอ่อนค่า ส่งผลดีระยะยาว
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.2558 ปรับลดลงทุกรายการ 4 เดือนติดต่อกัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 76.6 ลดจาก 77.7 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 66.0 ลดจาก 67.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 71.2 ลดจาก 72.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 92.7 ลดจาก 94.0
"ดัชนี เชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.ปรับลดลงทุกรายการ เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อความ ไม่แน่นอนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ราคาพืชผลการเกษตร โดยเฉพาะข้าวและยางพาราอยู่ในระดับต่ำ ภาวะภัยแล้งที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร ตลอดจนการส่งออกยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้กำลังซื้อโดยรวมยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น" นายวิชร กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐ กิจและธุรกิจ กล่าวว่า สัญญาณการบริโภคยังเป็นขาลง และยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น แม้ภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ระดับต่ำ โดยพบว่าประชาชนมีความรู้สึกว่ายังไม่มีเงินที่จะจับจ่ายใช้สอย โดยเฉพาะช่วงเปิดเทอมที่ผู้ปกครองเริ่มรู้สึกถึงความสามารถในการใช้จ่ายที่ลดลง จนอาจมีการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ
นายธนวรรธน์กล่าวว่า รัฐบาลต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และดูแลราคาสินค้าเกษตรให้ดีขึ้น เพราะสัญญาณเศรษฐกิจซึมตัวถึงไตรมาส 2 หากไม่ดำเนินการอะไร จะทำให้เศรษฐกิจซึมตัวถึงไตรมาส 3 และทำให้จีดีพีทั้งปีขยายตัวใกล้เคียงที่ 3%
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ซึ่งอนุญาตให้คนไทยสามารถถือดอล ลาร์ได้มากขึ้น ช่วยให้คนไทยสามารถ ลงทุนในต่างประเทศได้สะดวก รวมไปถึงให้ต่างชาติถือเงินบาทและสามารถกู้เงินบาทได้มากขึ้น ส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง และเริ่มเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับภูมิภาคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มองว่าเงินบาทสามารถอ่อนค่าลงได้อีก หลังจากประกาศใช้มาตรการอย่างเป็นทางการ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในช่วงนี้ เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศมาจากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดดอกเบี้ยนโยบายลง การประกาศมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้าย และต่างประเทศคือตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามดูต่อไป.
ดัชนี เชื่อมั่นเม.ย.ต่ำสุดรอบ10ด. เหตุประชาชนห่วงค่าครองชีพสูง
แนวหน้า : นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย. 2558 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย.อยู่ที่ระดับ 76.6 ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 77.7 โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และยังต่ำสุดในรอบ 10 เดือนนับจากเดือน ก.ค. 2557 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมลดลงจากระดับ 67.1 มาอยู่ที่ระดับ 66 ดัชนีความเชื่อมั่น เกี่ยวกับโอกาสใน การหางานลดลงจากระดับ 72 มาอยู่ที่ระดับ 71.2 และดัชนีความเชื่อมั่น เกี่ยวกับรายได้ในอนาคตลดลงจากระดับ 94 มาอยู่ที่ระดับ 92.7
ทั้งนี้ การที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงเป็นผลมาจาก การที่ สศค.ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2558 ลงจาก 3.9% มาอยู่ที่ 3.7%, ราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอลออกเทน91(E10) ปรับเพิ่มขึ้น 0.10 บาทต่อลิตร หรือจาก 27.58 บาทต่อลิตรในสิ้นเดือน มี.ค. มาอยู่ที่ 27.68 บาทต่อลิตร ในสิ้นเดือน เม.ย., ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวในระดับต่ำ โดยเฉพาะข้าว และยางพารา ทำให้รายได้เกษตรกรอยู่ในระดับต่ำ กำลังซื้อในต่างจังหวัดไม่ขยายตัว, ประชาชนกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ และราคาสินค้าที่ยังทรงตัวในระดับสูง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะติดลบ, ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจกระทบต่อการส่งออก และเศรษฐกิจไทย รวมถึงการส่งออกในเดือน มี.ค.ที่ติดลบ 4.45% แต่ก็มีปัจจับบวกมาช่วยพยุงบ้าง ทั้ง จากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1.50% ต่อปี เพื่อพยุงเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศปรับตัวลดลง
“ยอมรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่มีสัญญาณดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือน พ.ค.ที่เป็นช่วงเปิดเทอมประชาชนจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องบุตรหลานมีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เห็นสัญญาณการกู้เงินนอกระบบมากขึ้น ขณะเดียวกันแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และเห็นสัญญาณเงินฝืดทางเทคนิคส่งผลให้กำลังซื้อลดลงตามไปด้วย”
อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ มองว่าในการเรียกความเชื่อมั่นกลับมา รัฐบาลควรเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อกระจายเม็ดเงินลงสู่ระบบมากขึ้น ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทยควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งต่อไปอีกรอบ เพื่อดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในกรอบ 33.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเอื้อให้การส่งออกและการท่องเที่ยวดีขึ้น แต่ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็มองว่าอาจทำให้การส่งออกติดลบ และทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 2.8-2.9% แม้ว่าขณะนี้หอการค้าไทยยังคงเป้าหมายเศรษฐกิจไทยปีนี้ไว้ที่ 3-3.2% และการส่งออกที่ 0.5% ไว้เช่นเดิมก็ตาม
นายธนวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีการแก้ปัญหาสหภาพยุโรป หรือ อียู ประกาศให้ใบเหลืองประมงไทย อันเนื่องมาจากปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ IUU Fishing ว่า เชื่อว่ารัฐบาลไทยจะมีมาตรการในการแก้ปัญหาที่อียูให้ใบเหลือง และปลดล็อกได้ทันตามกำหนด 6 เดือนตามที่อียูกำหนด ประกอบกับความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาของไทย น่าจะช่วยให้อียูผ่อนปรน และลดระดับจากใบเหลือง เป็นใบเหลืองอ่อน เพื่อให้ไทยได้เดินหน้าแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งมองว่าการให้ใบเหลืองของอียู เป็นการเตือนให้ไทยเดินหน้าแก่ปัญหาแรงงานประมงผิดกฎหมายอย่างจริงจัง เพราะหากอียูต้องการตัดสิทธิการนำเข้าสินค้าไทยจริงๆอาจจะประกาศให้ใบแดงประเทศไทยไปแล้ว
“หากไทยไม่สามารถแก้ปัญหา IUU ได้ภายใน 6 เดือน อียู อาจจะลงโทษไทย โดยการห้ามนำเข้าสินค้าไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยที่มีมูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ และจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจประมงโดยตรง และหากว่าอียูลงโทษไทย โดยการเก็บภาษีจากไทยแพงขึ้น ก็อาจจะทำให้ผู้ส่งออกของไทยเดือดร้อน แต่ไม่มาก แต่ก็จะทำให้ยอดส่งออกไทยจะลดน้อยลง รวมไปถึงอาจเกิดการคว่ำบาตรสินค้าไทยเกิดขึ้นได้”