WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

UTCCธนวรรธนดัชนี เชื่อมั่นผู้บริโภควูบต่ำสุดรอบ 9 เดือน ประชาชนกระเป๋าแฟบ

      แนวหน้า : ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภควูบต่ำสุดรอบ 9 เดือน ประชาชนกระเป๋าแฟบ ราคาน้ำมันลดไม่ช่วย

    นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือนมีนาคม สำรวจจาก 2,232 ตัวอย่าง พบว่าดัชนีเดือนมีนาคมลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากระดับ 68.4 ในเดือนที่แล้วมาอยู่ที่ 67.1 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน และความเชื่อมั่นทุกด้านยังต่ำลงต่อเนื่องจากที่ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ส่งผลการส่งออกขยายตัวต่ำกว่าคาด ขณะที่การเบิกจ่ายภาครัฐล่าช้า สินค้าเกษตรตกต่ำ แม้ราคาน้ำมันลดลงแต่เนื่องจากเงินในกระเป๋าของประชาชนไม่เพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วนการที่รัฐบาลยกเลิกกฎอัยการศึก แม้จะใช้มาตรา 44 ในการดูแลความมั่นคงและเศรษฐกิจก็เชื่อมั่นว่าจะส่งผลให้การท่องเที่ยวฟื้นตัว เพราะบริษัทประกันจะรับประกันคนที่มาเที่ยวเมืองไทยและทำให้ครึ่งหลังของปีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้น

     อย่างไรก็ตาม จากที่รัฐเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนและชะลอการจัดเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดอัตราภาษีมรดก รวมถึงใช้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาช่วยเหลือรากหญ้า หากทำได้ดีก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังดีขึ้น โดยทางศูนย์ฯ จะแถลงประเมินจีดีพีไทยวันที่ 16 เมษายนนี้ จากเดิมคาดจีดีพีไทยขยายตัว 3-3.5% การส่งออกขยายตัว 0-1%

    “ภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ยังไม่ได้อยู่ในภาวะเงินฝืด แม้เงินเฟ้อติดลบ แต่หากเศรษฐกิจไตรมาส 2 ยังไม่ดีขึ้นทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจจะต้องพิจารณาลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25%ในไตรมาส 3” นายธนวรรธน์ กล่าว

   สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจปัจจุบันต่ำสุดในรอบ 9 เดือน โดยลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ 55.6 มาสู่ระดับ 55.3 ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตภายใน 6 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 80.3 มาอยู่ที่ระดับ 78.9 ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จาก 73.2 เหลือ 72 ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่น

   เกี่ยวกับรายได้ในอนาคตลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จาก 95.8 มาอยู่ที่ 94.0 ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน

    นอกจากนี้ ดัชนีความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่/บ้านหลังใหม่/ ดัชนีความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวก็ปรับลดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีรถยนต์จาก 98.6 เหลือ 97.5 ส่วนบ้านใหม่ลดลงจาก 73 มาอยู่ที่ 71.5 ส่วนดัชนีท่องเที่ยวลดลงจาก 74.4 มาอยู่ที่ 71.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นสถานการณ์ทางการเมืองก็ลดต่ำสุดในรอบ 6 เดือน โดยอยู่ระดับ 94

     “รัฐต้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นให้ได้ในไตรมาส 2 หากความเชื่อมั่นลดลงก็จะกระทบต่อการใช้จ่ายและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและจากที่ดัชนีความเชื่อมั่นการเมืองลดต่ำใกล้เคียงกับช่วงก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะเข้ามาก็เป็นเรื่องที่น่าจะต้องมาดูจุดนี้ด้วย โดยทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ จะมีการสำรวจความเชื่อมั่นใช้จ่ายช่วงสงกรานต์และความเชื่อมั่นหอการค้าทั่วประเทศก็คาดว่าจุดนี้จะวัดเศรษฐกิจได้นายธนวรรธน์

ไม่เชื่อมั่น!ดัชนีต่ำสุด 9 เดือนบริโภคไร้แววฟื้นจี้รัฐเบิกจ่ายงบกระตุ้น

    ไทยโพสต์ * คนไม่เชื่อมั่น! ดัชนีรูดทั้งแผง 3 เดือนติด แตะระดับต่ำสุดรอบ 9 เดือน ปัจจัยลบกระหน่ำ แบงก์ชาติหั่นจีดีพี หุ้นร่วง ส่งออกวูบ สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ ค่าครองชีพพุ่งสวนเงินเฟ้อติดลบ แนะรัฐเร่งเบิกจ่ายงบ ลุ้นท่องเที่ยวพระเอก หุ้นเด้งต่อ "ทรีนีตี้" ให้แนวต้าน 1,550 จุด

   นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้ อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้า ไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน มี.ค.2558 ปรับลดลงทุกรายการ 3 เดือนติดต่อกัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 77.7 ลดจาก 79.1 ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม 67.1 ลดจาก 68.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ 72.0 ลดจาก 73.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 94.0 ลดจาก 95.8

   ปัจจัยลบมาจากการที่ธนา คารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2558 เหลือ 3.8% จาก 4% เพราะเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยง ดัชนี Set Index เดือน มี.ค.ปรับตัวลดลง 81.07 จุด การส่งออกเดือน ก.พ. ลดลง 6.15% ราคาพืชผลทางการเกษตร ยังทรงตัวในระดับต่ำ ทั้งข้าวและยางพารา เงินบาทอ่อนค่า และผู้บริโภคยังวิตกปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าสูงขึ้น แม้ว่าเงินเฟ้อจะติดลบ

   "จากผลสำรวจ ประเมินว่าไตรมาส 2 แนวโน้มการบริโภคของประชาชนจะยังไม่ฟื้นตัวมากนัก เพราะยังมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก ราคาสินค้าเกษตร มีราคาต่ำลง โดยเฉพาะข้าวและยางพารา ทำให้กำลังซื้อลดลง โดยการบริโภคจะฟื้นตัวเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับการเร่งเบิกจ่ายเงินลงทุนของรัฐเป็นสำคัญ และต้องเร่งสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคัก เพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้การส่งออกยังไม่ฟื้นตัว" นายธนวรรธน์ กล่าว

   ด้านตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับผลบวกจากการที่รัฐบาลประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก โดยดัชนีวันที่ 2 เม.ย. เคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดวัน และปิดที่ระดับ 1,532.23 จุด เพิ่มขึ้น 6.65 จุด มูลค่าการซื้อขาย 43,331.25 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิ 762.45 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 2,862.23 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 724.01 ล้านบาท ขณะที่รายย่อยขายสุทธิกลุ่มเดียว 4,348.68 ล้านบาท

   นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ในเดือน เม.ย.นี้ จะมี Trigger fund ในประเทศออกมากถึง 6 กองทุน ณ ระดับดัชนี 1,500 จุด คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย และคาดผลบวกจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของไทยเมื่อเดือน มี.ค. ทำให้ดัชนีมีโอกาสปรับขึ้นได้ โดยให้แนวต้านที่ 1,550 จุด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!