WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ดัชนี เชื่อมั่นผู้บริโภคทรุด 'ข้าว-ยาง'ตก!ฉุดวูบกังวลศก.ฟื้นช้า-ราคาสินค้าแพง

    ไทยโพสต์ : ราชบพิธ * ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ย.หล่นตุ๊บครั้งแรกรอบ 5 เดือนนับจาก คสช.บริหารประเทศ เหตุคนกังวลเศรษฐกิจไม่ฟื้น ราคาข้าว ยางพาราตกต่ำ ส่งออกวูบ ท่องเที่ยวฟุบ ค่าครองชีพแพง หวังมาตร การกระตุ้น ศก. ดันจีดีพีไตรมาส 4 โตเพิ่มอีก 1% ทั้งปีเข้าเป้า 2%

     นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐ กิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการ ค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.2557 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,250 คนทั่วประเทศ ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน

     โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมอยู่ที่ 79.2 ลดจาก 80.1 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันเท่ากับ 61.1 ลดจาก 62 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตเท่ากับ 85.8 ลดจาก 86.6 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 69.2 ลดจาก 70.1 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 72.9 ลดจาก 73.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 95.5 ลดจาก 96.4

      ปัจจัยลบ ได้แก่ ประชาชนกังวลเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงอัตราขยายตัวเศรษฐกิจปี 2557 ไว้ที่ 1.5% และลดคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2558 จากเดิม 5.5% เหลือ 4.8% กระทรวงการคลังปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจจาก 1.5-2.5% เหลือ 1.6-2.0% รวมถึงการไม่ฟื้นตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยว และราคาพืชยังต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ข้าวเปลือก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปัญหาค่าครองชีพที่ยังทรงตัวในระดับสูง

    "ดัชนีปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและของโลกยังไม่ฟื้นตัว ราคาสินค้าเกษตรทรงตัวระดับต่ำ โดยเฉพาะข้าวและยางพารา การส่งออกติดลบมากสุดรอบ 32 เดือน การท่องเที่ยวยังซบเซา ส่งผลให้ผู้บริโภคกังวลกับรายได้ในอนาคต ขณะที่ค่าครองชีพยังทรงตัวระดับสูง ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นลดลงเกือบทุกรายการ" นายธนวรรธน์กล่าว

   อย่างไรก็ดี ดัชนีความคิดเห็นสถานการณ์ทางการเมืองปรับตัวสูงสุดในรอบ 89 เดือน หรือสูงสุดเท่าที่มีการสำรวจ หลังจากสถานการณ์การเมืองดีขึ้น

  นายธนวรรธน์กล่าวว่า การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะ 3 เดือนของรัฐบาล ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับรากหญ้าและการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

  "ประเมินว่าเม็ดเงิน 40,000 ล้านบาทในการช่วยเหลือชาวนา จะ ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในไตร มาสที่ 4 ปี 2557 ขยายตัวเพิ่มอีก 0.3-0.5% จากเดิมที่ประเมินว่าจะขยายตัวในระดับกว่า 3% ทำให้ทั้งปีโตระดับ 2% ได้."นายธนวรรธน์กล่าว

ตัวเลขเชื่อมั่นกย.ปรับลดรอบ 5 ด. ชี้รบ.กระตุ้นศก.ปลายปีกระเตื้อง

    แนวหน้า : นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ระดับ 79.2 ลดลงจาก 80.1  ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว จากราคาพืชผลทางการเกษตรที่ทรงตัวต่ำ โดยเฉพาะข้าว และยางพารา ที่ขณะนี้ราคาต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม ส่งออกต่ำสุดในรอบ 32 เดือน และจำนวนนักการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวส่งผลให้ผู้บริโภคมีความกังวลกับรายได้ในอนาคต อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังปรับตัวลดลงในทุกรายการด้วย แต่เชื่อว่าเป็นการปรับลดในช่วงสั้นๆ ไม่ได้หนักมาก เพราะปรับลดเพียงเล็กน้อย ซึ่งในเดือนถัดไปน่าจะกลับมาดีขึ้นได้

   ทั้งนี้ จากการที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยลดต้นทุนให้กับชาวนาวงเงิน 40,000 ล้านบาท และวงเงินงบประมาณไทยเข้มแข็ง ที่ยังเหลืออยู่อีก 23,000 ล้านบาท รวมถึงงบประมาณย้อนหลังในปี 2548-2556 ที่ยังเหลืออยู่อีกประมาณ 25,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจขยายตัวได้ 4-4.5% และจะเป็นแรงผลักดันให้การบริโภคของประชาชนกลับมาฟื้นตัวได้ในเดือน ต.ค. 2557 อีกทั้งหากรัฐบาลมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้ถึงมือประชาชนอย่างรวดเร็วจะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ 1.5-2%

    “การที่รัฐบาลประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2557 ถือว่ามาทันเวลา ที่เป็นแรงผลักดันสำคัญ ส่งผลให้การบริโภคของประชาชนในไตรมาสที่ 4 ฟื้นตัวขึ้นได้อย่างชัดเจน และน่าจะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคกลับมาดีขึ้นได้ และหากการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปี 2557 เศรษฐกิจในปีนี้ก็น่าจะขยายตัวได้ดีด้วย”

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าอานิสงค์ของการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2557 จากวงเงินงบประมาณ 300,000 ล้านบาท ที่จะนำไปลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ทั้งในส่วนของรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้า ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานสร้างอาชีพให้กับประชาชน เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ภาคการส่งออกของไทยดีขึ้น ภาครัฐมีการเร่งพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวการค้าชายแดน เพื่อกระตุ้นภาคเอกชนให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น น่าจะทำให้เศรษฐกิจของไทยในปี 2558ขยายตัวได้ที่ 4%

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!