- Details
- Category: CAT-TOT
- Published: Wednesday, 02 September 2015 11:19
- Hits: 7353
กสทฯ'เตะถ่วงคืนคลื่น 5 MHz ชงเข้าคนร.ขอความเห็นแก้สัญญาสัมปทาน
แนวหน้า : พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการบริษัท และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการดำเนินกระบวนการคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) จำนวน 5 MHz ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ที่จะคืนให้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปประมูล ในวันที่ 11 พ.ย.นี้ โดยในกระบวนการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับดีแทค ตามที่กระทรวงการคลังตั้งข้อสังเกตมานั้น ทางบริษัทยังคงมีความเห็นว่าไม่ต้องแก้ไข เพราะคลื่นที่จะมอบให้ กสทช.เป็นคลื่นที่ไม่ได้ใช้งานเป็นคลื่นของ กสท โทรคมนาคม และหากต้องมีการแก้ไขสัญญาดังกล่าว การคืนคลื่นอาจจะไม่ทันกับการประมูลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นจึงได้ทำหนังสือสอบถามไปยัง คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ว่าจะต้องแก้ไขหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 ก.ย. กสท โทรคมนาคม จะฟ้องร้องกสทช. มูลค่า 6,000 ล้านบาท ที่มีการคิดค่าเยียวยาคลื่น 1800 MHz มีมติให้เอกชนทั้ง 2 ราย คือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส นำเงินรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 MHz (มาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ) ในช่วงแรกคือ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.56-17 ก.ค.57 ส่งรัฐจำนวน 1,697 ล้านบาท แต่ไม่มีการคิดค่าเช่าโครงข่ายของ กสท โทรคมนาคม
"ในวันที่ 3 ก.ย.นี้ ตนเองจะเข้าพบ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เพื่อทบทวนโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ โครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ดาต้า เซ็นเตอร์ แห่งชาติ เพื่อสร้างความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจต่อไป ส่วนเรื่องการเจรจาข้อพิพาทระหว่างดีแทคก็ยังคงเดินหน้าไปตามแผนเดิม"พ.อ.สรรพชัย กล่าว
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ประชุมบอร์ด กสทฯ มีมติรับทราบความคืบหน้าในการเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจร่วมกับเทสโก้ โลตัส หลังจากที่บริษัทดังกล่าวถอนตัวไม่ร่วมเป็นผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Virtual Network Operation: MVNO) ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการเจรจาธุรกิจกันมากว่า 2 ปี
โดยล่าสุด เทสโก้ โลตัส ขอเสนอการทำธุรกิจร่วมกันในแบบการเป็นพันธมิตรร่วมทุน (Joint Venture ) ด้วยการถือหุ้นกันบริษัทละ 50%โดย กสท โทรคมนาคมไม่ได้ลงทุนเป็นเงินแต่จะลงทุนแค่การให้ค่าโทร (แอร์ไทม์) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสม กลยุทธ์การกำหนดโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ รายละเอียดด้านผลตอบแทนการเงิน ตลอดจนข้อกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาทำธุรกิจร่วมกันได้ประมาณต้นปีหน้า เพื่อให้เทสโก้ โลตัสนำซิมการ์ดไปให้บริการลูกค้าซึ่งมีสมาชิกอยู่ประมาณ 2-3 ล้านราย ไปจนถึงปี 2568 ซึ่งตนเองเชื่อว่าหากได้ทำธุรกิจร่วมกันแล้วน่าจะได้ลูกค้ามากกว่าจำนวนดังกล่าว
ทั้งนี้ กสท โทรคมนาคม ยังคงเดินหน้าหา MVNO รายอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้มีบริษัทที่สนใจร่วมธุรกิจและอยู่ระหว่างการเจรจาจำนวน 4-5ราย ขณะที่ บริษัท ดาต้า ซีดีเอ็มเอ คอมมูนิเคชั่น จำกัด เพิ่งเซ็นสัญญาไปเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนการดำเนินคดีกับ บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด MVNO ซึ่งค้างการชำระเงินกับ กสท โทรคมนาคม ประมาณ 100 ล้านบาทนั้น ได้ดำเนินการยึดหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน (แบงก์การันตี ) กับธนาคารจำนวน 50 ล้านบาท แล้ว หลังจากนี้จะให้เวลา 1 เดือน หากไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการชำระหนี้ กสท โทรคมนาคม จะดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป
กสท.นัดถกแนวทางสู้คดีถูกเคเบิลท้องถิ่นฟ้องปมบังคับให้ส่งฟรีทีวีดิจิตอล
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) จะมีการประชุมเพื่อเตรียมต่อสู้คดีที่ กสทช.ถูกกลุ่มผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นฟ้องเรื่องการบังคับให้เคเบิลต้องบริการส่งฟรีทีวีดิจิตอลด้วย ซึ่งศาลปกครองนัดให้ถ้อยคำช่วงเช้าวันอังคารที่ 1 ก.ย.นี้ ส่วนคดีที่ 5 ช่องดิจิตอลฟ้อง กสทช. ศาลปกครองนัดพร้อมสองฝ่าย
ส่วนการประชุม กสท.ช่วงเช้าวันจันทร์นี้(31 ส.ค.) มีวาระการประชุมน่าสนใจ ได้แก่ แนวทางการกำกับดูแลการให้บริการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่(ระบบดิจิตอล) กรณีปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และมีคำสั่งระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเป็นการชั่วคราว กรณีช่องLOCA
"คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้เสนอ กสท.พิจารณาแนวทางการกำกับดูแลโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่(ดาวเทียมและเคเบิ้ล) กรณีมีการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย มาเป็นแนวทางการกำกับดูแลโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ หรือโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ซึ่งกรณีคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) รายงานว่าพบการออกอากาศที่ผิดกฎหมาย ให้มีคำสั่งชี้แจงระงับการโฆษณาทันทีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดและหากซ้ำอีกไม่ว่าจะเคยถูกดำเนินคดีแล้วหรือไม่ ให้มีคำสั่งแจ้งสถานีระงับออกอากาศชั่วคราวละไม่เกิน 30 วันจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งหากคดีถึงที่สุดว่าผู้กระทำได้ทำความผิดจริง ให้พิจารณาส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พิจารณาความผิดตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ พ.ศ.2551 หรือ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ประกอบกับ ประกาศ กสทช.เรื่องการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคฯ พ.ศ.2555 หากฝ่าฝืนให้ปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท และอาจพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตได้
นอกจากนี้ ยังมีวาระเรื่องร้องเรียน ได้แก่ การมีคำสั่งระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเป็นการชั่วคราว กรณีช่องไบรท์ทีวี, วาระเรื่องร้องเรียนที่เข้าข่ายมีเนื้อหาไม่เหมาะสม ได้แก่ กรณีเรื่องร้องเรียนช่อง Asian Major Channel และ Mix Channel กรณีการออกอากาศรายการช่อง Peace TV เพิ่มเติมอีก 4 รายการ ได้แก่ รายการแรงกล้าประชาธิปไตย วันที่ 26 ก.ค.58, รายการคนกลางคลอง วันที่ 26 ก.ค.58, รายการห้องข่าวเล่าเรื่องสุดสัปดาห์ วันที่ 26 ก.ค.58, รายการเข้าใจตรงกันนะ วันที่ 27 ก.ค.58 และรายการฟังความรอบด้าน ตอนนักศึกษากับประชาธิปไตย วันที่ 21 ก.ค.58 โดยได้มีการเสนอยื่นคำร้องศาลปกครองสูงสุด เพื่อเป็นการประกอบพิจารณามีคำสั่งเพิกถอนทุเลาการบังคับของศาลปกครองกลาง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับของศาลปกครองกลาง
และวาระอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ การพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บเงินรายปีเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะในกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ วาระ(ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การจัดสรรเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ เพื่อประโยชน์สาธารณะประจำปี 2558(กทปส.) และวาระการขยายขอบเขตการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ของ บ.ทีซี บรอดคาสติ้ง จำกัด ประสงค์ยื่นขอขยายขอบเขตการให้บริการโทรทัศน์ในระบบไอพีทีวี (IPTV)
อินโฟเควสท์
'เศรษฐพงค์'เดินหน้าประมูล 4 G กสทช.เคาะร่างไอเอ็มฯศุกร์นี้
แนวหน้า : พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด กทค. ว่า ที่ประชุมรับรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 MHz และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่านความถี่ 1710- 1785/1805-1880 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และร่างประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการและวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 897.5-915.0 MHz/942.5-960.0 MHz ในช่วงระหว่างวันที่ 18 กรกฏาคม – 17 สิงหาคม 2558 ตามที่คณะทำงานทบทวนหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ได้ดำเนินการสรุปความเห็นที่ได้รับและพิจารณาทบทวนร่างประกาศ กสทช.ทั้ง 2 ฉบับ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่คณะทำงานฯ สรุปมาโดยจะนำร่างประกาศ กสททช.ทั้ง 2 ฉบับ เข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสทช.อีกครั้งในวันศุกร์ 21 ส.ค.58 เพื่อพิจารณาและเห็นชอบต่อไป โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ปรับปรุงร่างประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz โดยมีขนาดแถบคลื่นความถี่ 30 MHz และแบ่งเป็นชุดคลื่นความถี่ 2 ชุด ชุดละ 15 MHz และปรับราคาเริ่มต้นการประมูลเป็นการคิดจากมูลค่าคลื่นที่แท้จริงที่ 80% จากเดิมที่คิดจากมูลค่าคลื่นที่ 70% และ 100% ซึ่งจะมีราคาตั้งต้นการประมูลที่ 15,912 ล้านบาท ขณะที่ระยะเวลาใบอนุญาตจะปรับลดลงจากที่มีระยะเวลา 19 ปี ลดเหลือ 18 ปี