- Details
- Category: บีโอไอ
- Published: Friday, 22 December 2017 13:38
- Hits: 3772
BOI ติวเข้มผู้ประกอบการใช้หุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติ หวังยกระดับกระบวนการผลิตเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กล่าวว่า การจัดงานสัมมนา "การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ" ในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็นและนำเสนอมุมมองต่างๆ ทั้งด้านศักยภาพและโอกาสการพัฒนาการออกแบบ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานองค์กรพันธมิตรต่างๆ เช่น สมาคมเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์และCenter of Robotics Excellence (CORE) โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 500 คน
ทั้งนี้ ภายในงานบีโอไอได้มีการนำเสนอข้อมูลการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ซึ่งปัจจุบันได้ขยายขอบข่ายประเภทกิจการที่สามารถขอรับส่งเสริมการลงทุนให้กว้างขึ้น ตลอดจนกำหนดให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับโครงการที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมในประเทศ
ปัจจุบันบีโอไอให้สิทธิประโยชน์ครบทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้โดยในส่วนของผู้ผลิตจะสามารถขอรับการส่งเสริมในกิจการต่างๆ ได้โดยตรง เช่นการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ การประกอบหุ่นยนต์ การออกแบบทางระบบวิศวกรรม เป็นต้น ขณะที่ผู้ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสามารถขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอได้ภายใต้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตนี้ โดยผู้ขอรับสิทธิจะเป็นผู้ประกอบการทั้งที่เคยได้รับการส่งเสริมและไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอก็ได้แต่ต้องเป็นประเภทกิจการที่บีโอไอเปิดให้การส่งเสริม
"บีโอไอให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาอย่างต่อเนื่องโดยตั้งแต่ปี 2556 บีโอไอได้ออกมาตรการสนับสนุนผ่านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงานใช้พลังงานทดแทนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนเพื่อนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิตที่จะช่วยสร้างความตื่นตัวในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้มากขึ้น" นางสาวดวงใจ กล่าว
นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของบีโอไอแล้ว ในงานนี้ยังมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) ศูนย์เครื่องจักรกลและระบบอัตโนมัติและสมาคมเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) อีกด้วย
สำหรับ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน บีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมภายใต้มาตรการดังกล่าวแล้ว 239 โครงการ รวมมูลค่าลงทุนกว่า 37,222 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน/ใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งเป็นเงินลงทุนรวม 23,562 ล้านบาทตัวอย่างกิจการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในช่วงปี 2560 เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า กิจการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ กิจการผลิตชุดเกียร์ส่งกำลัง กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เป็นต้น รองลงมาคือ การลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เงินลงทุนรวม 11,436 ล้านบาท
เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า บีโอไอมีเป้าหมายเดินหน้าจัดสัมมนาให้ความรู้และข้อมูลด้านนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่องโดยในเดือนกุมภาพันธ์2561 นี้จะจัดงานสัมมนาใหญ่เพื่อให้ข้อมูลถึงมาตรการใหม่ๆ ของบีโอไอในปัจจุบัน
อินโฟเควสท์
บีโอไอ ชูกิจการหันใช้เทคโนโลยี หนุนผู้ประกอบการใช้หุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
บีโอไอ 'ติวเข้ม' ผู้ประกอบการ แจงรายละเอียดมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ชูขยายภาพรวมการส่งเสริมให้เกิดการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หวังยกระดับกระบวนการผลิตเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ เปิดกว้างทั้งโครงการเดิมและโครงการใหม่
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยภายในงานสัมมนา "การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ" ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 500 คนว่าการสัมมนาครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็นและนำเสนอมุมมองต่างๆ ทั้งด้านศักยภาพและโอกาสการพัฒนา การออกแบบ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร สำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อก้าวไปสู่ "ประเทศไทย 4.0" ด้วยการนำนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต การจัดงานครั้งนี้บีโอไอได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานองค์กรพันธมิตรต่างๆเช่นสมาคมเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์และCenter of Robotics Excellence (CORE)
ทั้งนี้ ภายในงานบีโอไอได้มีการนำเสนอข้อมูลการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ซึ่งปัจจุบันได้ขยายขอบข่ายประเภทกิจการที่สามารถขอรับส่งเสริมการลงทุนให้กว้างขึ้น ตลอดจนกำหนดให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับโครงการที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมในประเทศ
ปัจจุบันบีโอไอให้สิทธิประโยชน์ครบทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้โดยในส่วนของผู้ผลิตจะสามารถขอรับการส่งเสริมในกิจการต่างๆ ได้โดยตรง เช่นการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ การประกอบหุ่นยนต์ การออกแบบทางระบบวิศวกรรม เป็นต้น ขณะที่ผู้ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสามารถขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอได้ภายใต้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตนี้ โดยผู้ขอรับสิทธิจะเป็นผู้ประกอบการทั้งที่เคยได้รับการส่งเสริมและไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอก็ได้แต่ต้องเป็นประเภทกิจการที่บีโอไอเปิดให้การส่งเสริม
"บีโอไอให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาอย่างต่อเนื่องโดยตั้งแต่ปี 2556 บีโอไอได้ออกมาตรการสนับสนุนผ่านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงานใช้พลังงานทดแทนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนเพื่อนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิตที่จะช่วยสร้างความตื่นตัวในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้มากขึ้น" นางสาวดวงใจ กล่าว
นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของบีโอไอแล้ว ในงานนี้ยังมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) ศูนย์เครื่องจักรกลและระบบอัตโนมัติและสมาคมเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) อีกด้วย
สำหรับ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตั้งแต่ปี 2556จนถึงปัจจุบันบีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมภายใต้มาตรการดังกล่าวแล้ว 239 โครงการ รวมมูลค่าลงทุนกว่า 37,222 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน/ใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งเป็นเงินลงทุนรวม 23,562 ล้านบาทตัวอย่างกิจการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในช่วงปี 2560 เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า กิจการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ กิจการผลิตชุดเกียร์ส่งกำลัง กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เป็นต้น รองลงมาคือ การลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เงินลงทุนรวม 11,436 ล้านบาท
นางสาวดวงใจ กล่าวว่า บีโอไอมีเป้าหมายเดินหน้าจัดสัมมนาให้ความรู้และข้อมูลด้านนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่องโดยในเดือนกุมภาพันธ์2561 นี้จะจัดงานสัมมนาใหญ่เพื่อให้ข้อมูลถึงมาตรการใหม่ๆของบีโอไอในปัจจุบัน
รัฐโหมลงทุนปี'61 เมกะโปรเจกท์แสนล./BOI เพิ่มสิทธิจูงใจ
แนวหน้า : มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า วันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 จะมีการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ด บีโอไอ) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยวาระสำคัญที่จะพิจารณา คือ แนวโน้มคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่พบว่าช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2560 ค่อนข้างซบเซา ทำให้ช่วง 10 เดือนของปีนี้(มกราคมตุลาคม 2560) มียอดคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 400,000 ล้านบาท ทำให้เกิดความกังวลว่ายอดคำขอทั้งปีที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ที่ 600,000 ล้านบาทได้ตามนี้หรือไม่
นอกจากนี้ บอร์ดบีโอไอ จะพิจารณา แพคเกจการลงทุนรูปแบบใหม่ที่จะกระตุ้นการลงทุนรายภูมิภาค ซึ่งเป็นนโยบายที่พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการให้มีพื้นที่ลงทุนทั่วประเทศเช่นเดียวกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา โดยพื้นที่รายภูมิภาคนี้ อาจกำหนดว่า พื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีกำหนดจังหวัดและประเภทอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่น หากเข้าไปลงทุนก็จะ ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
นอกจากนี้บอร์ด บีโอไอ จะพิจารณา ต่ออายุมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ที่กำหนดให้การลงทุนในพื้นที่อีอีซี สามารถลดหย่อยภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นระยะเวลา 5 ปีเพิ่มเติมจาก สิทธิประโยชน์หลักที่ได้รับ
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 ที่ จ.สุราษฏรธานี ว่า ในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจไทย จะยิ่งขยายยตัวดีขึ้นกว่าปีนี้ และมีโอกาสที่จะขยายตัวได้มากกว่าร้อยละ 4 จากการเร่งรัดการลงทุน จากรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ และโครงการลงทุนในอีอีซีคาดว่าในไตรมาส 1 ปีหน้า ทุกโครงการลงทุนในอีอีซี จะเริ่มประมูลได้ และจะเริ่มดำเนินการลงทุนได้ไม่เกิน ไตรมาส 2 ปีหน้า
"ในปีหน้า ขอให้หอการค้าช่วยเน้นพัฒนาท้องถิ่น สร้างรายได้ให้กับชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า องค์กรในท้องถิ่น มีการนำงบมาพัฒนาสินค้าและบริการของแต่ละชุมชน เพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างรายได้ และความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก" นายสมคิดกล่าว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในปี 2561 กระทรวงคมนาคมกำหนดงบลงทุนขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง หรือเมกะโปรเจกท์ ไว้ทั้งสิ้น 309,607 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมรองรับ อีอีซี อีกจำนวน 103 โครงการ ระหว่างปี 2560-2564 วงเงินรวมกว่า 745,710 ล้านบาท โดยจะปรับปรุงสนามบิน อู่ตะเภาให้กลายเป็นสนามบินนานาชาติที่มีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้ถึง 60 ล้านคน
พร้อมทั้งขยายท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 จะทำให้กรุงเทพฯไม่ได้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่ออีกต่อไป แต่สนามบิน อู่ตะเภาจะถูกยกระดับให้เป็นสนามบินที่ให้บริการทั้งเส้นทางในประเทศและระหว่างประเทศ และยังจะมีโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ที่จะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค
บีโอไอ ขยายเวลาขอรับการส่งเสริม SME เต็มรูปแบบจนถึงสิ้นปี 62 เพิ่มเพดานยกเว้นภาษีเงินได้เป็น 200%
บอร์ดบีโอไอเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของเอสเอ็มอี โดยขยายเวลาขอรับส่งเสริมไปจนถึงสิ้นปี 2562 ขยายขอบข่ายให้สามารถยื่นขอรับส่งเสริมได้เกือบทุกประเภท และปรับปรุงสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ของประเภทกิจการที่กำหนด เพิ่มเพดานจากเดิมเท่าตัว เป็นร้อยละ 200
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอีโดยให้ขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2562 จากเดิมที่จะสิ้นสุดลงในสิ้นปี 2560 รวมทั้งได้เห็นชอบให้ปรับปรุงเงื่อนไขในการขอรับส่งเสริม ประกอบไปด้วย
1.การขยายขอบข่ายประเภทกิจการที่ให้ส่งเสริมตามมาตรการนี้ ให้ครอบคลุมกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเปิดให้สามารถขอรับการส่งเสริมได้ในเกือบทุกประเภทกิจการรวมจำนวนกว่า 100 ประเภท ซึ่งจากเดิมกำหนดไว้เพียง 40 ประเภทกิจการ พร้อมทั้งให้มีการผ่อนปรนเงื่อนไขเป็นกรณีพิเศษให้แก่กิจการเอสเอ็มอีในบางประเภท
2. การให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษีแก่กิจการเอสเอ็มอี แบ่งออกเป็น2 ส่วน คือ (1)สิทธิและประโยชน์พื้นฐาน ที่กำหนดตามประเภทกิจการให้ได้รับการเพิ่มเติมวงเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเกณฑ์ปกติร้อยละ 100 เป็นร้อยละ 200 ในประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(2) สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมให้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรเพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์พื้นฐานใน 2 กรณี คือ
- กรณีมีการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเช่น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการให้ผ่อนปรนเงื่อนไขสัดส่วนเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายให้ลดลงจากเกณฑ์ปกติครึ่งหนึ่งเพื่อให้เอสเอ็มอีใช้ประโยชน์จากมาตรการนี้ได้ง่ายขึ้น หรือ
- กรณีที่ตั้งกิจการใน 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ หากเป็นประเภทกิจการในกลุ่มที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50 เพิ่มเติมอีก 5 ปี และหากเป็นประเภทกิจการในกลุ่มอื่นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 3 ปีจากสิทธิและประโยชน์พื้นฐาน
นอกจากนี้กิจการเอสเอ็มอีที่ได้รับส่งเสริม สามารถนำเครื่องจักรใช้แล้วในประเทศมาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมได้บางส่วน ในมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท อีกด้วย
นางสาวดวงใจกล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้กำหนดประเภทกิจการเป้าหมายใน “เขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ”ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้แก่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation หรือ EECi ) และเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd)
โดยในส่วนของ EECi ได้กำหนดประเภทกิจการเป้าหมายให้สอดคล้องกับ 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่กระทรวงวิทยาศาสตร์กำหนดไว้ ประกอบด้วย 1) เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ2) แบตเตอรี่-ประสิทธิภาพสูงและยานยนต์สมัยใหม่ 3) การบินและอวกาศ 4) เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ5) ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 6) เครื่องมือแพทย์โดยแบ่งประเภทกิจการเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มกิจการด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงกิจการที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ที่เกี่ยวข้องกับ 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายข้างต้น เช่น กิจการบริการออกแบบทางวิศวกรรม กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ กิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และกิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมายเป็นต้น2) กลุ่มกิจการผลิตหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับ 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขต EECi เช่น กิจการประกอบหุ่นยนต์ หรือ อุปกรณ์อัตโนมัติ การผลิตหรือให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่ กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง (High Value-added Software) กิจการผลิตเคมีภัณฑ์หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
สำหรับ กิจการเป้าหมายในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd) ที่ประชุมได้เห็นชอบให้กำหนดกิจการเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มกิจการด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงกิจการที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ กิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และกิจการพัฒนา Digital Technology เป็นต้น
2) กลุ่มกิจการด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลเช่นกิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง (High Value-added Software) กิจการ Cloud Service กิจการ Data Center และกิจการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Services) เป็นต้น
ทั้งนี้ ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 โครงการลงทุนในกิจการเป้าหมายที่ตั้งในพื้นที่ EECi และ EECd จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 2 ปี จากเกณฑ์ปกติ (รวมสิทธิประโยชน์เดิมเกิน 8 ปีได้) และลดหย่อนอีกร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยต้องดำเนินการตามเงื่อนไขความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรตามที่กำหนด
เพิ่มรูปแบบความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ EEC
ตามที่มาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับพื้นที่อีอีซีกำหนดให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยจะต้องมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หรือศูนย์ความเป็นเลิศ ตามรูปแบบที่กำหนดนั้น คณะกรรมการให้ความเห็นชอบกับรูปแบบความร่วมมือฯ เพิ่มเติม ได้แก่
โครงการอาชีวะพิเศษในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกซึ่งจะเน้นการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงได้หลังจบการศึกษา
ตามโครงการนี้ บริษัทจะร่วมงานโดยตรงกับสถาบันการศึกษา ในการร่วมกันรับนักศึกษา และร่วมกันกำหนดหลักสูตร โดยจะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่นักศึกษา เช่น ค่าเล่าเรียน เงินเดือนนักศึกษา เป็นต้น รวมถึงการรับนักศึกษาไปฝึกงานและการรับนักศึกษาเข้าทำงานหลังสอบผ่านหลักสูตรของโครงการด้วย
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
บีโอไอ ชูกิจการหันใช้เทคโนโลยี หนุนผู้ประกอบการใช้หุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
บีโอไอ 'ติวเข้ม' ผู้ประกอบการ แจงรายละเอียดมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ชูขยายภาพรวมการส่งเสริมให้เกิดการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หวังยกระดับกระบวนการผลิตเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ เปิดกว้างทั้งโครงการเดิมและโครงการใหม่
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยภายในงานสัมมนา "การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ" ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 500 คนว่าการสัมมนาครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็นและนำเสนอมุมมองต่างๆ ทั้งด้านศักยภาพและโอกาสการพัฒนา การออกแบบ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร สำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อก้าวไปสู่ "ประเทศไทย 4.0" ด้วยการนำนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต การจัดงานครั้งนี้บีโอไอได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานองค์กรพันธมิตรต่างๆเช่นสมาคมเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์และCenter of Robotics Excellence (CORE)
ทั้งนี้ ภายในงานบีโอไอได้มีการนำเสนอข้อมูลการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ซึ่งปัจจุบันได้ขยายขอบข่ายประเภทกิจการที่สามารถขอรับส่งเสริมการลงทุนให้กว้างขึ้น ตลอดจนกำหนดให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับโครงการที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมในประเทศ
ปัจจุบันบีโอไอให้สิทธิประโยชน์ครบทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้โดยในส่วนของผู้ผลิตจะสามารถขอรับการส่งเสริมในกิจการต่างๆ ได้โดยตรง เช่นการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ การประกอบหุ่นยนต์ การออกแบบทางระบบวิศวกรรม เป็นต้น ขณะที่ผู้ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสามารถขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอได้ภายใต้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตนี้ โดยผู้ขอรับสิทธิจะเป็นผู้ประกอบการทั้งที่เคยได้รับการส่งเสริมและไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอก็ได้แต่ต้องเป็นประเภทกิจการที่บีโอไอเปิดให้การส่งเสริม
"บีโอไอให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมาอย่างต่อเนื่องโดยตั้งแต่ปี 2556 บีโอไอได้ออกมาตรการสนับสนุนผ่านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อประหยัดพลังงานใช้พลังงานทดแทนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนเพื่อนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิตที่จะช่วยสร้างความตื่นตัวในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้มากขึ้น" นางสาวดวงใจ กล่าว
นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของบีโอไอแล้ว ในงานนี้ยังมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) ศูนย์เครื่องจักรกลและระบบอัตโนมัติและสมาคมเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) อีกด้วย
สำหรับ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตั้งแต่ปี 2556จนถึงปัจจุบันบีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมภายใต้มาตรการดังกล่าวแล้ว 239 โครงการ รวมมูลค่าลงทุนกว่า 37,222 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน/ใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งเป็นเงินลงทุนรวม 23,562 ล้านบาทตัวอย่างกิจการที่ได้รับอนุมัติภายใต้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในช่วงปี 2560 เช่น กิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า กิจการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ กิจการผลิตชุดเกียร์ส่งกำลัง กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เป็นต้น รองลงมาคือ การลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เงินลงทุนรวม 11,436 ล้านบาท
นางสาวดวงใจ กล่าวว่า บีโอไอมีเป้าหมายเดินหน้าจัดสัมมนาให้ความรู้และข้อมูลด้านนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่องโดยในเดือนกุมภาพันธ์2561 นี้จะจัดงานสัมมนาใหญ่เพื่อให้ข้อมูลถึงมาตรการใหม่ๆของบีโอไอในปัจจุบัน