- Details
- Category: บีโอไอ
- Published: Wednesday, 20 August 2014 21:46
- Hits: 4215
บีโอไอ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 15 โครงการ เงินลงทุนรวม 40,538 ลบ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานวานนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 15 โครงการ เงินลงทุนรวม 40,538 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.บริษัท พี.เอส.ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการขยายการผลิตเนื้อสุกรชำแหละ กำลังการผลิต 106,920 ตันต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,736 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
2.บริษัท มอนเด นิสซิน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน กำลังผลิตปีละประมาณ 24,840 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,030.5 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี
3.บริษัททรัพย์ทิพย์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนขยายการผลิตเอทานอล 99.5% จากมันสำปะหลังกำลังการผลิต 99,000,000 ลิตรต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,588 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
4.นายทัพชัย ผาณิตพิเชฐวงศ์ ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตเอทานอล 99.5% จากกากน้ำตาล กำลังการผลิต 60,000,000 ลิตรต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,300 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
5.บริษัท ราชสีมา กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนขยายกิจการผลิตเอทานอล 99.5% จากมันสำปะหลัง กำลังการผลิต 108,900,000 ลิตรต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,046.8 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
6.บริษัท อีซูซุเอ็นยิ่น แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนขยายกิจการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล กำลังผลิต 185,000 เครื่องต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,132.9 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพฯ
7. บริษัท กัลฟ์ เอ็นแอลแอล 2 จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้า 133 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 30 ตัน/ชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,172 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมของบริษัท เหมราช ระยองที่ดินอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดระยอง
8. บริษัท กัลฟ์ บีแอล จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้า 133 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 30 ตัน/ชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,082 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
9. บริษัท กัลฟ์ บีพี จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้า 133 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 30 ตัน/ชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,159 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
10. บริษัท กัลฟ์ เอ็นพีเอ็ม จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้า 133 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 30 ตัน/ชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,148 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมของบริษัท เหมราช สระบุรี จังหวัดสระบุรี
11. บริษัท บัวใหญ่ ไบโอ เพาเวอร์ จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ประเภท เปลือกไม้ และเศษไม้สับ กำลังการผลิต 55 เมกะวัตต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,920 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
12. บริษัท หนองคายน่าอยู่ จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ที่นำมาจากขยะในชุมชนพื้นที่ กำลังการผลิต 4.9 เมกะวัตต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 968.7 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย
13. บริษัท เค.มอเตอร์สปอร์ต จำกัด ได้รับการส่งเสริมกิจการสนามแข่งยานยนต์ ขนาดความยาว 4,554 เมตร เพื่อให้บริการเช่าสนามและอุปกรณ์ ในการจัดการแข่งขันหรือทดสอบสมรรถนะของค่ายรถยนต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,500 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ ตำบลอีสาณ จังหวัดบุรีรัมย์
14. บริษัท พรีเชียส โอปอลส์ จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการขนส่งทางเรือ ให้บริการรับบรรทุกสินค้าทางการเกษตร เหล็ก ปุ๋ย ไม้ซุง เงินลงทุนทั้งสิ้น 876.80 ล้านบาท
15. บริษัท พรีเชียส รูบีส์ จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการขนส่งทางเรือให้บริการบรรทุกสินค้าทางการเกษตร เหล็ก ปุ๋ย ไม้ซุง เงินลงทุนทั้งสิ้น 876.80 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุมัติการขอแก้ไขโครงการจำนวน 2 ราย ได้แก่ 1. บริษัท โตโยโตมิ ออโต้ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วน โลหะ ปั๊มขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะ โดยจะเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ “แม่พิมพ์” กำลังการผลิต 100 ชุดต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 250 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหรกรมทีเอฟดี จ.ฉะเชิงเทรา
2.บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ โดยลงทุนเพิ่มและแก้ไขกรรมวิธีการผลิตหม้อน้ำรถยนต์ (RADIATOR) กำลังผลิต 1,800,000 ชุดต่อปี และชิ้นส่วนหม้อน้ำรถยนต์ เช่น CORE, TUBE, TANK และ BLOWER เป็นต้น กำลังการผลิต 42,490,000 ชิ้นต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 168 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา
"การประชุมครั้งนี้นับเป็นการประชุมบอร์ดครั้งที่ 3 ภายหลัง คสช.ได้ตั้งบอร์ดบีโอไอ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2557 โดยที่ผ่านมาได้มีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ และบอร์ดบีโอไอแล้วรวม 106 โครงการ เงินลงทุนทั้งสิ้น 278,301.5 ล้านบาท ซึ่งหากรวมผลการประชุมครั้งนี้ก็จะมีโครงการได้รับการอนุมัติรวม 121 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 318,839.5 ล้านบาท" เลขาฯ บีโอไอ ระบุ
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
บีโอไอ คลอดยุทธศาสตร์ใหม่ เน้น7อุตสาหกรรมเริ่ม 1 ม.ค.58 ส่งเสริมเพิ่ม 15 โครงการ 4 หมื่นล.
ไทยโพสต์ : เทเวศร์ * บอร์ดบีโอไอคลอด 'ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี' มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.2558 เน้นส่งเสริมการลงทุนแบบคลัสเตอร์ เจาะ 7 กลุ่มอุตสาหกรรมที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทย พร้อมขยายมาตรการส่งเสริมการลงทุนเอสเอ็มอี หวังยกระดับการแข่งขัน พร้อมอนุมัติส่งเสริมเพิ่มอีก 15 โครงการ 40,000 ล้าน
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ "ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี" (2558-2564) ตามที่บีโอไอนำเสนอ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินการตามกรอบเวลาการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ใหม่ คือ ให้มีผลบังคับใช้สำหรับคำขอรับส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะมีการออกประกาศนโยบายและหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในเดือน ก.ย.2557 นี้ และในช่วงระหว่างเดือน ต.ค.-ธ.ค.2557 จะมีการเดินสายจัดสัมมนาชี้แจงทำความเข้าใจแก่นักลงทุน ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และในต่างประเทศ
"ที่ประชุมยังเห็นชอบเรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งบัญชีประ เภทกิจการที่จะให้การส่งเสริม ซึ่งเดิมมีกิจการได้รับการส่งเสริมกว่า 240 กิจการ แต่สิทธิประโยชน์ใหม่ จะตัดโครงการทิ้ง 40 กิจการ อาทิ กิจการผลิตขนมปัง ชาเขียว และตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี 40 กิจ การ แต่มีสิทธิประโยชน์ด้านอื่นอยู่ เนื่องจากต้องส่งเสริมโครงการที่ เน้นการวิจัยและพัฒนา การพัฒนา ทักษะขั้นสูง การพัฒนาผู้รับช่วงการผลิต และการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค นอกจากนี้ ยังเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ ภายใต้ร่างยุทธ ศาสตร์ใหม่ด้วย" นายอุดมกล่าว
โดยโครงการที่ได้รับการส่ง เสริมแบ่งเป็น 7 กลุ่มเช่นเดิม แต่จะเน้นประเภทที่ใช้เทคโนโลยีขั้น สูง มีมูลค่าเพิ่มสูง มีการวิจัยและ พัฒนาหรือการออกแบบ รวมทั้งเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1.อุตสาห กรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร 2.อุตสาหกรรมแร่ เซ รามิก และโลหะขั้นมูลฐาน 3. อุตสาหกรรมเบา 4.อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง 5.อุตสาหกรรมเครื่อง ใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 6.อุตสาห กรรมเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระ ดาษ และ 7.อุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภค
นอกจากนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะยกเลิกระบบการส่งเสริมที่อิง กับเขตพื้นที่ (เขต 1-3 เดิม) ปรับเปลี่ยน จากการส่งเสริมตามเขตพื้นที่ เป็นการส่งเสริมให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ในภูมิ ภาค เพื่อสร้างการรวมกลุ่มใหม่ของการลงทุนที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของแต่ละพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่บีโอไอจะให้ความสำคัญทั้งการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ และการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประ เทศ โดยมีประเทศเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มแรก อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม กัมพูชา และลาว กลุ่ม 2 จีน อินเดีย และอาเซียนอื่นๆ และกลุ่ม 3 ตะวัน ออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกา
นายอุดม กล่าวด้วยว่า ที่ประ ชุมได้มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาของมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ออกไปอีก 3 ปี โดยเป็นมาตรการที่ครอบคลุมทุกประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมการลงทุน และจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะครอบคลุมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดสตูล รวมทั้งพื้นที่ในอำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาด้วย
นายอุดม กล่าวว่า บอร์ดบีโอไออนุมัติเพิ่มอีก 15 โครงการ เงินลงทุนกว่า 40,000 ล้าน ครอบคลุมทั้งกลุ่มพลังงานทดแทน ชิ้นส่วนยานยนต์ และโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะ ส่งผลให้ยอดรวมการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนโดยบอร์ดบีโอไอ และคณะอนุกรรมการมีจำนวน 121 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท.