WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOIหรญญา สจนยเอกชนลงทุน 2.8 แสนล.ประเดิมอีอีซี/รัฐเร่ง'ทางคู่-ท่าเรือ'

       แนวหน้า : มีรายงานแจ้งว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม พร้อมคณะยังเตรียม เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ในเดือนมิถุนายน 2560 เพื่อลงนามความ ร่วมมือด้านการลงทุน และการเงินกับกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม(เมติ) อีกทั้งมีแผนเดินทางไปยังฮ่องกง เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือด้านต่างๆ ตามแผนการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี)

     นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ช่วงปี 2558-2559 ที่ผ่านมาพบว่า จำนวน 16,000 โครงการ มูลค่าลงทุน 287,000 ล้านบาท คาดว่าเมื่อแผนการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานมีความชัดเจน รวมทั้ง พ.ร.บ. อีอีซีประกาศใช้จำนวนนักลงทุนเป้าหมายจะเพิ่มขึ้นอีก โดยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ในปี 2560 คาดการณ์ไว้ที่ 150,000 ล้านบาท ส่วน 5 ปี จะอยู่ที่ 500,000 ล้านบาท

      นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ บริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2560 ว่า วาระสำคัญคือการหารือ เรื่องของ ท่าเรือเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟทางคู่ โดยท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 และท่าเรือสัตหีบ ซึ่งทั้ง 3 แห่ง จะต้อง เชื่อมต่อกับเส้นรถไฟเพื่อขนส่งสินค้าภาคตะวันออก โดยต้องเร่งรัดกระบวนการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) และการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่า จะทำให้ท่าเรือทั้ง 3 แห่ง ทยอยเปิดให้บริการ ได้ในปี 2564-2565 จากเดิมในปี 2566 ขณะที่ รถไฟทางคู่จะพร้อมเข้ามาเชื่อมระบบประมาณปี 2565

       นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่า ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจกับธนาคาร ไอซีบีซี สาธารณรัฐประชาชนจีน และสมาคมธนาคารไทย เพื่อสนับสนุนการลงทุนในอีอีซีเป็นรายแรก และเป็นศูนย์รวมการให้บริการทางการเงิน เช่น การจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยน เงินตรา และระบบการชำระเงินช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนในอีอีซี โดยตั้ง เป้าหมายใช้อีอีซีเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคในอนาคตด้วย

      "เชื่อว่า ความร่วมมือทางการเงิน จะสามารถรองรับนักลงทุนที่มีศักยภาพใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซีได้ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ได้ ดึงดูดให้จีนเข้ามาลงทุนในอีอีซีมากขึ้น จากปัจจุบันมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง เห็นได้จากขณะนี้จำนวนนักลงทุนจีนที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) สูงสุด เป็นอันดับที่ 1 ที่จำนวนเกือบ 3,000 ราย โดยภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า น่าจะเริ่มเห็นคำขอรับส่งเสริมการลงทุน และใน 1 ปี น่าจะมีนักลงทุน ทั้งจีนและไทยเข้ามาลงทุนในกิจการขนาดใหญ่ในอีอีซี 30 ราย" นายคณิศกล่าว

       นางสาวเซียนหง Deputy Head of Global ธนาคาร ไอซีบีซี สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า ปัจจุบันจีนมีนักลงทุนจีนที่เข้ามาลงทะเบียนทำธุรกิจกับสมาคมธนาคารของจีนแล้วกว่า 200 ราย โดยส่วนใหญ่ให้ความสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมไฮเทค และการสร้างเมืองใหม่

      นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท(ทช.) กล่าวว่า โครงการของกรมทางหลวงชนบทที่จะดำเนินการเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการอีอีซี โดยได้มีการดำเนินการ ก่อสร้างเส้นทางสำคัญในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จำนวน 6 โครงการ ระยะทาง 102.7 กิโลเมตร ภายใต้งบประมาณ 7,801 ล้านบาท

ส.ธนาคารไทย-ICBC ลงนามร่วมหนุนนักธุรกิจจีนเข้าลงทุน 10 อุตฯเป้าหมายใน EEC

     สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ร่วมลงนามกับ สมาคมธนาคารไทย และธนาคาร Industrial and Commercial Bank of China Limited (ICBC) ที่จะเข้ามาสนับสนุนให้นักธุรกิจจีนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นการแสดงถึงความตั้งใจของ ICBC และพันธมิตรเครือข่ายภายในประเทศไทย

       รวมทั้งสมาคมธนาคารไทยจะทำงานร่วมกันกับ สกรศ. เพื่อดึงดูดนักลงทุนจีนที่มีศักยภาพให้มาลงทุนในพื้นที่ EEC โดยเริ่มจากการคัดกรองนักลงทุนที่มีขีดความสามารถในการเข้ามาลงทุนในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยให้เข้ามาลงทุนพื้นที่ EEC

       นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผยว่า ได้มีการติดตามความคืบหน้าในเรื่องของการจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่ EEC ทั้งเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการร่วมทุนภาครัฐและเอกชน (PPP) ในพื้นที่ EEC ความก้าวหน้าการชักจูงนักลงทุนรายสำคัญในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และความคืบหน้าโครงการต่างๆ ใน EEC

      นอกจากนี้ ยังมีการหารือเรื่องการลงทุนใน 3 ท่าเรือหลัก และการเชื่อมโยงโดยระบบรถไฟรางคู่แบบไร้รอยต่อ และหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินงานของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.)

       ด้านนางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  เปิดเผยว่า นักลงทุนมีความสนใจที่จะลงทุนในพื้นที่อีอีซีมากขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมในด้านสาธารณูปโภคในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มีสัญญาณที่ชัดเจนจากทางรัฐบาลในการพัฒนาต่อยอดในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จึงทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น

      ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกปี 60 มีการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 1.6 หมื่นล้านบาท คาดว่าเมื่อแผนการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานมีความชัดเจน และ พ.ร.บ.EEC ประกาศใช้ จำนวนนักลงทุนเป้าหมายจะเพิ่มขึ้น โดยปีนี้ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีการยื่นขอรับส่งเสริมฯในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ถึง 1.5 แสนล้านบาท

       นายวีระพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาใน 3 ท่าเรือหลัก คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3, ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3, ท่าเรือสัตหีบ ระยะที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปี 61 และจะสามารถทยอยเปิดให้บริการได้ตามแผนงานที่วางไว้คือประมาณปี 66 หรืออย่างเร็วที่สุดก็คือปี 65

      ส่วนการจัดเตรียมพื้นที่ให้กับ SMEs ใน EEC ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวว่า ประการแรกทาง กนอ.ได้มีการจัดโซนเป็น SMEs แล้ว โดยมีการร่วมมือกับผู้พัฒนานิคมให้มีการจัดเตรียมพื้นที่ดังกล่าว ประการที่ 2 สำหรับกลุ่ม Start Up ได้รับนโยบายไปแล้วว่าจะจัดพื้นที่ EEC for SMEs โดยจะนำร่องที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังก่อน ใช้พื้นที่ประมาณ 400 ตารางเมตร ริมถนนสุขุมวิท ตั้งเป้าว่าจะเปิดได้ประมาณกลางเดือน มิ.ย.นี้ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะให้การสนับสนุนทั้งในด้านของการให้ความรู้ และเครื่องมือต่างๆ

       นอกจากนี้ นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผยว่า ได้รายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมถึงการพัฒนาในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยในการพัฒนาพื้นที่ EEC โดยเฉพาะระบบรถไฟรางคู่ที่สามารถเชื่อมโยงภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเข้าด้วยกัน

      และ ยังรายงานความก้าวหน้าในเรื่องของการลงทุนที่ทางบีโอไอ จะเป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของการลงทุน ขณะเดียวกัน ในที่ประชุมยังรับทราบถึงการเตรียมลงพื้นที่ของ EEC เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ทั้งในส่วนประชาชน NGO และสื่อมวลชนในพื้นที่ โดยคาดว่าจะเริ่มลงพื้นที่ในสัปดาห์หน้า

        นอกจากนี้ คาดว่าในวันที่ 16 มิ.ย.60 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะไปเป็นประธานการประชุมที่ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าว

       อินโฟเควสท์

อุตฯจับมือไอซีบีซีหนุนลงทุนในอีอีซีสั่งเร่งพัฒนาทางคู่

       ไทยโพสต์ : พระราม 6 * อุตฯ จับมือไอซีบีซี ธนาคารจี หนุนเอกชนลงทุนในอีอีซี พร้อมสั่ง สนข.ศึกษาแผนพัฒนาระบบทางคู่ เชื่อมโยง 3 ท่าเรือหลัก ชงนายกฯ 16 มิ.ย.นี้ บีโอไอแย้มยอดลงทุนในอีอีซี ในปี 58-59 กว่า 2.87 แสนล้านบาท

         นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจกับธนาคารพาณิชย์อุตสาหกรรมแห่งประเทศจีน (ไอซีบีซี) สาธารณรัฐประชา ชนจีน และสมาคมธนาคารไทย ว่า การร่วมมือครั้งนี้เพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อให้เป็นศูนย์รวมการให้บริการทางการเงินของภูมิภาคอาเซียน เช่น การจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเงินตรา และระบบการชำระเงินช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนในอีอีซี

       นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักคณะกรรม การนโยบายการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก (ครศ.) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะเชื่อมโยงอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้ ดึงดูดให้จีนเข้ามาลงทุนในอีอีซีมากขึ้น โดยตั้งเป้าว่าภายใน 1 ปี จะมีนักลงทุนกว่า 30 รายที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

     อย่างไรก็ตาม การประ ชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ว่าได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษารูปแบบการบริหารและการเชื่อมโยงรถไฟทางคู่ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับ 3 ท่าเรือหลักในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

      "ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ จะเรียนเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประ ธานการประชุม ครศ.ที่แหลมฉบัง เพื่อพิจารณาในแผนงานเส้นทางเชื่อมโยงการพัฒนา 3 ท่าเรืออย่างเป็นรูปธรรม" นายคณิศกล่าว

    นางหิรัญญา สุจินัย เลขา ธิการบีโอไอ กล่าวว่า ในช่วงปี 2558-2559 มีนักลงทุนสนใจยื่นขอบีโอไอในพื้นที่อีอีซี รวม 287,000 ล้านบาท คิดเป็น 36% จากยอดคำขอของทั้งสองปีที่มีมูลค่า 800,000 ล้านบาท

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ วันที่ 26 พ.ค.60 ได้มีการประ กาศในราชกิจจานุเบกษา ถึงคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ (คสช.) เห็นชอบให้มีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อเร่งรัดการทำรายงานผลกระ ทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ ฟาส แทร็ก) ภายใน 1 ปี โดยมีผลทันที.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!