WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOI หรญญา สจนยบอร์ดบีโอไอ ไฟเขียว 13 โครงการลงทุน มูลค่า 63,440 ลบ. มั่นใจทั้งปีมียอดขอส่งเสริมการลงทุนแตะ 5.5 แสนลบ.ตามเป้า

     บอร์ดบีโอไอไฟเขียว สิทธิประโยชน์ลงทุน 13 โครงการ มูลค่ารวม 63,440 ลบ. หนุนมูลค่าใช้วัตถุดิบในปท.แตะ 1.5 หมื่นลบ. พบ TPIPL ได้รับการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน-สำรองเชื้อเพลิงขยะ PTT ได้รับส่งเสริมกิจการขนส่งก๊าซ เผย 9 เดือนปี 59 มียอดขอส่งเสริมการลงทุน 1,095 โครงการ มูลค่า 3.64 แสนลบ. มั่นใจทั้งปีแตะ 5.5 แสนลบ.ตามเป้า

นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมอนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่างๆ 13 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 63,440 ล้านบาท มีมูลค่าที่เกิดจากการใช้วัตถุดิบในประเทศรวมกว่า 15,220 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปรกอบด้วยกิจการในกลุ่มเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร ปิโตรเคมี กระดาษ พลังงาน เป็นต้น  

    สำหรับ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร ได้แก่ 1.บริษัท มาร์สเพ็ทแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขยายกิจการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงชนิดเม็ด ปีละ 180,000 ตัน อาหารสัตว์เลี้ยงบรรจุภาชนะผนึก ปีละประมาณ 9,500 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,710 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทในกลุ่ม Mars Incorporated ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยงทั่วโลกกว่า 70 ปี และเป็นหนึ่งในฐานการผลิตกลุ่มการขยายการลงทุนครั้งนี้ โดยริษัทจะใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น ข้าวโพด เศษเนื้อโครงการกระดูกเป็ดไก่ แป้งสาลี น้ำมันพืช ถั่วเหลือง เป็นต้น มูลค่าประมาณ 2,626 ล้านบาทต่อปี 2.นายเพชร ศรีหล่มสัก ได้รับการส่งเสริมกิจการผลิตแผ่นใยไม้อัด ความหนาแน่นปานกลาง โดยใช้วัตถุดิบจากเศษไม้ เช่น ไม้ยางพารา มีกำลังการผลิตปีละประมาณ184,800 ลูกบาศก์เมตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,319.7 ล้านบาท 

    ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจัก และอุปกรณ์ขนส่ง ประกอบด้วย 3.บริษัท จงเช่อ รับเบอร์ (ไทยแลนด์)จำกัด ขยายกิจการผลิตยางยานพาหนะ เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,370.5 ล้านบาท โดยจะผลิตยางสำหรับรถยนต์นั่ง และยางสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร กำลังผลิตละ 4 ล้านเส้น 4.บริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ดแอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ขยายกิจการซ่อมเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอส ปีละประมาณ 93 ลำ เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,360 ล้านบาท 

    กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ ประกอบด้วย 5.บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด ขยายกิจการผลิตก๊าศคาร์บอนมอนนอกไซด์ ปีละประมาณ 60,000 ตัน ก๊าซไฮโดรเจน ปีละ 10,000 ตัน และไอน้ำ 10.3 ตันต่อชั่วโมง เงินลงทุนทั้งสิ้น 3,811 ล้านบาท  6.นายศุภชล นิธิวาสิน ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,153 ล้านบาท  7.บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด ขยายกิจการผลิตน้ำยางสังเคราะห์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 12,229 ล้านบาท 8. บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) ขยายกิจการผลิตกระดาษคราฟท์ ที่มีคุณสมบัติด้านความแข็งแรง เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 6,550 ล้านบาท 

   ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภค ประกอบด้วย 9.บริษัท ร่วมกำลาภพาวเวอร์ จำกัด ขยายกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล 10.บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด ขยายกิจการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และเชื้อเพลิงสำรองจากเชื้อเพลิงจากขยะ  11.บริษัท พรีเชียสมูนส์ จำกัด ขยายกิจการเรือบรรทุกสินค้าเทกองแบบเอนกประสงค์ จำนวน 1 ลำ  12.บริษัท พรีเชียสฟอเรสท์ จำกัด ขยายกิจการเรือบรรทุกสินค้าเทกองแบบเอนกประสงค์ ให้บริการรับบรรทุกสินค้าทางการเกษตร เหล็ก ปุ๋ย ไม้ซุง ถ่านหิน และอื่นๆ 13.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขยายกิจการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ประมาณ 65,700 ล้านลูกบาศก์ฟุต/ปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 13,600 ล้านบาท

    นางหิรัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา พบว่า มีโครงการยื่นรับคำขอส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอทั้งสิ้น 1,095 โครงการ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 364,000 ล้านบาท หรือเติบโต 150% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนยอดลงทุนจริงล่าสุดอยู่ที่ 342,000 ล้านบาท และทั้งปีมั่นใจว่ายอดคำส่งเสริมการลงทุนจะได้ใกล้เคียงตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 550,000 ล้านบาทอย่างแน่นอน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่านักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย

   นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบเปิดให้การส่งเสริมกิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์ โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1.หากมีเฉพาะขั้นตอนการผลิต จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีตามประเภท B1 และกรณีที่ 2 หากมีการลงทุนด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ  

   ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ของไทยเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของภาคการเกษตร มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ และมีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหาร แปรรูป นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดแต่ละประเภื เช่น สัตว์เศรษฐกิจที่เน้นการเจริญเติบโตและลดต้นทุน หรือสัตว์เลี้ยงที่เน้นมีสุขภาพดี อายุยืนยาว เป็นต้น 

   “บีโอไอได้ยกเลิกการส่งเสริมการลงทุนในประเทศกิจการผลิตอาหารสัตว์ไปเมื่อสิ้นปี 2557 เพื่อให้มีการกำหนดประเภทกิจการที่เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการดังกล่าวเป็นรูปแบบชั่วคราวเฉพาะกิจการที่ตั้งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและชายแดนภาคใต้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยอมรับว่า ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวดี บีโอไอจึงได้เปิดให้การส่งเสริมกิจการอาหารสัตว์ ส่วนผสมอาหารสัตว์อีกครั้ง โดยมั่นใจว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นแหล่งรองรับการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์ เป็นต้น”นางหิรัญญา 

    นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังพิจารณาถึงเงื่อนไขในการส่งเสริมการลงทุนคลัสเตอร์อากาศยาน ซึ่งกำหนดไว้ว่า ต้องตั้งสถานประกอบการใน 14 จังหวัด ที่มีสนามบินหรือใกล้เคียงสนามบินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอากาศยานไม่ใช่อุตสาหกรรมใหม่ การลงทุนเพื่อผลิตชิ้นส่วนหรือเครื่องมือเครื่องใช้ในอากาศยานก็ยังมีน้อน และยังไม่มีการกระจายตัวในรูปแบบคลัสเตอร์ที่ชัดเจนเหมือนคลัสเตอร์ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์  

 ขณะที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานขนาดกลางและขนาดเล็ก ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปตั้งโรงงานใกล้สนามบินก็สามารถส่งมอบชิ้นส่วนได้ ซึ่งแตกต่างจากการซ่อมอากาศยานหรือชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใกล้สนามบิน นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหลายรายกำลังพัฒนาการผลิตเพื่อให้สามารถรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอากาศยานเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นนั้น และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่ไม่ได้ตั้งโรงงานในพื้นที่ 14 จังหวัดที่มานามบิน ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ยกเลิกเงื่อนไขที่ตั้งของกิจการในคลัสเตอร์อากาศยาน 

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!