WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOIบอร์ด BOI อนุมัติส่งเสริมลงทุน 17 โครงการ มูลค่ากว่า 7.8 หมื่นลบ.

     คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธาน เห็นชอบส่งเสริมการลงทุน 17 โครงการ มูลค่ากว่า 78,000 ล้านบาท คาดจะเกิดมูลค่าจากการใช้วัตถุดิบในประเทศ 28,887 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ผู้ประกอบการรถยนต์รายใหญ่ สายการบิน ผู้ผลิตไฟฟ้าจากก๊าชธรรมชาติ พร้อมใจขยายการลงทุน

    ที่ประชุมฯ ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่างๆ จำนวน 17 โครงการ เงินลงทุนทั้งสิ้นรวม 78,181.84 ล้านบาท คาดว่าจะก่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบในประเทศรวมมูลค่า 28,887.44 ล้านบาท" นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการบีโอไอ กล่าว

     โครงการที่ได้รับอนุมัติครั้งนี้ โครงการที่ 1-4 ของ บริษัท ซีพีเอฟ(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) ได้รับส่งเสริมขยายกิจการจำนวน 4 โครงการ โดยเป็นการผลิตอาหารสัตว์ และอบพืชและไซโล เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 8,123.54 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่ 1 ตั้งกิจการอยู่ในพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด เงินลงทุน 2,092.97 ล้านบาท โครงการที่ 2 ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงราย เงินลงทุน 2,092.97 ล้านบาท โครงการที่ 3 ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เงินลงทุน 1,844.63 ล้านบาท และโครงการที่ 4 ตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี เงินลงทุน 2,092.97 ล้านบาท โดยทั้ง 4 โครงการคาดว่าจะก่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพด รำข้าว เป็นต้น มีมูลค่ามากกว่า 21,125 ล้านบาทต่อปี

    5.บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตอาหารสัตว์ เช่น อาหารกุ้ง และอาหารปลา เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,985 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จังหวัดสมุทรสาคร โครงการจะมีการใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น ปลาป่น รำสด และมันสำปะหลัง เป็นต้น มูลค่ารวม 1,973.7 ล้านบาทต่อปี

    6.บริษัท เบทาโกร จำกัด(มหาชน) ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตอาหารสัตว์ เช่น อาหารไก่ อาหารสุกร และอาหารสัตว์บกอื่น ๆ เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,999 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา คาดว่าจะใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น ข้าวโพด รำข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น มูลค่ากว่า 3,490.4 ล้านบาทต่อปี

    7.บริษัท พาเนล พลัส เอ็มดีเอฟ จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง(MEDIUM DENSITY FIBERBOARD) ชนิดเปลือย และชนิดปิดผิว เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,151.8 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา โดยโครงการจะใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น เศษไม้ยางพารา มูลค่ากว่า 957.1 ล้านบาทต่อปี

     8.บริษัท โตโต้(ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ประกอบห้องน้ำผลิตจากดินเผาเคลือบหรือเซรามิกส์ชนิดวิเทรียสไชน่า(VITREOUS CHINA) โดยมุ่งเน้นเครื่องสุขภัณฑ์ที่อยู่ตลาดระดับกลางถึงระดับบน เงินลงทุนทั้งสิ้น 3,513 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี โครงการจะใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น ดินขาว ในประเทศมูลค่ากว่า 452.5 ล้านบาทต่อปี

    9.บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี(ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตรถยนต์ ปิคอัพ เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,269 ล้านบาท โดยจะลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ใหม่ เพื่อผลิตรถยนต์รุ่นใหม่สำหรับการส่งออก ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ เช่น ระบบเบรก ชิ้นส่วนตัวถัง อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น

    10.บริษัท เออีดี แฟบริเคชั่น จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตโครงสร้างโลหะสำหรับงานอุตสาหกรรม เช่น โครงหม้อกำเนิดไอน้ำ และถังรับแรงดัน เป็นต้น โดยจะเป็นส่วนประกอบของหม้อกำเนิดไอน้ำ (BOILER)  ขนาดใหญ่สำหรับใช้ในโรงผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล และขยะ เป็นต้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,038.7 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี โครงการจะใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น เหล็กรูปพรรณ เป็นต้น มูลค่ารวมประมาณ 44.7 ล้านบาทต่อปี

    11.บริษัท เซนจูรี่ ไทร์(ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตยางยานพาหนะ และยางผสม เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,750 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง โครงการจะใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น ยางธรรมชาติ มูลค่ารวมประมาณ 844.04 ล้านบาทต่อปี

    12.บริษัท ซีเอชพี 1 จำกัด ได้รับการส่งเสริมขยายกิจการผลิตไฟฟ้าจากก๊าชธรรมชาติ และไอน้ำ  เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,983 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมของบริษัท 304 อินดัสเตรียลปาร์ค จำกัด จังหวัดปราจีนบุรี

    13.บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) ได้รับส่งเสริมในกิจการขนส่งทางอากาศ โดยเช่าดำเนินการเครื่องบินใหม่แบบ บอมบาเดียร์ Q400 ความจุผู้โดยสารลำละ 86 ที่นั่ง ระวางบรรทุกสินค้า 1 ตัน /ลำ จำนวน 8 ลำ เป็นระยะเวลา 8 ปี   เพื่อให้บริการขนส่งทางอากาศ แบบประจำเส้นทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ และแบบไม่ประจำเส้นทางเป็นครั้งคราว เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,752.8 ล้านบาท

    14.บริษัท ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการขนส่งทางอากาศ โดยเป็นการเช่าดำเนินการเครื่องบินใหม่แบบ Airbus A 330 จำนวน 6 ลำ ความจุผู้โดยสารลำละ 377 ที่นั่ง ระวางบรรทุกสินค้า 15 ตัน/ลำ/เที่ยวบิน เป็นระยะเวลา 8 ปี เพื่อให้บริการขนส่งทางอากาศ แบบประจำเส้นทางระหว่างประเทศ และแบบไม่ประจำเส้นทางเป็นครั้งคราว เงินลงทุนทั้งสิ้น 18,700 ล้านบาท

    15. บริษัท กัลฟ์ เอ็นอาร์วี 1 จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตไฟฟ้าจากก๊าชธรรมชาติ ไอน้ำ  และน้ำเพื่ออุตสาหกรรม เงินลงทุน 5,745 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา

    16. บริษัท กัลฟ์ เอ็นอาร์วี 2 จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตไฟฟ้าจากก๊าชธรรมชาติ ไอน้ำ และน้ำเพื่ออุตสาหกรรม เงินลงทุน 5,745 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา

    17.บริษัทกัลฟ์ เอ็นซี จำกัด  ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตไฟฟ้าจากก๊าชธรรมชาติ ไอน้ำ และน้ำเพื่ออุตสาหกรรม เงินลงทุนทั้งสิ้น 5,426 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี

บอร์ด BOI เว้นภาษีฯเพิ่มอีก 1-2 ปีหากลงทุนในปี 60,กำหนดคลัสเตอร์เป้าหมาย

    นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้บีโอไอออกมาตรการเร่งรัดการลงทุน ในปี 2558 – 2559 และกำหนดให้มีผลครอบคลุมโครงการลงทุนที่ยื่นขอรับส่งเสริมตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ถึงสิ้นปี 2559 และต้องเริ่มดำเนินการจริงทั้งการผลิตหรือการให้บริการภายในสิ้นปี 2560 เพื่อสนับสนุนให้นักลงทุนเริ่มดำเนินการเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวดีขึ้น

    ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา บีโอไอได้จัดทำข้อเสนอและหารือร่วมกับประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเห็นพ้องกับการกำหนดมาตรการเร่งรัดการลงทุนดังกล่าว

    สำหรับ โครงการที่ลงทุนจริงและเริ่มดำเนินการภายในสิ้นปี 2560 ตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กิจการที่ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 2 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี หรือหากเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้น 8 ปีอยู่แล้ว ให้ได้รับลดหย่อนร้อยละ 50 อีก 5 ปี (ในปีที่ 9-13) 2. กลุ่มกิจการที่ตั้งนอกเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี

    นางหิรัญญา กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่าและฐานอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เสริมสร้างศักยภาพด้านการลงทุนของประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนที่มีคุณค่าทั้งจากนักลงทุนรายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

    โดยที่ประชุมได้เห็นชอบในเรื่องการกำหนดประเภทคลัสเตอร์และกิจการเป้าหมาย การกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับการส่งเสริมการลงทุนในคลัสเตอร์เป็นพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุน รวมถึงบทบาทหน้าที่ในการผลักดันนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบีโอไอจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป

    ทั้งนี้ การพิจารณากำหนดคลัสเตอร์ต่างๆ อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. การกระจุกตัวในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะอย่าง 2. มีการเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม (มีผู้ผลิตต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ อุตสาหกรรมสนับสนุน สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สถาบันเฉพาะทาง หน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) 3. มีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจท้องถิ่น เช่น จ้างงานหรือใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เชื่อมโยงกับเอสเอ็มอีในท้องถิ่น เป็นต้น

    นางหิรัญญา กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้กำหนดคลัสเตอร์เป้าหมายในระยะแรก รวม 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่ม Super Cluster ซึ่งเป็นคลัสเตอร์สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งประกอบไปด้วยคลัสเตอร์ 4 กลุ่ม คือ (1) คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน (2) คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม (3) คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (4) คลัสเตอร์ดิจิทัล ลำดับต่อมาคือคลัสเตอร์เป้าหมายอื่นๆ อีก 2 กลุ่ม ได้แก่     คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป คลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

อินโฟเควสท์

ยกเครื่องกม.บีโอไอเพิ่มสิทธิประโยชน์

    ไทยโพสต์ : ทำเนียบฯ * ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมายบีโอไอฉบับใหม่ เน้นให้สิทธิประโยชน์ที่ยืดหยุ่น ให้สิทธิ์เว้นภาษี 13 ปี พร้อมให้หักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 2 เท่า

    พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เสนอ เพื่อให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน สามารถจูงใจนักลงทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้

    สาระสำคัญแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวก ได้แก่ การทำหน้าที่ของที่ปรึกษาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จากเดิมที่มีการขาดตอน แต่ขอให้กรณีที่อยู่ในตำแหน่งครบวาระแล้วให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีผู้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน แต่ไม่เกิน 120 วัน, สำนักงานบีโอไอมีอำนาจมอบหมายให้บุคคลภายนอกไปดำเนินการแทนได้ในบางภารกิจ ส่วนที่สองเกี่ยวกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะคำนึงถึงเรื่องการส่งเสริมการลงทุนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพิจารณาไม่ให้ขัดต่อเงื่อนไขกติกาขององค์การการค้าโลก WTO

   และส่วนที่สามเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจ ได้แก่ สิทธิพิเศษในการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา, การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีกำหนดเวลาไม่เกิน 13 ปี นับแต่วัน ที่เริ่มมีรายได้, การขยายระยะเวลา การจ่ายเงินปันผล เช่น คณะกรรมการอาจอนุญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมหักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนเงินที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้เสียไปในการประกอบกิจการดัง กล่าว หรือคณะกรรมการอาจอนุ ญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุนในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกำไร รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 90% ของเงินที่ลงทุนแล้วในกิจการนั้น.

บอร์ดบีโอไอ ออกมาตรการเร่งรัดการลงทุน ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 1-2 ปี หากเริ่มดำเนินการภายในปี 60

    บอร์ดบีโอไอออกมาตรการเร่งรัดการลงทุน เพื่อให้เกิดการลงทุนจริงภายในปี 2560 โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก1-2 ปีตามเงื่อนไข พร้อมออกนโยบายส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม

   นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า เพื่อสนับสนุนให้นักลงทุนเริ่มดำเนินการเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวดีขึ้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้บีโอไอออกมาตรการเร่งรัดการลงทุน ในปี 2558 – 2559 และกำหนดให้มีผลครอบคลุมโครงการลงทุนที่ยื่นขอรับส่งเสริมตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ถึงสิ้นปี 2559 และต้องเริ่มดำเนินการจริงทั้งการผลิตหรือการให้บริการภายในสิ้นปี 2560

    ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา บีโอไอได้จัดทำข้อเสนอและหารือร่วมกับประธาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเห็นพ้องกับการกำหนดมาตรการเร่งรัดการลงทุนดังกล่าว

    สำหรับโครงการที่ลงทุนจริงและเริ่มดำเนินการภายในสิ้นปี 2560 ตามมาตรการเร่งรัดการลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กิจการที่ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 2 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี หรือหากเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้น 8 ปีอยู่แล้ว ให้ได้รับลดหย่อนร้อยละ 50 อีก 5 ปี (ในปีที่ 9-13) 2. กลุ่มกิจการที่ตั้งนอกเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี    

นโยบายส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม

   นางหิรัญญากล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่อง นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่าและฐานอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เสริมสร้างศักยภาพด้านการลงทุนของประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนที่มีคุณค่าทั้งจากนักลงทุน รายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

   โดยที่ประชุมได้เห็นชอบในเรื่องการกำหนดประเภทคลัสเตอร์และกิจการเป้าหมาย การกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับการส่งเสริมการลงทุนในคลัสเตอร์เป็นพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุน รวมถึงบทบาทหน้าที่ในการผลักดันนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบีโอไอจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไป

    ทั้งนี้ การพิจารณากำหนดคลัสเตอร์ต่างๆ อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. การกระจุกตัวในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะอย่าง 2. มีการเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม (มีผู้ผลิตต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ อุตสาหกรรมสนับสนุน สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สถาบันเฉพาะทาง หน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) 3. มีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจท้องถิ่น เช่น จ้างงานหรือใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เชื่อมโยงกับเอสเอ็มอีในท้องถิ่น เป็นต้น

   นางหิรัญญากล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้กำหนดคลัสเตอร์เป้าหมายในระยะแรก รวม 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่ม Super Cluster ซึ่งเป็นคลัสเตอร์สำหรับกิจการที่ใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง และ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งประกอบไปด้วยคลัสเตอร์ 4 กลุ่ม คือ (1) คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน (2) คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม (3) คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (4) คลัสเตอร์ดิจิทัล ลำดับต่อมาคือคลัสเตอร์เป้าหมายอื่นๆ อีก 2 กลุ่ม ได้แก่ คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป คลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!