- Details
- Category: world articles
- Published: Sunday, 06 September 2015 09:18
- Hits: 11570
มนุษย์ได้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมหาศาลจากการบริการของระบบนิเวศ เช่น การรักษาสมดุลของ วัฎจักรน้ำและบรรยากาศ การเก็บกักคาร์บอน การผลิตอาหาร และการพักผ่อนหย่อนใจ แต่ผลประโยชน์ดังกล่าวไม่ได้รับการประเมินมูลค่าที่เหมาะสม
การจ่ายค่าตอบแทนแก่การบริการของระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services : PES) จึงเป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืน โดยให้ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจ่ายค่าชดเชย (อาจเป็นตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงินก็ได้) แก่ผู้ที่ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
ตัวอย่างของการนำ PES ไปใช้ก็มีในหลายประเทศแล้ว เช่น
- โครงการส่งเสริมการทำปศุสัตว์ที่ไม่ใช้สารเคมีเพื่อให้แหล่งน้ำแร่ใต้ดินไม่ปนเปื้อนสารเคมีในฝรั่งเศส
- โครงการจ่ายค่าตอบแทนของการอนุรักษ์น้ำแก่ชุมชนต้นน้ำ Comarapa ในโบลิเวีย
- โครงการจ่ายค่าตอบแทนของการอนุรักษ์ป่าไม้ในเขต Lam Dong ในเวียดนาม
(เวียดนามเป็นประเทศแรกในภูมิภาคนี้ที่นำ PES มาใช้ และประสบความสำเร็จมาก จนมีการขยายผลไปยังพื้นที่ต่างๆของประเทศ)
ในส่วนของประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเรื่อง PES ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559) และมีทำโครงการวิจัย/โครงการนำร่องในหลายพื้นที่แล้ว
โดย ธงชัย บุณยโชติมา / วันที่โพสต์ 22 ธ.ค. 2557