มหาวิทยาลัย Oxford Brookes ในอังกฤษนับเป็นมหาวิทยาลัยแฟร์เทรด (FairtTrade University) แห่งแรกของโลกตั้งแต่ปี 2003 และปัจจุบันมีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในอังกฤษถึง 170 แห่งที่ได้รับสถานะมหาวิทยาลัยแฟร์เทรดแล้ว กระแสมหาวิทยาลัยแฟร์เทรดจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
ทั้งนี้ Fair trade (www.fairtrdae.nl) เป็นองค์กรเอกชนที่ทำงานเชิงสังคมในการตลาดเพื่อช่วยผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนาให้ได้รับเงื่อนไขทางการค้าที่ดีขึ้น เช่น สินค้าหัตถกรรม กาแฟ ใบชา โกโก้ กล้วย น้ำผึ้ง ฝ้าย ช็อตโกแลต ดอกไม้ น้ำตาลทราย และผลไม้
การดำเนินการเพื่อให้ได้สถานะมหาวิทยาลัยแฟร์เทรดจะประกอบด้วย
- ต้องมีนโยบายด้านแฟร์เทรดที่ชัดเจน
- ต้องมีการรณรงค์เพื่อให้บุคลากร และนักศึกษามีความเข้าใจและหันมาบริโภคสินค้าแฟร์เทรด
- ต้องมีการขายสินค้าแฟร์เทรดในมหาวิทยาลัย เช่น อาหาร
- ต้องมีการบริการสินค้าแฟร์เทรดในการประชุม เช่น ชา กาแฟ น้ำตาล และผลไม้
- ต้องมีคณะกรรมการที่ติดตามและพลักดันการบริโภคสินค้าแฟร์เทรดอย่างต่อเนื่อง
นอกจากมหาวิทยาลัยในอังกฤษแล้ว มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย Wright ในสหรัฐฯ, มหาวิทยาลัย Deakin ในออสเตรเลีย, มหาวิทยาลัย Otago ในนิวซีแลนด์, มหาวิทยาลัย Mc Gill ในแคนาดาก็ได้สถานะมหาวิทยาลัยแฟร์เทรดแล้ว
โดย นายธงชัย บุณยโชติมา
|