Cicero (ซึ่งเป็นหน่วยงาน Think Tank แห่งหนึ่งในนอร์เวย์) ได้ระบุว่าการเลี้ยงวัวและการปลูก ถั่วเหลืองเป็นตัวการใหญ่ของการทำลายป่าอเมซอนในบราซิล และเรียกร้องให้ EU ทบทวนการนำเข้า เนื้อวัวและถั่วเหลืองจากบราซิล
Cicero อ้างว่า ในช่วงปี 1990-2010 บราซิลปล่อย CO2 ถึง 2,700 ล้านตันจากการทำลายป่า อเมซอน โดย 71% มาจากการทำลายป่าเพื่อเลี้ยงวัว และที่เหลือมาจากการปลูกถั่วเหลือง
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นว่า ข้อเสนอให้กีดกันการนำเข้าเนื้อวัวและถั่วเหลืองจากบราซิลอาจขัดต่อกติกาของ WTO และเสนอให้ใช้มาตรการของภาคเอกชนแทน เช่น การส่งเสริมการซื้อสินค้าที่ติดฉลากถึงการผลิตที่ยั่งยืน
ผมมีความเห็น 2 ประการ ประการแรกจะเห็นว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ผูกติดการค้าไปแล้ว และประการที่ 2 คือ ข้อเสนอของกรรมาธิการยุโรปที่ให้ใช้มาตรการภาคเอกชนนี้สอดคล้องกับกระแสของมาตรการทางการค้าใหม่ๆของยุโรป โดยเฉพาะมาตรการจากห้างค้าปลีก ซึ่งเป็นแนวโน้มใหม่ของมาตรการการค้าของยุโรปครับ
โดย นายธงชัย บุณยโชติมา
|