WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FTA สหรัฐฯ-สหภาพยุโรป
CP  :: เปิดหน้าต่างมองโลก


     เมื่อปลายปี 2011 ผู้นำสหรัฐฯและสหภาพยุโรป (EU) ได้ตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหามาตรการเพิ่มปริมาณการค้า-การลงทุนเพื่อขยายเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงาน ซึ่งในกลางปีทีผ่านมาคณะทำงานฯก็ได้ออกรายงานและเสนอให้ลดข้อกีดกันทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี เช่น การตั้ง Forum เพื่อหารือและร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช-SPS Plus  อันนำมาสู่แนวคิดการเจรจาทำ FTA ต่อกัน

      ความจริงทั้ง 2 ฝ่ายได้มีความพยายามลดข้อกีดกันทางการค้าตั้งแต่ปี 1995 โดยได้ตั้ง The Transatlantic Business Dialogue (TABD) ภายใต้แนวคิด “Approved once, accepted everywhere” แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะขาดแรง พลักดันทางการเมือง 

      ทั้งนี้ สหรัฐฯและ EU มีเศรษฐกิจรวม 50% ของโลก มีการค้า 2 ฝ่ายรวม 3.8 ล้านล้านยูโร/ปี ก่อให้เกิดการจ้างงาน 15 ล้านคน และสหรัฐฯเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ใน EU (152,000 ล้านยูโร-ขณะที่ลงทุนในจีน 31,000 ล้านยูโร) 

      ในครั้งนี้ นอกจากรายงานอันเป็นตัวแทนของภาครัฐแล้ว ภาคธุรกิจของทั้ง 2 ฝ่ายได้กดดันให้ทั้ง 2 ฝ่ายเจรจาทำ FTA กันโดยเร็ว โดยจากการศึกษาเมื่อปี 2010 พบว่าหากไม่มีภาษีนำเข้า เศรษฐกิจของสหรัฐฯและ EU จะขยายตัว 1-1.3% และ 0.3-0.5% ตามลำดับ

      อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญของการเจรจาไม่ได้อยู่ที่อัตราภาษีนำเข้า (ทั้ง 2 ฝ่ายมีอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ย 5-7%) แต่อยู่ที่มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี การอุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตร และการเปิดตลาดภาคบริการ รวมถึงการลงทุน ตลอดจนการจัดซื้อภาครัฐ

      อนึ่ง รัฐสภายุโรปได้มีมติให้ EU เจรจาทำ FTA กับญี่ปุ่นแล้ว ทำให้ EU จะมีโอกาสในการขยายตลาดการค้าทั้งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯและญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องต้องติดตามอย่างยิ่งครับ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!