เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา EU ได้ประกาศระเบียบหลักเกณฑ์การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP : Generalised System of preferences – GSP) ฉบับใหม่ ซึ่งะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557 (มีอายุ 10 ปี)
GSP เป็นสิทธิพิเศษ (การยกเว้นและการลดลดหย่อยภาษีศุลกากร) ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยจะต้องตั้งอยู่บน 3 หลักการ คือ เป็นการให้แบบทั่วไป, ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน และให้โดยไม่เลือกปฎิบัติ ซึ่งการถูกตัดสิทธิ GSP จะมีผลให้ประเทศกำลังพัฒนานั้นต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตราปกติ (MFN)
ระเบียบ GSP ของ EU ฉบับใหม่มีสาระสำคัญ คือ
EU จะตัดสิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ธนาคารโลกจัดให้เป็นประเทศมีรายได้ระดับปานกลางค่อนข้างสูง (Upper-middle income) เป็นระยะเวลา 3 ปีล่าสุดติดต่อกัน (จากเดิมที่ตัดสิทธิเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้สูง)
EU จะตัดสิทธิ GSP รายกลุ่มสินค้าของแต่ละประเทศ โดยพิจารณาจากสถิติมูลค่าและสัดส่วนการนำเข้าของสินค้า (ใช้ข้อมูลจาก Eurostat ของปี 2552-2554) แต่ละกลุ่มมายังสหภาพฯเฉลี่ย 3 ปีติดต่อกัน โดยได้ขยายสัดส่วนการนำเข้าจากเดิมที่จะต้องไม่เกิน 15% เป็น 17.5% สำหรับสินค้าปกติ และ 14.5% สำหรับสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศรายชื่อสินค้าที่จะถูกตัดสิทธิอย่างเป็นทางการประมาณต้นปี 2556 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2557
ทั้งนี้ ในกลุ่มอาเซียนมีไทย อินโดนีเซีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และฟิลปิปินส์ ที่ได้รับ GSP จาก EU ส่วนสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย ถูกตัดสิทธิเพราะเป็นประเทศที่มีรายได้เกินกว่าที่กำหนดแล้ว และ EU กำลังพิจารณาคืนสิทธิ GSP แก่พม่า
|