ความยั่งยืนของอาหารทะเล (sustainable seafood) เริ่มขึ้นในปี 1995 เมื่อ FAO ออก code of conduct ของการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบ ตามมาด้วยการออกฉลาก eco-label ด้านอาหารทะเลฉลากแรกของโลก คือ MSC (Marine Stewardship Council) ที่ Unilever และ WWF ร่วมจัดทำขึ้นมา และล่าสุดในปี 2010 WWF และ IDH ก็ได้ออก ASC (Aquaculture Stewardship Council)
ความยั่งยืนของอาหารทะเลอาจพิจารณาได้ตามประเภทของอาหารทะเล กรณีที่มาจากการทำประมงก็จะพิจารณาจากความอุดมสมบูรณ์ของปลาชนิดนั้น, ปริมาณปลาที่จับขึ้นมา, มีสัตว์น้ำอื่นติดมากับการจับปลานั้นหรือไม่ และวิธีการทำประมงกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ส่วนกรณีที่มาจากการเพาะเลี้ยง (ฟาร์มปลา) ก็จะพิจารณาจากระบบการเลี้ยง (ระบบเปิด-ปิด), มลพิษที่ปล่อยออกมาจากการเลี้ยง, เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการเลี้ยง, และจำนวนปลาในธรรมชาติที่ใช้เป็นอาหาร
ในปัจจุบันมีฉลากแสดงความยั่งยืนของอาหารทะเลเกือบ 10 ฉลาก เช่น MSC, ASC, GlobalGAP, KRAV และ BAP รวมถึงฉลากที่ห้างค้าปลีกพัฒนาขึ้นมา เช่น Whole trade (ห้าง Whole Foods ในสหรัฐฯ) และ eco-planet (ห้าง Carrefour ในฝรั่งเศส)
นอกจากนี้ หลายห้างในสหรัฐฯต่างก็มีนโยบายการขายอาหารทะเลที่มีความยั่งยืน โดยอาจจะร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชน เช่น WWF, Greenpeace หรือ SFP และมีมาตรการประเมินความยั่งยืนของอาหารทะเลจาก suppliers เช่น Kroger, Hy-Vee, Fresh&Easy, Safeway, Delhaize, Sobeys และ Giant Eagle เป็นต้น
ความยั่งยืนของอาหารทะเลจึงเป็นกระแสของการผลิตและการค้าอาหารทะเลแล้ว
|