เมื่อเร็วๆนี้ WTO ได้ออกรายงานนโยบายการค้า (Trade Policy Review) ของประเทศบังคลาเทศ (ดูรายละเอียดที่http://www.wto.org/english/tratop_e/tpr_e/tp370_e.htm) ซึ่งผมเห็นว่าน่าสนใจจึงขอสรุปและนำเสนอ ดังนี้
ปัจจุบันบังคลาเทศยังเป็นประเทศด้อยพัฒนา แต่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจบังคลาเทศขยายตัวเฉลี่ยกว่า 6% และตั้งเป้าเป็นประเทศ Middle Income ภายในปี 2021 ซึ่งจำเป็นต้องให้เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ย 8% เพื่อยกระดับรายได้ต่อหัวจาก 755 ดอลล่าร์/คน/ปี เป็น 2,000 ดอลล่าร์/คน/ปี และลดสัดส่วนคนจนจาก 31% เหลือ 15%
อย่างไรก็ตาม บังคลาเทศยังประสบปัญหาหลายประการ เช่น การส่งออกอยู่ในระดับต่ำ (18% ของ GDP) และพึ่งพิงการส่งออกสินค้าสิ่งทอเป็นหลัก การลงทุนจากต่างประเทศก็ต่ำ (ไม่ถึง 1% ของ GDP) การพึ่งเงินโอนจากแรงงานที่ทำงานในต่างประเทศ เงินแฟ้ออยู่ในระดับสูง (10%) และสภาพพื้นที่เปราะบางต่อภัยธรรมชาติ
ด้านการค้า-บังคลาเทศเป็นสมาชิก WTO และเขตการค้าเสรีระดับภูมิภาคหลายแห่ง ได้แก่ SAFTA (กลุ่มประเทศในเอเซียใต้), APTA (กลุ่มประเทศในเอเซีย-แปซิฟิค), BIMSTEC (กลุ่มประเทศในอ่าวเบงกอล), TPS-OIC (กลุ่มประเทศอิสลาม), D-8 (กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 8 ประเทศ เช่น ตุรกี, อียิปต์ มาเลเซีย และปากีสถาน) และได้รับสิทธิ GSP ในฐานประเทศด้อยพัฒนา (ไม่เสียภาษีและไม่โควต้านำเข้า) จาก EU, สหรัฐ, ญี่ปุ่น, แคนาดา, จีน และอินเดีย
ด้านอาหาร-บังคลาเทศมีนโยบายความมั่นคงของอาหาร เช่น การอุดหนุนเพื่อให้ราคาปุ๋ยและน้ำมันดีเซลมีราคาต่ำ และมีแผนปฎิบัติการนโยบายอาหาร (2008-2015) ซึ่งจะเน้นด้าน R&D โครงสร้างพื้นฐาน และการแทรกแซงราคาเพื่อยกระดับราคาพืชผล รวมถึงการบริหารทรัพยากรน้ำ
|