เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำเนียบขาวได้ออก National Bioeconomy Blueprint (download เอกสารได้ที่www.whitehouse.gov/blog/2012/04/26/national-bioeconomy-blueprint-released) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจเพราะเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (EU) ก็เพิ่งออกยุทธศาสตร์ด้าน Bioeconomy (Bioeconomy ของยุโรปมีมูลค่าถึง 1.5 ล้านล้านยูโร และก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 22 ล้านคน)
Bioeconomy เป็นการใช้ความรู้ทาง bioscience ในการผลิตสินค้า อาหาร เชื้อเพลิง เอ็นไซม์ เคมีภัณฑ์ และยารักษาโรค
สหรัฐฯมองว่า Bioeconomy จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐฯทั้งในด้านการจ้างงาน GDP และการส่งออก Bioeconomy จะมีบทบาทในด้านต่างๆ อาทิ การเกษตร (พืช GM, พืช GM 2.0, เกษตรอินทรีย์ที่ให้ผลผลิตสูง, อาหารที่ปลอดสารก่อภูมิแพ้) พลังงาน (biofuels, bioenergy, การเปลี่ยน CO2 เป็นเชื้อเพลิงเหลว) สุขภาพ (Antibodies, วัคซีน และยาที่ออกแบบเพื่อรักษาโรคเฉพาะบุคคล) และอุตสาหกรรม (bioplastic)
ทั้งนี้ USDA รายงานว่า เฉพาะปี 2010 รายได้จากพืช GM มีมูลค่าถึง 76,000 ล้านดอลล่าร์ และรายได้ของภาคอุตสาหกรรมจากระบบ GM มีมูลค่า 115,000 ล้านดอลล่าร์
Blueprint ด้าน Bioeconomy ของสหรัฐฯประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การวิจัยและพัฒนา 2) การใช้กำลังซื้อของภาครัฐเป็นตัวพลักดันให้เกิดตลาดสินค้า biotechnology มากขึ้น 3) การพัฒนาและปฏิรูปกฎระเบียบให้เกิดความคล่องตัว ลดอุปสรรค และลดต้นทุนการประกอบการ 4) การออกโปรแกรมการฝึกอบรมและประสานกับสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตแรงงานด้านนี้ 5) การสนับสนุนการพัฒนาโครงการในลักษณะ PPP (Public-Private Partnership)
การเคลื่อนไหวของหลายประเทศด้าน Bioeconomy สอดคล้องกับความเห็นของหลายฝ่ายที่มองว่าศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษของ Bioeconomy
|