- Details
- Category: CLMV
- Published: Tuesday, 17 March 2015 21:38
- Hits: 6346
ความท้าทายของต่างชาติในการเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์
การเปิดประเทศให้กับต่างชาติทำให้มีการไหลของการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในเมียนมาร์อย่างต่อเนื่องและขณะนี้ โครงการลงทุนของต่างชาติที่ได้รับอนุมัติหลายโครงการได้เริ่มดำเนินการแล้ว นำโดยอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตามมาด้วยเครื่องนุ่งห่ม อาหารและเครื่องดื่ม อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินงานด้านต่างๆ ในเมียนมาร์ โดยเฉพาะความท้าทายด้านห่วงโซ่การผลิต จากความยุ่งยากในการจัดหาวัตถุดิบ รวมถึงประเด็นด้านแรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบให้การดำเนินงานโครงการต่างๆ ล่าช้าลง ทั้งยังกระทบถึงความสามารถในการดำเนินการตามมาตรฐานระหว่างประเทศในด้านต่างๆ
จากสถิติของทางการเมียนมาร์ เฉพาะในเดือนกรกฎาคม 2557 มีการลงทุนจากต่างชาติที่ได้รับอนุมัติมูลค่า 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้คาดการณ์ว่ายอดรวมของการลงทุนจากต่างชาติสำหรับปีงบประมาณ 2557/58 (เม.ย.-มี.ค.) จะเกินเป้ ที่ตั้งไว้ คือ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยโครงการลงทุนที่เพิ่งได้รับการอนุมัติส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงน้ำมันและก๊าซ และมีโครงการขนาดใหญ่ เช่น บริษัทเนสเล่จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ได้ประกาศแผนจะตั้งโรงงานเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จากกาแฟสำหรับการบริโภคภายในประเทศภายในปลายปี 2559 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เมียนมาร์จะได้มีการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มเพื่อจำหน่ายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากไทย
ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม นักลงทุนต่างชาติกลุ่มแรกๆ ที่ได้ประกาศแผนขยายตลาดในเมียนมาร์ เมื่อปี 2555 ได้แก่ บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ 2 บริษัท คือ โคคา-โคล่า และเป็บซี่ ซึ่งเห็นถึงโอกาสในการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศของเมียนมาร์ หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรเมียนมาร์โดยปัจจุบัน ทั้งสองบริษัทได้ตั้งโรงงานผลิตขวดบรรจุน้ำอัดลมและได้เริ่มดำเนินการแล้ว ทั้งยังได้ร่วมทุนกับหุ้นส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าภายในประเทศ นอกจากนี้ เป๊ บซี่ยังมีแผนที่จะขยายการผลิตอาหารขบเคี้ยวเพิ่มขึ้นอีกสายการผลิตหนึ่งด้วย และล่าสุด เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2557 บริษัทอาหารจานด่วนจากสหรัฐฯยี่ห้อ Yum! ซึ่งเป็นเครือเดียวกันกับ KFC ได้ประกาศแผนที่จะลงทุนสร้างร้านอาหาร KFC ในเมียนมาร์ ในปี 2558 หลังจากที่ได้ลงทุนและประสบความสำเร็จในประเทศจีนและเวียดนาม เนื่องจากเห็นถึงโอกาสการขยายตัวของผู้บริโภคภายในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนประชากรที่มีรายได้สูงเกินกว่าค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานจากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 19 ล้านคน ภายในปี 2573
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่ถูก โดยมีนักลงทุนสำคัญ เช่น H&M จากสวีเดน ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อทดสอบศักยภาพการผลิตในเมียนมาร์ การขยายตัวของการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ส่งผลให้ยอดการส่งออกเครื่องนุ่งห่มของเมียนมาร์ในปี 2556 ขยายตัวถึงร้อยละ 33 ด้วยมูลค่าส่งออก 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการส่งออกที่มาจากการลงทุนของเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศทางตะวันตก ขณะเดียวกัน เมียนมาร์ยังได้รับประโยชน์จากการที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในประเทศคู่แข่งอื่น ได้แก่ บังคลาเทศและกัมพูชา กำลังเริ่มมีปัญหาและได้สร้างแรงกดดันให้นักลงทุนต่างชาติที่ทำธุรกิจอยู่ในประเทศนั้นต้องแสวงหาที่ตั้งทางเลือกใหม่ๆ ในภูมิภาค
สำหรับ สาขาโทรคมนาคมกำลังส่งสัญญาณว่า โครงสร้างด้านกฎระเบียบและการดำเนินงานของ เมียนมาร์จะสามารถสนับสนุนการลงทุนทางกายภาพที่ประเทศกำลังต้องการเป็นอย่างมากได้หรือไม่ โดยปัจจุบัน 1 ใน 2 บริษัทต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมในเมียนมาร์ คือ Ooredoo จากกาตาร์ (อีกหนึ่งบริษัท คือ Telenor จากนอรเวย์) ได้เปิ ดตัวให้บริการเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 และรายงานว่า มีผู้สมัครขอใช้บริการแล้วถึง 1 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่ในเมืองใหญ่ เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิ ดอว์ ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติทั้งสองบริษัทคาดการณ์ว่าจะสามารถให้บริการประชาชนในเมียนมาร์ได้ถึงร้อยละ 90 ภายใน 5 ปี ผลสำเร็จของการรับสมัครดังกล่าวช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างชาติได้ในระดับหนึ่ง ในแง่ศักยภาพการดำเนินงานในโครงการที่ท้าทาย รวมถึงความมีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงด้านการติดต่อสื่อสารภายในประเทศเมียนมาร์
ในสาขาธนาคาร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ธนาคารกลางเมียนมาร์ (Central Bank of Myanmar: CBM) ได้ประกาศรายชื่อธนาคารต่างชาติ 9 แห่งที่ได้รับใบอนุญาตเบื้องต้นในการประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ในเมียนมาร์ซึ่งต้องผ่านเงื่อนไขต่างๆ ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่ CMB กำหนด ประกอบด้วย ธนาคารจากญี่ปุ่น 3 แห่ง (Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, Sumitomo Mitsui Banking Corporation and Mizuho Bank) จากสิงคโปร์ 2 แห่ง (United Overseas Bank และ Oversea-Chinese Banking Corporation) จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 1 แห่ง (Australia New Zealand Banking Group (ANZ) จากไทย 1 แห่ง (ธนาคารกรุงเทพฯ) จากจีน 1 แห่ง (The Industrial and Commercial Bank of China) และจากมาเลเซีย 1 แห่ง (Malayan Bank Bhd.) การอนุญาตดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปีหลังจากที่ทางการเมียนมาร์ปิ ดการลงทุนจากต่างชาติในสาขาธนาคาร เนื่องจากเป็นสาขาที่ยังไม่สามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าในการเปิ ดสาขาธนาคารยังเป็ นไปอย่างช้าๆ โดยมีข้อจำกัดอยู่ กล่าวคือ ธนาคารต่างชาติสามารถเปิ ดสาขาได้เพียงแห่งละ 1 สาขา ทั้งยังมีข้อจำกัดในการปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจต่างชาติ ซึ่งอนุญาตให้ทำได้เฉพาะในสกุลเงินต่างชาติ แต่หากธนาคารต่างชาติใดต้องการทำธุรกรรมในสกุลเงินจ๊าด ต้องร่วมทุนกับธนาคารท้องถิ่น นอกจากนี้ ธนาคารต่างชาติยังไม่ได้รับอนุญาตให้เสนอบริการธนาคารแก่ลูกค้ารายย่อย(retail-banking services)
ในภาพรวม บริษัทต่างชาติในเมียนมาร์กำลังเผชิญความท้าทายในการดำเนินงาน ตั้งแต่การขาดแหล่งพลังงานจนถึงความไม่เพียงพอของโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่ง ตัวอย่างในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เช่น บริษัทเนสเล่ ซึ่งต้องประสบปัญหาในการจัดหาวัตถุดิบ เนื่องจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานมีอยู่อย่างจำกัด บริษัทฯ จึงต้องทำงานโดยตรงร่วมกับผู้ผลิตนมในประเทศเพื่อปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงการทดสอบเมล็ดกาแฟที่ปลูกในประเทศเพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ อีกทั้งปัญหาการใช้แรงงานอายุต่ำกว่าเกณฑ์และการจ้างงานนอกเวลาโดยจ่ายค่าแรงไม่สม่ำเสมอ อันนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของต้นทุนจากการทำให้ได้ตามมาตรฐานด้านต่างๆ รวมถึงปัญหาด้านความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงาน ตามที่ระบุในรายงานของบริษัท Gap ซึ่งเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า เพื่อรายงานต่อทางการสหรัฐฯ ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบในเมียนมาร์(Reporting Requirements on Responsible Investment in Burma) ซึ่งสอดคล้องกับคำเตือนขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization: ILO) ที่ระบุถึงการใช้แรงงานอายุต่ำกว่าเกณฑ์อย่างแพร่หลายในภูมิภาค
นอกจากนี้ บรรยากาศทางการเมืองในเมียนมาร์ รวมถึงกระบวนการปฏิรูปประเทศของรัฐบาลเมียนมาร์ยังเป็นประเด็นที่นักลงทุนต่างชาติกำลังติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงถึงความสำเร็จในการประกอบธุรกิจที่ได้เข้าไปลงทุน ทั้งนี้ หลังจากการเยือนเมียนมาร์ของผู้แทนจากคณะกรรมาธิการสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน (United Nations Commission for Human Rights: UNCHR) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 ได้รายงานเตือนถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลเมียนมาร์อาจกำลังก้าวถอยหลังในบางด้าน เช่น เสรีภาพของสื่อ และนโยบายในการจัดการชนกลุ่มน้อยในประเทศ โดย UNCHR จะจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอต่อสหประชาชาติในเดือนตุลาคม 2557 ถือป็นข้อมูลสำคัญในการติดตามความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศและช่วยให้นักลงทุนต่างชาติได้ติดตามสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจในเมียนมาร์
ที่มา: - The Economist Intelligence Unit, Foreign investors face operational challenges in Myanmar, October 2, 2014
- The Economist Intelligence Unit, Foreign banks awarded licenses to operate in Myanmar, October 3, 2014
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630 อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/beco/2116967