- Details
- Category: CHINA
- Published: Saturday, 03 August 2024 23:34
- Hits: 7885
ผู้เชี่ยวชาญ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ความร่วมมือด้านพลังงานน้ำและไฟฟ้ามอบความผาสุกให้กับประชาชน
6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเริ่มสำรวจต้นกำเนิดแม่น้ำล้านช้างร่วมกันที่มณฑลชิงไห่ ในระหว่างการสำรวจนี้ ผู้แทนจาก 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดต่างๆ ที่พบพานในการเดินทาง
Paradis Someth นักอุทกวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกัมพูชา สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำของจีนในลุ่มแม่น้ำล้านช้าง โดยได้ระบุว่าแม้ลุ่มแม่น้ำล้านช้างอาจไม่เหมาะสำหรับการเกษตร แต่ก็มีศักยภาพสูงในการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำ
Someth ยังกล่าวถึงงานระยะแรกของ’การวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอุทกวิทยาและยุทธศาสตร์การปรับตัวในลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง’ซึ่งเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2023 ท่านได้แสดงบทบาทสำคัญในการประสานงาน ท่านกล่าวว่า“ปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะอำนวยข้อมูลด้านอุทกวิทยามากขึ้นให้กับลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาระดับน้ำต่ำของทะเลสาบเขมรกัมพูชาที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา”
Sivannakone Malivarn รองเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติลาว ก็ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำของแม่น้ำล้านช้างเช่นกัน Malivarn กล่าวว่าในช่วงแรกไม่ค่อยมั่นใจในโครงการดังกล่าว ยังกลัวว่าปริมาณน้ำจะลดลง อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นระหว่างการสำรวจร่วมกันแล้ว จึงเชื่อมั่นว่าโครงการเหล่านี้สามารถควบคุมการไหลของแม่น้ำและป้องกันน้ำท่วมในตอนปลายของแม่น้ำได้ นอกจากนี้ สถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำ Nam Ngum 4 ที่จีนสร้างขึ้นในลาวก็ได้อำนวยประโยชน์มหาศาลแก่ลาวอีกด้วย
Chaona Suppanut จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไทย เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความร่วมมือ LMC ในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และความสำคัญของการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยา ซึ่งจะช่วยให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงอย่างประเทศไทย เข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น และเตรียมพร้อมสำหรับการใช้น้ำในอนาคต นอกจากนี้ ท่านยังกล่าวว่า ต้องให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในงานเหล่านี้ด้วยเพื่อรับประกันความยั่งยืนของความร่วมมือ“ผมเห็นว่าพลังรวมของคนหลายรุ่นเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนแปลง”
Tin Yu Ya Swe มาจากเมียนมาร์ กำลังศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาการพัฒนาชนบทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จีน เธอกล่าวว่า“ฉันอยากเรียนรู้ระบบการจัดการน้ำของจีน และนำวิธีเหล่านี้ประยุกต์ใช้ในการจัดการน้ำและการปรับปรุงการเกษตรในเมียนมาร์ ประเทศของฉัน 70% ของประชากรเมียนมาร์พึ่งพาการเกษตร” เธอชื่นชมความสำเร็จของจีนในการฟื้นฟูชนบท และเชื่อว่าในที่นี้มีสิ่งมากมายที่ควรแก่การเรียนรู้
Nguyen Dinh Dat จากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติเวียดนามเน้นย้ำถึงประโยชน์ของสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำในลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงอีกครั้ง ท่านอธิบายว่าโดยหลักการแล้ว อ่างเก็บน้ำเหล่านี้สามารถกักเก็บน้ำในช่วงน้ำท่วมและปล่อยน้ำในช่วงฤดูแล้ง ในค.ศ. 2016 ภัยแล้งรุนแรงที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลกระทบต่อหลายประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงเวียดนาม การที่รัฐบาลจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนตอนต้นของแม่น้ำช่วยบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งได้อย่างมาก ท่านยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดการทรัพยากรน้ำในการจัดหาน้ำ ความมั่นคงทางอาหาร และการผลิตทางเศรษฐกิจด้วย ซึ่งจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน