WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aนวตกรรมอาเซยน

ไทยจัดประชุม นวัตกรรมอาเซียน ครั้งแรก วาง 3 กรอบสำคัญหวังกำหนดทิศนวัตกรรมภูมิภาค

    ไทยจัดประชุมเวทีกำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ASEAN STI Forum 2016 ครั้งแรกของอาเซียนที่กรุงเทพฯ พร้อมวาง 3 กรอบแนวทางสำคัญ 3 ด้านเพื่อกระตุ้นให้เกิดการกำหนดนวัตกรรมร่วมกันอย่างชัดเจน ประเดิมลงขัน 1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ในระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม เผยที่ผ่านมามีการเรียนรู้ทางด้านนวัตกรรมในกลุ่มอาเซียนมาระยะหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ชัดเจนจึงต้องสร้างแรงกระตุ้น เผยกองทุน NEWTON Fund ที่ทำร่วมกับอังกฤษได้รับการสนับสนุนเพิ่ม พร้อม MOU ระหว่างรัฐกับรัฐเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทยอังกฤษอย่างจริงจัง

    ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม อาเซียน เอส ที ไอ ฟอรัม 2016 (ASEAN STI Forum 2016) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีการกำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมร่วมกันระหว่างไทยและ 9 ชาติในอาเซียน โดยการประชุมในครั้งนี้ไทยได้นำเสนอข้อริเริ่ม 3 ข้อ ที่จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคมนี้ ประกอบด้วย

    1.การเป็นผู้นำในการจัดสรรงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกัน โดยไทยจะลงขันเริ่มต้นด้วยเงินลงทุน 1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นทุนในการผลักดันวาระสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสมาชิกในกลุ่มอาเซียน โดยจะให้สมาชิกเข้ามาร่วมกันเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนาในกองทุนดังกล่าวนี้ด้วย 2.ประเทศไทยยินดีต้อนรับคนเก่งของอาเซียน ด้วยการให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อเป็นการร่วมกันพัฒนาบุคลากรทางด้านนวัตกรรม และ 3.การส่งเสริมให้นักวิจัยของภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือเอกชนไทยในการทำการวิจัยทางด้านนวัตกรรม เพื่อเสริมกับส่วนของการวิจัยของเอกชนที่ยังขาดแคลนตลอดจนภาคเอกชนในภูมิภาคอาเซียน

    ทั้งนี้ อาเซียนมีคณะกรรมการในการร่วมพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกันมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี แล้ว โดยในไทยช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมาถือเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภูมิภาค และได้ทำงานหลายอย่างที่ช่วยกระตุ้นให้อาเชียนเกิดความกระฉับกระเฉงที่จะพัฒนาในเรื่องนวัตกรรม เช่น การร่วมกันวิจัยและพัฒนาเรื่องเมืองนวัตกรรมอาหารที่เกิดขึ้นแล้วที่รังสิต การพัฒนาบุคลากรภายใต้โปรเจค Start Up เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรรุ่นใหม่ เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมหารือ โดย 6 ปีที่ผ่านมาได้มีการหารือหนึ่ง และได้มีการจัดทำบลูปรินซ์หรือข้อริเริ่มที่กระบี่ เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ซึ่งยังคงใช้มาถึงทุกวันนี้ในกลุ่มประเทศอาเซียน

     "ที่ผ่านมาอาเซียนยังไม่ได้เรียนรู้กันและกันมากเท่าไร คิดว่าเวทีนี้เป็นเวทีที่จะร่วมพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างจริงจังขึ้นมาเป็นครั้งแรกในอาเซียน ซึ่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจนได้เนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นในการประชุมครั้งนี้ จะไม่ได้ใช้พัฒนาเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศคู่เจรจาของประเทศภายในกลุ่ม ทั้ง

    ในรูปแบบประเทศเดี่ยวหรือกลุ่มประเทศในแต่ละภูมิภาค ซึ่งการร่วมกันพัฒนาดังกล่าวจะทำให้อาเซียนเกิดความแข็งแกร่ง และประเทศไทยก็จะแข็งแกร่งตามไปด้วย เพราะความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ยังถือเป็นการกระตุ้นการทำงานให้ 10 ประเทศมีการเคลื่อนไหวที่เร็วขึ้น"

    โดยตัวอย่างความร่วมมือที่สำเร็จนั้น ดร.พิเชฐ ยกตัวอย่างการทำงานวิจัยร่วมกันภายใต้Project Newton Fund ที่ร่วมกับประเทศอังกฤษที่มีการแลกเปลี่ยน และทำงานวิจัยร่วมกัน เพื่อพัฒนาเรื่องข้าว งานสาธารณสุขด้านการรักษาโรคมะเร็ง การพัฒนาบุคลากรผลปรากฏเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งในความร่วมมือกรอบต่อไปนั้น ประเทศอังกฤษจะมีการขยายกรอบความร่วมมือมากขึ้น

   "ในเดือนที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกับ Mr. Mark Walport ที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ประจำตัวของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โดยเบื้องต้นจะมีการร่างกรอบความร่วมมือระหว่างกันขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย และเมื่อบรรลุข้อตกลง จะมีการลงนามความร่วมมือ MOU ทางด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม อีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ ที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้อีกมาก"

    ดร.พิเชฐ กล่าวว่าต่อว่า สำหรับ 7-8 ภาพของอาเซียนที่ระบายไว้กระบี่เมื่อ 6 ปีก่อนนั้นเริ่มมีความชัดเจนในเรื่องของความร่วมมือกันการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมเบื้องต้น 3 ด้านคือ 1.นวัตกรรมอาหารที่จะร่วมสร้างความเข้มแข็งให้มากขึ้น 2.พลังงาน เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศเกิดความมั่นคงทั้งทางด้านพลังงานไฟฟ้า พลังงานทดแทน เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น และ 3.การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพแต่จะทำอย่างไรให้สามารถนำความหลากหลายเหล่านั้นมาก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

    สำหรับในไทยเอง ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้ทำงานด้านนวัตกรรมมาก จากนี้ไปจะเป็นฤดูการเก็บเกี่ยว เพื่อนำงานเหล่านั้นมาจากหิ้งสู่ห้าง เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทำให้โอทอปมีคุณภาพผ่านนวัตกรรม ที่ผ่านมาเราส่งนักเรียนทุนไปเรียนต่างประเทศปีละ 200-300 คน ดังนั้นตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นกลับมาช่วยพัฒนาประเทศ พัฒนาคนรุ่นใหม่สนับสนุนให้เกิดการคิดริเริ่มด้านสตาร์ทอัพให้มากขึ้น

     โดยทุกกระทรวงต้องทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนให้นวัตกรรมเข้าไปมีส่วนในการผลักดันให้ไทยเป็นหนึ่งในผู้นำเศรษฐกิจยุค 4.0 ในภูมิภาคอาเซียนให้สำเร็จ โดยทุกประเทศในกลุ่มสมาชิกต้องก้าวไปด้วยกัน ซึ่งทางด้านการศึกษายังได้

    ทำการเตรียมความพร้อม ด้วยการจับกลุ่มอุดมศึกษาให้เป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยทางด้านการวิจัย กลุ่มมหาวิทยาลัยทางด้านเทคโนโลยี และกลุ่มมหาวิทยาลัยทางด้านการสนับสนุนท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อให้ทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นมหาวิทยาลัย 4.0 หรือ University 4.0 ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 อีกด้วย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!