WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมชย สจจพงษ copyยอลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว ปลัดคลัง'เชื่อส่อไม่ทันปลายปีนี้

      แนวหน้า : นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง แสดงความเห็นกรณีที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง มีแนวคิดแจกซิมการ์ดโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ผู้มีรายได้น้อย ว่า แนวคิดดังกล่าวไม่ได้เอื้อต่อภาคเอกชนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งแต่อย่างใด เพราะซิมการ์ดที่แจกนั้น ดำเนินการโดยบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นรายได้จึงเข้ารัฐ

      "รายได้เหมือนย้ายจากกระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา และการแจกซิมการ์ดทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบอินเตอร์เนต ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้วย"

     นายสมชัยกล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวด้วยว่า จนถึงขณะนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ยังไม่ส่งข้อมูลที่ กระทรวงการคลัง ขอให้ปรับแก้ โดยให้เน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองรองเป็นหลัก ดังนั้นจึงยังไม่สามารถระบุได้ว่ามาตรการลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยวจะเกิดขึ้นทันหรือไม่ ในปลายปี 2560 เพราะหากททท.ยังไม่ส่งข้อมูลมาก็ไม่สามารถดำเนินต่อได้

      มีรายงานจาก กระทรวงการคลังแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ ททท. เสนอมาตรการหักลดหย่อนภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยว มายังสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในเบื้องต้น สศค. มีความเห็นว่า มาตรการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวที่ ททท. เสนอมาเป็นการขอที่มากเกินไป พร้อมขอให้ ททท.ศึกษาใหม่

       โดย ททท.เสนอการหักลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว โดยนอกจากค่าโรงแรม และค่าแพ็กเกจทัวร์ของบริษัท นำเที่ยวแล้ว ยังเสนอให้หักค่าอาหารในร้านค้าต่างๆ โดยสศค. เกรงว่าการตรวจสอบการหักลดหย่อนภาษีของกรมสรรพากรอาจจะมีปัญหา เพราะมีการแบ่งเป็นโซนที่หักลดหย่อนภาษีไม่เท่ากัน

       ทั้งนี้ ททท.ขอให้หักลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว 3 โซน ได้แก่ โซนเมืองท่องเที่ยวหลัก โซนเมืองท่องเที่ยว 12 เมืองต้องห้ามพลาด และโซนเมืองท่องเที่ยวในจังหวัดรอง 51 จังหวัด

Gพล.อ.ธนะศกด ปฏมาประกรธนะศักดิ์ เตรียมผลักดันใช้มาตรการภาษีกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรองตลอดทั้งปี 61

     พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงเรื่องมาตรการภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยวว่า ยังอยู่ระหว่าการหารือกับกระทรวงการคลัง โดยเสนอให้ใช้แนวทางการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยให้นำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาท แต่คงไม่ทำแค่ระยะสั้น 1-2 เดือน แต่จะขอให้ใช้มาตรการดังกล่าวตลอดทั้งปี 61

       อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะอาจจะต้องหารือในรายละเอียดกันอีก

      "ยังไม่สรุป คุยไปแล้วก็ต้องคุยกันอีก พยายามเจรจาว่าปีหน้าเราขอมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับเที่ยวเมืองรอง แต่แทนที่จะแค่ 1-2 เดือน อาจจะขอไว้ทั้งปี ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจา แต่ถ้าจะกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรองก็คงต้องขอทั้งปี แค่ 1-2 เดือนคงไม่เห็นอะไร..ถ้าได้ก็เป็นกำลังใจ"รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

       พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ภาพรวมของภาคการท่องเที่ยวยังเติบโตได้ดี ถึงแม้จะไม่มีมาตรการภาษีมาสนับสนุนก็ยังมั่นใจว่าประชาชนก็จะยังเดินทางท่องเที่ยวอยู่แล้ว โดยประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก และมั่นใจว่าจะยังรักษาอันดับนี้ไว้ได้อย่างต่อเนื่อง

      "3 ปีที่ผ่านมาเราโตขึ้นเรื่อยๆ ปีนี้ก็โต จำนวนคนโต 7% รายได้โต 10% ก็จะพยายามรักษาตัวเลขนี้ไว้ จะไม่ปรับเป้า เพราะเวลาโตมากกว่าจะได้พูดได้ว่าเราโตเกินเป้า"พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าว

รัฐบาลจัดขบวนแห่เปิดงาน ปี 61 ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน

      พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน "ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน" โดยมี นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา, นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.),นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้แทนหน่วยราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะทูตานุทูต ร่วมงาน

       รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ประเทศไทยมีความโดดเด่นในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะประเพณี วัฒนธรรม อาหารการกิน ความพร้อมในสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมไปถึงอัธยาศัยไมตรีของคนไทยที่มีความเป็นมิตรและยิ้มแย้ม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์แบบวิถีไทยที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้ปี 2561 เป็น ‘ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน’ หรือ Amazing Thailand Tourism Year 2018 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 – 1 มกราคม 2562 และกำหนดให้วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 เป็นวันประกาศ "ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน" อย่างเป็นทางการ

     วัตถุประสงค์สำคัญในการส่งเสริม 'ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน' นั้นเพื่อเป็นการเน้นย้ำให้การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกื้อกูลเรื่องความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยาและการต่างประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพที่เจริญเติบโตอย่างมีดุลยภาพบนพื้นฐานของความเป็นไทยโดยนำรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนำของโลกที่เติบโตอย่างแข็งแรง

      ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ขบวนท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน เป็นการแสดงความพร้อมของประเทศไทยในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก นำเสนอกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี และเทศกาลระดับโลก ที่จะจัดภายในประเทศตลอดทั้งปี นำเสนอในรูปแบบขบวนแห่ 6 ขบวน ประกอบกับนักแสดงกว่า 1,000 คน โดยเริ่มจากแยกปทุมวันเคลื่อนผ่านถนนพระราม 1 สู่แยกราชประสงค์ และสิ้นสุดที่ สวนลุมพินี รวมระยะทาง 3.5 กิโลเมตร

     สำหรับ ขบวนแห่ประกอบด้วย 6 ขบวนหลัก ได้แก่ 1.ขบวนตราสัญลักษณ์ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน 2.ขบวนประเพณีไทย 5 ภาค 3.ขบวนอรรถรสไทย 4.ขบวนสีสันเทศกาล 5.ขบวนกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว และ 6.ขบวนเจ้าบ้านที่ดี ทั้งนี้ รถในขบวนทั้งหมดจะจอดให้ชมบริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ สวนลุมพินี ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 พฤศจิกายน 2560 เวลา 18.00 – 22.00 น.

ก.ท่องเที่ยวฯจัดทำเขตพัฒนาเพิ่ม 6 เขต เน้นสร้างสมดุล-ยั่งยืน-กระจายรายได้ทั่วถึง

      นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จากนโยบายของรัฐบาลและนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ที่เน้นเรื่องเขตพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น ทางกระทรวงฯได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำการศึกษาพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อจัดทำเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเพิ่มเติมอีก 6 เขตจากของเดิมที่มีอยู่ 8 เขต รวมเป็นทั้งหมด 14 เขต ภายหลังได้รับความเห็นชอบในหลักการศึกษาข้อมูลเพื่อการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเพิ่มเติม

      สำหรับ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง 6 เขต ใน 4 ภูมิภาค อันประกอบด้วย ภาคเหนือ 1 แห่ง คือ เขตวิถีชีวิตชุมชน และ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง คือ เขตยุคก่อนประวัติศาสตร์ ภาคกลาง 2 แห่ง ได้แก่ เขตผจญภัยผืนป่าโลกตะวันออก และ เขตวิถีชีวิตคาบสมุทร ภาคใต้ 2 แห่ง ได้แก่ เขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ เขตพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้

     ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวต่อว่า การประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยวดังกล่าวจะนำความโดดเด่น และอัตลักษณ์ของพื้นที่ในแต่ละพื้นที่มาสร้างการรับรู้ในวงกว้างแก่ตลาดนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวจดจำภาพลักษณ์ของพื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และพัฒนากลไกการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางการท่องเที่ยว เพื่อให้เขตพัฒนาการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นได้รับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างสมดุลและยั่งยืน สามารถกระจายรายได้และนักท่องเที่ยวจากเมืองหลักสู่เมืองรองต่างๆในขั้นต่อไป

      “จากการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยวที่ผ่านมาพบว่า เขตพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง 8 เขตที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้นั้น ประสบความสำเร็จในการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็นผลให้ในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้เขตพัฒนาการท่องเที่ยวมีทิศทางในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอีก 6 เขต ในวันนี้ ตนมั่นใจว่าจะเป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมั่นคง ยั่งยืน และ เป็นการกระจายรายได้จากภาคการท่องเที่ยวลงสู่สังคม ชุมชน อย่างทั่วถึง และ เท่าเทียม"ปลัดฯ พงษ์ภาณุกล่าว

      อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!