WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaMagical

ท่องเที่ยววิถีชุมชนในคอนเซปต์ Magical Mangroves เที่ยวสงาด บ้านแหลมมะขาม จ.ตราด ย้อนรอยพระพุทธเจ้าหลวง

เรียนรู้นิเวศน์ป่าโกงกาง ลุยเลนลานล่าหอยปากเป็ด’ 1 ใน 10 ชุมชนต้นแบบแห่งความยั่งยืน จาก ททท.

      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรม Village Tourism 4.0 ภายใต้โครงการ Village to the World 4.0 นำทีมอาจารย์มากความสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมและช่วยส่งเสริมให้ความรู้ทั้งด้านการจัดการการท่องเที่ยว และด้านเทคโนโลยีการสื่อสารแก่ชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางทางการตลาดให้กับชุมชนมากขึ้น โดยยกชุมชนบ้านแหลมมะขาม อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็น 1 ใน 10 ชุมชนต้นแบบ ที่มีจุดเด่นในด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ในคอนเซปต์ ‘Magical Mangroves เที่ยวสงาด บ้านแหลมมะขาม ย้อนรอยพระพุทธเจ้าหลวง เรียนรู้นิเวศน์ป่าโกงกาง ลุยเลนลานล่าหอยปากเป็ด’

       ชุมชนบ้านแหลมมะขาม เป็นชุมชนเก่าแก่ ลักษณะพื้นที่เป็นแหลมยื่นไปในทะเล มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ป่าชายเลน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมธรรมชาติของป่าชายเลนที่มีระยะทางยาวกว่า 3 กิโลเมตร ระหว่างทางก็จะพบกับสัตว์นานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน อย่างเช่น ลิงแสม เหยี่ยวแดงคอขาว อีกา เป็นต้น เมื่อนั่งเรือออกไปถึงปากอ่าว ก็จะพบกับทัศนียภาพของเกาะช้างที่สวยงามมาก เชื่อว่าจะต้องเป็นภาพที่ประทับใจไม่รู้ลืมอย่างแน่นอน

          นักท่องเที่ยวสามารถทำกิจกรรมงมหอยปากเป็ดร่วมกับชาวบ้าน แล้วนำมาประกอบอาหารได้อีกด้วย อย่างเมนูเด็ดในท้องถิ่นก็คือ ผัดเผ็ดหอยปากเป็ดนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์ของสมัยรัชกาลที่ 5 ให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้กัน เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่รวบรวมภาพทางประวัติศาสตร์ของรัชกาลที่ 5 ไว้อย่างมากมายกว่า 200 ภาพ พระนามที่ชาวตราดเรียกขานพระองค์คือ “เสด็จพ่อ พระพุทธเจ้าหลวง” ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนสำหรับ นักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวทั่วไป โดยเปิดให้เข้าชมทุกวัน ซึ่งไม่มีเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

          นอกจากนี้ บ้านแหลมมะขามยังมีจุดเด่นด้านศาสนาและวัฒนธรรม อย่าง 'โต๊ะวาลี' เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวมุสลิม แต่อยู่ภายในพื้นที่ของ วัดแหลมมะขาม ซึ่งเปรียบเสมือนความเชื่อของชาวมุสลิมในเรื่องปาฏิหาริย์และความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พึ่งทางใจ โดยชาวบ้านได้สร้างเป็นแท่นคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายหลุมศพ ภายในส่วนบนมีทรายละเอียดเกลี่ยเรียบ ส่วนล่างเป็นแก่นไม้ขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวคนฝังอยู่ มองจากภายนอกจะเห็นเป็นกระโจมกรุด้วยผ้าลูกไม้สีสดคลุม ชาวมุสลิมทั่วประเทศที่เคารพนับถือได้เดินทางมายังโต๊ะวาลีเป็นประจำ

          นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงพื้นที่พบปะกับชาวบ้านในชุมชนอย่างเป็นกันเอง และกล่าวถึงกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “ชุมชนบ้านแหลมมะขาม จ.ตราด เป็น 1 ใน 10 ของกิจกรรม Village Tourism 4.0 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดขึ้น เราได้นำเรื่องของนวัตกรรม ทำอย่างไรให้ชาวบ้านทำน้อยแต่ได้มากบนพื้นฐานของการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต ชุมชนบ้านแหลมมะขามมีความโดดเด่นในเรื่องของธรรมชาติ วิถีชีวิต และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์จักสานที่มีความละเอียด อาหารท้องถิ่นขึ้นชื่ออย่างปลาพล่า หมูชะมวง ผัดเผ็ดหอยปากเป็ด มะกรูดเชื่อม บอระเพ็ดแช่อิ่ม ซึ่งหาทานได้ปีละครั้ง สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเสน่ห์ที่รอคอยให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนครับ” สุดท้ายนี้นายยุทธศักดิ์ฝากถึงกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “สำหรับกิจกรรมนี้ ทางททท.ตั้งใจที่จะเข้าไปยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชนให้มีความยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาล  หากนักท่องเที่ยวท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์และเส้นทางการท่องเที่ยวต่างๆของชุมชน ทางททท. จะนำไปจัดจำหน่ายในงานไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 45 ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ฮอลล์ 3 และ 4 ในวันที่ 2 - 5 พฤศจิกายน 2560 นี้ หรือสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tourismthailand.org/villagetourism ครับ”

ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน พ.ศ. ....

         ตามที่กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ทางเว็บไซต์ www.fpo.go.th และอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้กับประชาชน ดังนั้น สศค. จึงขอชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

       ปัจจุบัน ประชาชนส่วนหนึ่งมีการฝากเงินทิ้งไว้ที่สถาบันการเงินโดยที่บัญชีเงินฝากดังกล่าวไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน (Dormant Account) ซึ่งประชาชนอาจทราบหรือไม่ทราบก็ตาม ซึ่งในส่วนนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเงินฝากดังกล่าวออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่

       (1) กรณีเงินฝากมียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดธนาคารสามารถเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากได้ หากมียอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากน้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด (ส่วนใหญ่ ธนาคารจะกำหนดยอดขั้นต่ำไว้ที่ 2,000 บาท และเก็บค่าบริการรักษาบัญชีจนกระทั่งเงินในบัญชีหมดไป)

      (2) กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวมียอดเงินฝากคงเหลือสูงกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด

       ธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บบริการรักษาบัญชีเงินฝากสำหรับเงินในส่วนนี้ได้ ทั้งนี้ ธนาคารสามารถแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว โดยต้องแจ้งยอดเงินฝากคงเหลือเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ และหากลูกค้าหรือทายาทยังไม่ติดต่อกลับมายังธนาคารตามระยะเวลาที่กำหนด ธนาคารจะแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์จากเงินในส่วนนี้ ผ่านการรับรู้เงินในบัญชีดังกล่าวเป็นรายได้

      ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในระบบสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน กระทรวงการคลังจึงได้มีการยกร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกินกว่า 10 ปีขึ้นไปของประชาชนแทนสถาบันการเงิน และจัดทำระบบการค้นหาข้อมูลออนไลน์เพื่อสืบค้นเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เพื่อให้ประชาชนเจ้าของบัญชีหรือทายาทตามกฎหมายสามารถสืบค้นและขอเงินต้นคืนได้ตลอดเวลา ผ่านการดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนด ทั้งนี้ หากไม่มีการจัดทำระบบการค้นหาข้อมูลข้างต้น ประชาชนอาจจะลืมหรือไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีเงินจำนวนดังกล่าวอยู่ หรือหากประชาชนต้องการสืบค้นเงินดังกล่าวก็จำเป็นต้องติดต่อสอบถามสถาบันการเงินเป็นราย ๆ ไป

      ทั้งนี้ ในต่างประเทศได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะนำเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาบริหารจัดการเพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปเพื่อสาธารณประโยชน์ และกันเงินสำรองอีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อคืนเงินแก่ประชาชนที่มาขอเรียกเงินคืน

     ในการนี้ สศค. จึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายดังกล่าวถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ผ่านทาง Fax: 0 2618 3366 Email:[email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!