WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

G Kobkarnรมว.ท่องเที่ยว หารือสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน ชูยุทธศาสตร์พัฒนาภาคท่องเที่ยวเชื่อมโยงอาเซียน

      นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยภายหลังการร่วมหารือกับสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน และคณะนักธุรกิจ อาทิ บริษัท Citi บริษัท PayPal บริษัท 21st Century Fox บริษัท Airbnb บริษัท UBER และบริษัทกลุ่ม Hilton ว่า ได้หารือในประเด็นการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเติบโตด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

       ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยไม่ได้มุ่งเน้นจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาประเทศ แต่เน้นถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นถึง 17.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย โดยประเทศไทยมีความต้องการที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นและประเทศไทยจะกลายเป็นภาพลักษณ์แบรนด์เมืองท่องเที่ยวไทยให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับรู้ถึงยุทธศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงกีฬาด้วย

       "อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะไม่เพียงขึ้นอยู่กับการมุ่งเน้นสร้างรายได้ แต่จะมีการจัดการผลิตภัณฑ์หรือสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มจำนวนรายได้ให้มากขึ้นประเทศไทยจะมุ่งเน้นการสร้างความเป็นเอกภาพและความเข้าใจระหว่างผู้คนที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมเข้าถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยอย่างแท้จริง"รมว.ท่องเที่ยวฯ กล่าว

       อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับประเทศไทยยังคงเป็นเชื่อมโยงกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ทั้งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบ Joint package ด้านการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่ประเทศไทยวางแผนที่จะลงทุนในด้านการท่องเที่ยวเรือสำราญที่ไม่เพียงแต่จะเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ แต่ยังเป็นท่าเรือที่หรูหรา รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงอาหารในรูปแบบ Street Food เนื่องจากอาหารไทยมีชื่อเสียงและขึ้นชื่อในเรื่องของรสชาติและความประณีตในการบรรจงคัดเลือกวัตถุดิบปรุงแต่งที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ทางโภชนาการมีความพิถีพิถันในการตกแต่งอาหารให้มีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมและวัตถุดิบของแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งมิสชินและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการในการเปิดตัวคู่มือแนะนำร้านอาหาร คือ มิชลินฉบับ กรุงเทพ (Michelin Star Guide Book)

ปลัดท่องเที่ยวฯ ต้อนรับเที่ยวเรือปฐมฤกษ์ Majestic Princess-ชูนโยบายผลักดันไทยเป็น Hub ของอาเซียน

       นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ (Cruise Tourism) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและมีความสนใจเฉพาะด้านเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ในโอกาสต้อนรับการมาเยือนประเทศไทยของเรือ Majestic Princess ว่า ในระยะที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดนักท่องเที่ยวเรือสำราญไว้อย่างต่อเนื่องที่สำคัญ ได้แก่

       1. การปรับปรุงท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือภูเก็ต การศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือ Cruise ที่จังหวัดกระบี่ และเกาะสมุย รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อเชื่อมโยงท่าเรือกับแหล่งท่องเที่ยว (เช่น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง)

        2. การประชาสัมพันธ์ให้บริษัทสายเดินเรือ Cruise และนักท่องเที่ยวรับทราบถึงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยในการรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเรือสำราญ

       3. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองหลักและเมืองรองทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตพัฒนา

        การท่องเที่ยวทั้ง 8 คลัสเตอร์ รวมทั้งการพัฒนาการยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการการท่องเที่ยว และมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว

       4. การปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออกของเรือโดยสารและนักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

      5. การพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรือสำราญ ได้แก่ อาชีพลูกเรือ ผู้ให้บริการบนเรือ ผู้ประกอบการและชุมชน

      สำหรับ การมาเยือนประเทศไทยของเรือ Majestic Princess ในวันนี้ เป็นเรือลำใหม่ที่ออกแบบสำหรับตลาดเอเชียโดยเฉพาะ และกำลังเดินทางเข้ามาประจำการในเอเชีย โดยเชิญกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คณะทำงานอำนวยความสะดวกการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ (Cruise) สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ จำนวนประมาณ 300 คน เยี่ยมชมเรือ Majestic Princess เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเรือสำราญ (Cruise) นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็น Maritime Hub ด้านการท่องเที่ยวเรือสำราญของอาเซียนต่อไป

     ทั้งนี้ สมาคมการเดินเรือสำราญใหญ่ที่สุดของโลก (Cruise Lines International Association : CLIA) ระบุว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยเรือสำราญสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 17.8 ล้านคนในปี 2552 เป็น 23 ล้านคน ในปี 2558 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.4% ต่อปี และในตลาดเอเชีย 2-3 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยอัตราเฉลี่ย 29% ต่อปี และมีแนวโน้มที่จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

      และประเทศไทยอยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ (Cruise) มีบริษัทสายเดินเรือ เข้ามาเดินเรืออยู่แล้วมากกว่า 10 สาย เช่น Princess Cruise, Royal Caribbean, Costa, Cunard, Star Cruise, P&O, Holland America Line Group เป็นต้น ซึ่งได้แวะพักตามจุดต่างๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ คือ ต้องการพัฒนายกระดับท่าเรือสำราญให้เป็น Port of call ที่มีคุณภาพมาตรฐานในระยะ 5 ปีถัดจากนี้และจะพัฒนาให้เป็น Home Port เช่นเดียวกับประเทศจีนและสิงคโปร์ ในอีกระยะ 10 ปีข้างหน้า

               อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!