- Details
- Category: ท่องเที่ยว
- Published: Monday, 12 January 2015 12:09
- Hits: 4732
ททท.เปิดศักราชท่องเที่ยวปีท่องเที่ยววิถีไทย จัดมหกรรมท่องเที่ยวยิ่งใหญ่'เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2558'ยกเมืองไทยมาไว้กลางสวนลุม
ททท.เปิดศักราชปี 2558 ประกาศยิ่งใหญ่ 'ปีท่องเที่ยววิถีไทย' ในงานมหกรรมท่องเที่ยว “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2558” ยกเมืองไทยมาไว้กลางสวนลุม ระหว่างวันที่ 14 – 18 มกราคมนี้ มั่นใจมีคนร่วมงานกว่า 4-5 แสนคน มีเงินหมุนเวียนกว่า 50 ล้านบาท
นายธวัชชัย อรัญญิก ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ได้เปิดศักราชการท่องเที่ยว ปี 2558 ด้วยการประกาศศักยภาพ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย : 2015 DISCOVER THAINESS” เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเปิดศักราชยิ่งใหญ่กับมหกรรมท่องเที่ยวกิจกรรมสุดยิ่งใหญ่ กับงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2558” ชูแนวคิด “ยกเมืองไทยมาไว้ที่สวนลุมพินี” ระหว่างวันที่ 14 – 18 มกราคม 2558 ณ สวนลุมพินี โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ปีท่องเที่ยววิถีไทย และงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2558” ในวันที่ 14 มกราคม เวลา 18.00 น. บริเวณหน้าศูนย์การค้าสยามดิสคัพเวอร์รี่สำหรับงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2558 พบกับกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีไทยทั้ง 5 ภูมิภาค ระหว่างวันที่ 14 – 18 มกราคม โดยวันธรรมดาเปิดเวลา 16.00 – 22.00 น. และเสาร์ – อาทิตย์ เปิดเวลา 12.00 – 22.00 น. ณ บริเวณสวนลุมพินี ภายในงานแบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่
โซนที่ 1 หมู่บ้านท่องเที่ยว 5 ภูมิภาค โดยททท.ได้จำลองเอกลักษณ์ของหมู่บ้านไทย 5 ภูมิภาคแสดงให้เห็นถึง วิถีชีวิตคนไทยในแต่ละภูมิภาค ประกอบด้วย การจำลอง Landmark หรือ วิถีชีวิตหมู่บ้าน การแสดงประจำหมู่บ้าน สินค้า OTOP อาหารดังเมนูเด่นของแต่ละภูมิภาค พร้อมการให้ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว
- หมู่บ้านท่องเที่ยววิถีไทยภาคกลาง : 'เที่ยวหลากหลาย สไตล์ภาคกลาง'จำลองวิถีชุมชนเอกลักษณ์หมู่บ้านภาคกลาง สัมผัสวิถีชีวิตริมสองฝั่งแม่น้ำ ผ่านการจำลองตลาดบกตลาดน้ำ (15 ตลาดบก 16 ตลาดน้ำ) จัดแสดงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมขนบประเพณี อาหารและสินค้าของที่ระลึก (OTOP)
- หมู่บ้านภาคเหนือ : 'วัฒนธรรมล้ำค่า งามผืนป่าธรรมชาติ' จำลองบ้านปองนัก จ.ลำปาง ซึ่งบรรยากาศหมู่บ้านภาคเหนือจะมีกลิ่นอาย ของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชวาเหนือในอดีต (สมัยร.7) และปัจจุบันที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน
- หมู่บ้านวิถีอีสาน : “แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม” จำลองพระธาตุพนม จ.นครพนม นำเสนอมุมมองแห่งวัฒนธรรม ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา ของชาวอีสาน อันเกิดจากความร่วมแรง ร่วมใจเรื่องงานบุญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาตามวิถีวัฒนธรรมชุมชนที่ยึดมั่นใน “ฮีต 12 คอง 14” สะท้อนผ่านหมู่บ้านภาคอีสาน
หมู่บ้านภาคตะวันออก : “สีสันตะวันออก” จำลองที่พักสไตล์รีสอร์ท โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก “ปารีฮัท รีสอร์ท” รีสอร์ทสุดโรแมนติกบนเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งสถานที่แห่งนี้เคยเป็นใช้เป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องปืนใหญ่จอมสลัด และฉากละคร เกมร้าย เกมรัก และจำลองแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ของพัทยา MIMOZA PATTAYA ภายใต้แนวคิด “The City of Love” ที่มีกลิ่นอายสถาปัตยกรรมเมืองโบราณของฝรั่งเศส โดดเด่นด้วยสีสันสดใส บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวในเมืองพัทยา นำเสนอวิถีชุมชนภาคตะวันออก ภายใต้แนวคิด “เมืองต้องห้าม...พลาด” พบกับแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมสาธิต สินค้า อาหารและการแสดงที่ต้องห้ามพลาด
และหมู่บ้านภาคใต้ : “ป่าสวยทะเลใส หลากหลายวัฒนธรรม” จำลอง เรือนปั้นหยา บ้านเรือนพื้นถิ่นภาคใต้ อันเป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม ทรงคุณค่าและมีความหมายของชาวปักษ์ใต้ เกิดจากการเรียนรู้สภาพแวดล้อม และการปะทะสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมจากแหล่งต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจนเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมากมาย โดดเด่นของภาคใต้
โซนที่ 2 กิจกรรมนิทรรศการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
ประกอบด้วย นิทรรศการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 55 ปี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในยุคของ Modern Marketing นิทรรศการอดีตสู่ปัจจุบันท่องเที่ยวไทย
กิจกรรมพิเศษปีการท่องเที่ยววิถีไทย 2558 ภาพสะท้อนองค์กรแห่งความภาคภูมิใจ / สารสนเทศเทคโนโลยี (IT) / 1672 เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย /อนุสาร อสท. / TAT SHOP / โซน 12 เมืองต้องห้ามพลาด / โซน Dream Destination เป็นต้น
โซนที่ 3 กิจกรรมบันเทิงเวทีกลาง ขบวนแห่วิถีไทย 5 ภูมิภาคท่องเที่ยว และการแสดงร่วมสมัย ภายใต้แนวคิด “ความสุขวิถีไทยยกมาไว้กลางสวนลุม” ประกอบไปด้วย การแสดงทางวัฒนธรรม ผสมผสานกับการแสดงร่วมสมัยจาก ศิลปินดารา นักร้อง และ การแสดงเด่น ๆ ที่มีชื่อเสียง เช่น การแสดงโขน, คอนเสิร์ตเพลงอมตะสุนทราภรณ์, รำวงย้อนยุค อ๊อด โฟร์เอส, การแสดงการละเล่นเด็กไทยหัวโตกลองยาว, การแสดงหุ่นละครเล็กคลอง บางหลวง, การแสดงของศิลปินแห่งชาติ แม่ขวัญจิตต์ ศรีประจันต์, คอนเสิร์ตลูกทุ่งก๊อทจักรพันธ์ อาบครบุรี, วงคาราบาว, หญิงลี ศรีจุมพล, คอนเสิร์ตย้อนวันวาน วงเดอะพาเลซ, ป๊อป แคลอรี่บาบา, นิวจิ๋ว, บอย ปกรณ์, เจมส์มาร์ ฯลฯ และขบวนแห่วิถีไทย ภายใต้แนวคิด ท่องเที่ยววิถีไทย จาก 5 ภูมิภาคท่องเที่ยว
โซนที่ 4 กิจกรรมพิเศษย้อนยุค 90 ปี สวนลุมพินี และ การออกร้านของดี ของเด่น ของดังจาก 50 เขต กรุงเทพมหานคร
โซนที่ 5 กิจกรรมการร่วมออกบูธนิทรรศการของ หน่วยงานจังหวัดพันธมิตร 12 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่, สุโขทัย, สุราษฎร์ธานี, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ฉะเชิงเทรา, อุดรธานี , สตูล, ตรัง, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส
นอกจากนี้ กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ชมงาน :- ผู้ร่วมชมงานสามารถรับหนังสือเดินทาง “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย ประจำปี 2558” (5,000 เล่มต่อวัน) รวม 15,000 เล่ม เพื่อร่วมกิจกรรมประทับตราท่องเที่ยวตามจุดต่าง ๆ ทั่วบริเวณงาน เพื่อแลกรับของที่ระลึกที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษในงานนี้โดยเฉพาะ ติดตามรายละเอียดข้อมูล 1672 เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย หรือ www.tourismthailand.org
แผนผังในภาพรวมการจัดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ปี 2558
วันพุธที่ 14 – ศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 ระหว่างเวลา 16.00 – 22.00 น. และเสาร์ที่ 17 – อาทิตย์ที่ 18 มกราคม 2558 ระหว่างเวลา 12.00 – 22.00 น.) ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร (เข้าชมฟรี!)
แนะนำควรเดินทางโดยรถสาธารณะ…… ททท.จัดรถบริการฟรีภายในสวนลุมพินี กทม.
ห้ามพลาด….. กิจกรรมดีๆมากมายเสมือน “ยกเมืองไทยมาไว้ที่นี่” ภายในงานมากมายจัดให้ชมฟรี ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
A. หมู่บ้านท่องเที่ยว 5 ภูมิภาค เพื่อการสร้างการรับรู้ความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่กิจกรรมในหมู่บ้านไทย 5 ภูมิภาคท่องเที่ยว แสดงถึง วิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละภูมิภาคเพื่อประชาสัมพันธ์สื่อสารถึงภาพลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคด้านการท่องเที่ยว
ประกอบด้วย จำลอง Landmark หรือวิถีชีวิตหมู่บ้าน การแสดงประจำหมู่บ้าน สินค้า OTOP และอาหารดังเมนูเด่นของพื้นบ้านประจำภูมิภาคของฝากกลับบ้าน การให้ข้อมูลข่าวสารของแต่ละภูมิภาคท่องเที่ยว ภายใต้ Theme ของแต่ละภูมิภาค ดังนี้
ภาคกลาง มีสโลแกนว่า “เที่ยวหลากหลาย สไตล์ภาคกลาง”
แนวคิด : ท่องเที่ยววิถีไทย ปี 2558 กับ เที่ยวภาคกลาง 19 จังหวัด ตามสโลแกน “เที่ยวหลากหลายสไตล์ภาคกลาง”
ภาพรวมของหมู่บ้าน : ได้จำลอง Landmark โดยใช้ “เรือนไทยภาคกลาง” ที่มีลักษณะแบบแผนเป็นเรือนหมู่ หลังคา ทรงสูง จำลองวิถีชุมชนเอกลักษณ์หมู่บ้านภาคกลาง สัมผัสวิถีชีวิตริมสองฝั่งแม่น้ำ ผ่านการจำลอง ตลาดบกตลาดน้ำ (15 ตลาดบก 16 ตลาดน้ำ) จัดแสดงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมขนบประเพณี อาหารและสินค้าของที่ระลึก (OTOP) ดี เด่น ดังในแต่ละจังหวัดที่เป็นเอกลักษณ์มาตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน นิทรรศการ การแสดงศิลปวัฒนธรรม แนะนำแหล่งท่องเที่ยวอันโดดเด่น ของ 19 จังหวัดภาคกลาง แบ่งรูปแบบการนำเสนอ ออกเป็น 6 โซน
เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำสำหรับการท่องเที่ยว ททท.ภูมิภาคภาคกลาง ได้สร้าง แบรนด์ “เที่ยวภาคกลาง” ขึ้นมา โดยมีสโลแกนว่า “เที่ยวหลากหลายสไตล์ภาคกลาง” แบ่งกลุ่มประเภทตามภาพลักษณ์ของสินค้าการท่องเที่ยวเป็น 6 กลุ่ม 6โซน จาก 19 จังหวัด (โดยความรับผิดชอบของ ททท.8 สำนักงานภาคกลาง) ดังนี้
✾มนต์เสน่ห์ทะเลวัง …..แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลฝั่งอ่าวไทยกับวัง…..รับผิดชอบพื้นที่โดย ททท.เพชรบุรี และ ททท.ประจวบคีรีขันธ์
✾แดนสวรรค์ตะวันตก…..แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติน้ำตกป่าเขาที่สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี…..รับผิดชอบพื้นที่โดย ททท.กาญจนบุรี และ ททท.เพชรบุรี
✾เที่ยวท่องล่องชมวิถีชุมชน…..แหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชน ตลาดบก/ตลาดน้ำ ชาวไทยภาคกลาง…… รับผิดชอบพื้นที่โดย ททท.สมุทรสงคราม
✾เที่ยวเมืองเก่าเล่าประวัติศาสตร์…..แหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับเรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้มรดกโลก….. รับผิดชอบพื้นที่โดย ททท.พระนครศรีอยุธยา และ ททท.สุพรรณบุรี
✾ผจญภัยหัวใจสีเขียว …..แหล่งท่องเที่ยวเชิงผจญภัย แหล่งท่องเที่ยวเขตทหารและ ทุ่งหญ้า-ดอกไม้…..รับผิดชอบพื้นที่โดย ททท.ลพบุรี
✾กรุงเทพฯและปริมณฑล สุขหรรษา …..แหล่งท่องเที่ยวเมืองหลวงของประเทศและจังหวัดปริมณฑล ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางความเจริญทุกๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น การเมือง การปกครอง การคมนาคมและการท่องเที่ยว พร้อม สิ่งอำนวยความสะดวกทางเลือกใหม่ด้วยรถบ้าน…รับผิดชอบพื้นที่โดย ททท.กรุงเทพมหานคร
ภายในหมู่บ้านยังได้ให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านโทรศัพท์มือถือ(Marketing on Mobile) ถ่ายภาพกับแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 6 โซนภาคกลาง แชร์ผ่านโซลเชียลมีเดีย (ฉากหลังเช่น ทะเลหัวหิน ชุมชนคนอาร์ตปั้นโอ่งราชบุรี ถนนสายดอกไม้ชมพูพันธ์ทิพย์ ถนนสายดอกไม้เหลือปีดียาธรถนนสายดอกไม้ทุ่งทานตะวันจักรยานท่องเที่ยว) มีรางวัลมอบให้สำหรับผู้ร่วมกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลทุกวัน
เปิดตัวโครงการตามสโลแกน “เที่ยวหลากหลายสไตล์ภาคกลาง” ปี 2558 และสอนการตัดต่อคลิป VDO ผ่านโทรศัพท์มือถือ
การแสดงเวทีภาคกลาง ประกอบด้วย
- พบกับนางสาวไทยและรองนางสาวไทย ปี 2557 ชวนเที่ยวจับรางวัลและมอบรางวัลพิเศษให้กับนักท่องเที่ยวที่แต่งไทยมาเที่ยวงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย(ทุกวัน)
- วิทยาลัยนาฎศิลป์กรุงเทพ (ศาลายา) สุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี (การแสดงพื้นบ้านภาคกลางที่หาชมยาก ลำตัด เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว ลิเก โขน หนังใหญ่ หุ่นละครเล็ก ฯลฯ)
- วงดนตรีลูกทุ่งแชมป์จากรายการชิงช้าสวรรค์จากโรงเรียนต่างๆ (กาญจนบุรี อยุธยา ลพบุรี นนทบุรี)
- การแสดงพื้นบ้าน (ศิลปะป้องกันตัวสำนักดาบพุทธไธสวรรค์ โชว์ระนาด ละครลิง หนังใหญ่วัดขนอน โขนเด็ก รำวงย้อนยุค)
- การแสดงร่วมสมัย (การแสดงเปลี่ยนหน้ากาก เชิดสิงโต ก๊อปปี้โชว์วงสามบาทห้าสิบ(3.50) วงดนตรีวัยรุ่นวง Jetseter)
กิจกรรมการจำลองสาธิตบรรยากาศ 15 ตลาดบก 16 ตลาดน้ำ การออกร้านจำหน่ายอาหารอร่อย สินค้าขึ้นชื่อ กว่า 30 ร้านค้า โดยได้จัดจำลองบรรยากาศ ตลาดบก ตลาดน้ำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ภาคกลางมาให้ท่องเที่ยวภายในงาน แนะนำอาหารและของฝาก (OTOP) 19 จังหวัด อาทิเช่น
- ปลาหมึกแดดเดียว @ ปราณบุรี “ผ้าโขมพัสต์”(ประจวบคีรีขันธ์)
- ขนมหม้อแกง ขนมหวาน ข้าวแช่เมืองเพชร ดอกเกลือสปา ป่านศรนารายณ์ (เพชรบุรี)
- เต้าหู้ดำ เทียนหอม ผลิตภัณฑ์จากหวาย ตุ๊กตาบ้านสิงห์ (ราชบุรี)
- แกงป่า วุ้นเส้นท่าเรือ ผลิตภัณฑ์อัญมณี (กาญจนบุรี)
- ปลาทูหน้างอคอหัก ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม น้ำตาลมะพร้าว (สมุทรสงคราม)
- อาหารทะเลแปรรูป เครื่องเบญจรงค์ดอนไก่ดี (สมุทรสาคร)
- ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง พันธุ์ทองดี (นครปฐม)
- ก๋วยเตี๋ยวเรือ โรตีสายไหม กุ้งแม่น้ำเผา (พระนครศรีอยุธยา)
- สาลี่ (สุพรรณบุรี)
- ผัดไท (อ่างทอง)
- ข้าวหอมมะลิ ส้มโอพันธ์ขาวแตงกวา หุ่นฟางนกเล็ก (ชัยนาท)
- ไข่เค็มดินสอพอง ปลาส้ม ปลาร้า กระท้อนหวาน ผ้ามัดหมี่ (ลพบุรี)
- ปลาช่อนแม่ลา เค้กปลาช่อน กุนเชียงปลา (สิงห์บุรี)
- เนื้อสเต็กดัง สุดยอดนมโค (ฟาร์มโคนมแห่งแรกของเมืองไทย) กะหรี่พั๊ฟขึ้นชื่อ (สระบุรี)
- เครื่องกระเบื้องดินเผาเกาะเกร็ด ทุเรียน (นนทบุรี)
- มะม่วงบางคล้า มะพร้าวน้ำหอมแปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา)
- ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต (ปทุมธานี)
- ปลาสลิดบางบ่อ (สมุทรปราการ)
- อาหารดัง สินค้าชุมชนจาก 50 เขต กทม. (กรุงเทพฯ)
ภาคเหนือ มีสโลแกนว่า “วัฒนธรรมล้ำค่า งามผืนป่าธรรมชาติ”
แนวคิด : นําเสนอวิถีชีวิตชุมชนคนเมืองเหนือที่มีกํารทําข้าวของเครื่องใช้ที่จําเป็นต่อกํารดํารงชีวิตประจําวัน จนพัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามสโลแกน “วัฒนธรรมล้ำค่า งามผืนป่าธรรมชาติ”
ภาพรวมของหมู่บ้าน : Landmark: บ้านป่องนัก จ.ลําปาง ซึ่งบรรยากาศ: หมู่บ้านภาคเหนือที่มีกลิ่นอํายของวิถีชิวิตความเป็นอยู่ของชวาเหนือในอดีตและปัจจุบันที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน (สมัย ร.7)
กิจกรรมภายในหมู่บ้านภาคเหนือ ประกอบด้วย
1. โซนกิจกรรมสาธิต : กิจกรรมสาธิตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน อาทิ ผ้าเมืองเหนือ เครื่องไม้ เครื่องเงิน กระดาษ
- ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์(ประณีตศิลป์-ศิลปผ้าทอ)พ.ศ.2553 ป้าประนอมทางแปง จ.แพร่ – ผ้าหาดเสี้ยว สีสัสชนาลัย
- กลุ่มเรือนไทยจําลองจิ๋ว จ.พิษณุโลก
- เครื่องเงิน วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่
- ร่มบ่อสร้าง จ.เชียงใหม่
- โคมศรีล้านนาและการตัดตุง ศูนย์การเรียนรู้ปัทมเสวี จ.ลําปาง
2. โซนนวัตกรรมผลิตภันฑ์ชุมชน : สินค้าของภาคเหนือที่มีการพัฒนา/ออกแบบ ผลิตภันฑ์ให้ทันสมัยแต่ยังคงกลิ่นอายของความเป็นเหนือ โดยนําเสนอนวัตกรรมการผลิตเซรามิกของสมาคมเซรามิก จ.ลําปาง อาทิ การผลิตถ้วยชาเซรามิคที่ไม่อมความร้อน เป็นต้น
3. โซนนิทรรศการ (ใช้พื้นที่บริเวณบ้านป่องรักชั้นล่าง)
- ประวัติความเป็นมาของบ้าน อาทิ ภาพถ่ายบ้านของจริง การรจำลองมุมหนึ่งภายในบ้าน (เหมือนจริ ง) ฯลฯ
- การเป็นสถานที่ถ่ายทําละคร (สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายวปวรรุจ และหนึ่งในทรวง) อาทิ นําเสนอ VDO ส่วนหนึ่งของละคร ฯลฯ – กิจกรรมถ่ายภาพย้อนยุค
4. โซนของดีชุมชนเมืองเหนือ : พื้นที่ออกบูธของหน่วยงานราชการในพื้นที่ ภาคเหนือ อาทิ อบจ. อบต. เทศบาล เป็นต้น โดยนําเสนอผลิตภันฑ์ชุมชนที่โดดเด่นของแต่ละแต่ละจังหวัด ซึ่งไม่สามารถหาซื้อได้ในกรุงเทพฯ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลําปาง นครสวรรค์ ตาก และน่าน
5. โซนให้ข้อมูลข่าวสาร ททท. ให้ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวภาคเหนือ และ ข้อมูลท่องเที่ยวชุมชนที่ได้รับรางวัล Tourism Awards
6. โซนชุมชนคนเที่ยวเหนือ : การรับสมัครสมาชิกชุมชนคนเที่ยวเหนือ
7. โซนแชะ & Share จัดมุมสวยๆ ที่ประดับด้วยโคมศรีล้านนํา รถม้า สําหรับถ่ายรูป
การแสดงเวทีภาคเหนือ :
กิจกรรมหลัก :
- รําวงย้อนยุค ถนนคนเดินพิษณุโลก
- ฟ้อนรํา/การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเทวดา ฟ้อนขันดอก ฟ้อนรำ เปิงลําปาง
- ฟ้อนผางประทีบ ฟ้อนสาวก๋าไก่ ฟ้อนวี และฟ้อนจ้อง
- กิจกรรมเล่นเกมส์ชิงรางวัล
กิจกรรม Hi-Light : เหินฟ้าหน้าเลื่อม ไม้เมือง เสวนา “ดินแดนแห่งแรงบันดาลใจในดนตรี” โดยศุ บุญเลี้ยง/หงาคาราวาน – ณัฏฐ์ กิติสาร อาร์สยาม ,ครูแอ๊ด ภาณุภัทร, ETC, เดอะสตาร์ ดาวเหนือ, นิว จิ๋ว
กิจกรรมจำลองสาธิตบรรยากาศตลาด และของฝาก : กาดหมั้วคัวฮอม เป็นบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยซื้อหาอาหารของชาวเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) มีสโลแกนว่า “แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม”
แนวคิด : เสน่ห์ วิถี ประเพณี อีสาน สโลแกนที่ว่า “แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม”
ภาพรวมของหมู่บ้าน : หมู่บ้าน “วิถีอีสาน” นำเสนอมุมมองแห่งวัฒนธรรม ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา ของชาวอีสาน อันเกิดจากความร่วมแรง ร่วมใจเรื่องงานบุญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ตามวิถีวัฒนธรรมชุมชนที่ยึดมั่นใน “ฮีต 12 คอง 14” สะท้อนผ่านหมู่บ้านภาคอีสาน ในการสาธิตงานศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนวิถีชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวอีสานผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และกิจกรรมการแสดงทาง วัฒนธรรมที่หลากหลายยกโขยงจากแดนอีสานขนานแท้ “เปลี่ยนมุมมองเพิ่มคุณค่าให้นักท่องเที่ยวได้รียนรู้ สัมผัส ซึมซับเอกลักษณ์ความเป็นอยู่แบบวิถีไทย(Thainess)
1. Land Mark : พระธาตุพนม จ.นครพนม : นิทรรศการ “ตามรอยพระบรมสารีริกธาตุอีสาน” ร่วมกับมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ : เฮือนอีสาน จำลองจากเฮือนอีสานประยุกต์ในพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม มีลานกิจกรรมรอบๆ (บ้าน และบริเวณชานบ้านประยุกต์เป็นเวทีกิจกรรมการแสดง)ให้ Information center : ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลข่าวสารแหล่งท่องเที่ยวของภาคอีสาน
2. “ธุง”(ธง) : “101 ธุงผะเหวดเมืองสาเกตุนคร” เพื่อประชาสัมพันธ์ปีท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2558 โดยการสนับสนุน “ธุง” จากจังหวัดร้อยเอ็ด
3. หัตถศิลป์ ถิ่นอีสาน : สาธิตวิถีชีวิตการทำงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านอีสาน ให้นักท่องเที่ยวได้ ชม เรียนรู้ ทดลองทำด้วยตนเอง ได้แก่
✏การทอผ้ามัดหมี่ไหมลายนพเกล้าบ้านดอนข่า จากหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว อ.ชนบท จ.ขอนแก่น เป็นแหล่งทอผ้าไหมมัดหมี่ ที่สืบทอดเป็นวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านมากว่า 200 ปี ปัจจุบันนอกจากจะอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้ามัดหมี่ไหมชนบทแบบดั้งเดิมแล้ว ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาไหมมัดหมี่ “ลายนพเกล้า” ที่ดึงองค์ประกอบจากลายพื้นบ้านดั้งเดิม 7 ลาย (หมี่ขอ หมี่คม หมี่กลม หมี่กระจับ หมี่ดอกแก้ว และหมี่ใบไผ่) มาผนวกกับอีก 2 ลาย ที่พัฒนาจากอัตตลักษณ์ของท้องถิ่น (ลายจี้เพชร และ ลายขันหมากเบ็ง) นอกจากนี้ ยังมีการยกระดับภูมิปัญญาแห่งการมัดหมี่สู่มาตรฐานไทย และมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มาตรฐานตรานกยูง OTOP ดาว มาตรฐานสิ่งทอขนาดเล็กที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน Green Product และ Global Organic Textile Standard จากผลงานดังกล่าว ทำให้บ้านดอนข่า ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 หมู่บ้านโอท็อป เพื่อการท่องเที่ยวประจำปี 2557 จากกรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย(สาธิตการทอผ้ามัดหมี่ พร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานทดลองทำด้วยตนเอง)
✏การทำผ้าฝ้ายออร์แกนิก จากชุมชน อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ เป็นผ้าฝ้ายที่ทำจากสีธรรมชาติล้วนๆ ได้แก่ สะเดา มะเกลือ หูกวาง โคลน ตะโก ต้นคราม ครั่ง มีสีสวยงาม ไม่ตก และเป็นงานปราณีต(Coop) เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมผ้าและบุคคลที่ทอผ้า ก็ล้วนแต่เป็นสมาชิกในชุมชนร่วมกันดำเนินการเองภายในชุมชนหนองบัวแดง (สาธิตการอิ้วฝ้าย เข็นฝ้าย การย้อมเย็น พร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานทดลองทำด้วย)
✏การทอผ้าบ้านเชียง จากชุมชนบ้านเชียง อ.บ้านเชียง จ.อุดรธานี เป็นการทอผ้าฝ้ายมัดหมี่ลวดลายบ้านเชียง ซึ่งเป็นลวดลายดั้งเดิมอันมีเอกลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านกรรมวิธีการทอมือและมีการย้อมสีจากธรรมชาติ ได้แก่ สีคราม สีเปลือกไม้ นำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่น อาทิ เสื้อผ้า ผ้าพันคอ ผ้าห่ม ผ้าคลุมไหล่ (สาธิตการการทอผ้า พร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานทดลองการทอผ้าได้ด้วย)
✏การนวดแผนโบราณ จากกลุ่มแพทย์พื้นบ้านอีสาน อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี การนวดคลายเส้นพื้นบ้านอีสาน โดยให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทดสอบการนวด การจับเส้นเพื่อคลายกล้ามเนื้อได้
✏วิถีชีวิต “หมู่บ้านไทดำ”บ้านนาป่าหนาด อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นเครื่องรางของขลังของชาวไทดำ ช่วยปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดี สิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้าน หรือหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวไทดำอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข นอกจากนี้ยังใช้สำหรับพิธีแซปาง แซปาง คือ การฟ้อนรำของหมอมด หมอมนต์ หรือหมอที่มีเวทมนต์คาถา ซึ่งช่วยรักษาคนป่วยให้หายป่วยตุ้มนก ตุ้มหนู จะนำมาใช้ประดับต้นปาง ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องบรรณาการ สำหรับผีที่ดีที่มาช่วยรักษาคนป่วยเมื่อคนป่วยหายป่วยแล้ว จะจัดพิธี แซปางขึ้น เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของผี และทำให้หมอมด หมอมนต์ มีเวทมนต์คาถาที่ขลังขึ้นด้วย (สาธิตการทำตุ้มนกตุ้มหนู พร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานทดลองทำตุ้มนกตุ้มหนู สาธิตพิธีกรรมการซ่อนขวัญ เป็นการทำพิธีเพื่อเรียกขวัญให้กลับสู่เจ้าของ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบาย เพื่อให้อาการป่วยต่างๆ หายไป จะช้อนขวัญด้วยการใช้สวิงเล็กและสวดภาษาหมอมนต์ไทดำ)
✏การทำเครื่องปั้นดินเผา จากกลุ่มโฮมสเตย์บ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ภาชนะด่านเกวียน มีคุณภาพพิเศษที่มีความคงทนต่อการใช้งาน เป็นที่นิยมชมชอบของผู้คนจนได้รับการเผยแพร่ มากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่ง ได้รับความสนใจยิ่ง จนกลายเป็นสินค้าหนึ่งในการค้าขายกันในยุคอดีตจวบจนปัจจุบันลักษณะเฉพาะของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนนั้นอยู่ที่ดินที่นำมาใช้ กล่าวคือดินด่านเกวียนเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดที่ขุดขึ้นมาจากริมฝั่งแม่น้ำมูล เป็นดินซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ ง่ายต่อการขึ้นรูป ทนทานต่อการเผา ไม่บิดเบี้ยวหรือแตกหักง่าย และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือดินนี้เมื่อถูกเผาจะให้สีโดยธรรมชาติเป็นสีแดง (สาธิตการขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผา พร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานทดลองปั้นดินเผา)
✏การทำพิณ แคน โหวด จากชุมชนบ้านท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานอาทิ พิณ,แคน,โหวด,โปงลาง,กลองอีสาน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ศูนย์ศิลปชีพและวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ ชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียงของชาวหมู่บ้านท่าเรือ (สาธิตการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านพิณ แคน โหวด โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถร่วมทดลองทำเครื่องดนตรีได้)
✏การเขียนลาย “ไห” มรดกโลก จากชุมชนบ้านเชียง อ.บ้านเชียง จ.อุดรธานี กลุ่มปั้นหม้อดินเผาและการจักสานโคมไฟ “ไห” มรดกโลกบ้านเชียงมีความคิดโดยเอาลวดลายจากเครื่องปั้นดินเผาอันเก่าแก่ ที่ได้จากการขุดค้นวัตถุโบราณ 5600 ปีมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนา สร้างสรรค์ ต่อยอด เป็นมูลค่าเพิ่มเขียนลงไปในเครื่องปั้นดินเผา (สาธิตการเขียนลาย “ไห” มรดกโลก พร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานทดลองเขียนลายลงบนไหหรือหม้อขนาดเล็ก)
✏การสานไม้ไผ่โคมไฟ “ไห” มรดกโลก จากชุมชนบ้านเชียง อ.บ้านเชียง จ.อุดรธานี การนำไม้ไผ่มาสานเป็นโคมไฟโดยใช้รูปทรง “ไห” มรดกโลก มาเป็นต้นแบบและในปัจจุบันได้ผลิตเป็นของที่ระลึกจำหน่ายสร้างรายได้ให้ชุมชน ซึ่งลวดลายดังกล่าวมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย (สาธิตการการสานไม้ไผ่โคมไฟ “ไห” มรดกโลก ให้ผู้เข้าร่วมงานสานไม้ไผ่)
✏การเขียนหน้ากากผีตาโขน “งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย” ช่วงเดือน มิถุนายน – กรกฎาคมของทุกปี “ผีตาโขน” เป็นประเพณีการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งได้ยึดถือสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลเทศกาลงานบุญผีตาโขนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ“งานบุญหลวง” ซึ่งถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่นหน้ากากผีตาโขนในสมัยนี้มีความสวยสดงดงามละเอียดและประณีตขึ้นจากเดิมหวดที่ใช้ครอบศีรษะจะใช้หวดใหม่ ส่วนใบหน้ากากผีตาโขนมี ความยาวขึ้น รวมทั้งจมูกที่โค้งงอคล้ายงวงช้าง สีที่ใช้จะมีทั้งสีน้ำพลาสติก สีน้ำมันซึ่งให้ความมันวาวและคงทนด้านความสัมพันธ์ของหน้ากากผีตาโขนกับวิถีชุมชนอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย พบว่าหน้ากากผีตาโขนจะมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะมีความเชื่อว่าการจัดทำหน้ากากผีตาโขนเข้าร่วมแสดงในงานของทุกปีเมื่อเสร็จแล้วจะเป็นการปล่อยผีสาง และยังปล่อยทุกข์โศกให้ไหลไปตามแม่น้ำด้วย
✏การเขียนหน้าหน้ากากผีขนน้ำ จากชุมชนบ้านนาซ่าว อ.เชียงคาน “ประเพณีผีขนน้ำบ้านนาซ่าว จ.เลย” มีการช่วงหลัง วันวิสาขบูชา แรม 1-3 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี (เดือนพฤษภาคม) ของทุกปี “ผีขนน้ำ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวนาซ่าว ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แต่ชาวบ้านก็เล่นสืบมาเป็นประเพณีเช่นที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติมาทุกปี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคงนับถือผีบรรพบุรุษ ผีปูย่าเท่านั้น เป็นประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่แรก (สาธิตการเขียนหน้ากากผีตาโขนและผีขนน้ำ พร้อมให้ผู้ร่วมงานทดลองเขียนหน้ากาก)
✏การทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง จากกลุ่มจันทร์โสมา อ.เมือง จ.สุรินทร์ กลุ่มจันทร์โสมา เป็นกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณผสมผสานเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นบ้าน โดยมีอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำ รู้จักกันดีในนาม “หมู่บ้านทอผ้าเอเปก” ความพิเศษโดดเด่นของผ้าไหมยกทองกลุ่มจันทร์โสมา คือ การเลือกเส้นไหมที่เล็กและบางเบามาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้ม แล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสี คือ สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแล และ สีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทองหรือไหมเงินที่ทำจากทองแท้และเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็ก ๆ ปั่นควบกับเส้นด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนมากกว่าร้อยตะกอ ใช้คนทอ 4-5 คน บวกกับความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตร เท่านั้น (สาธิตการทอผ้าไหมยกทองโบราณ พร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานทดลองทอผ้า)
4. เสน่ห์วิถี ประเพณีล้ำเลิศ : จัดแสดง “101 ธุงผะเหวดเมืองสาเกตุนคร” การจัดแสดง “ธุง” หรือ ธงผะเหวด งานหัตถศิลป์ แห่งศรัทธา จากเมืองร้อยเอ็ด ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในงานบุญผะเหวด และนำเสนอวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสานให้นักท่องเที่ยว ได้ ชม เรียนรู้ ทดลองทำด้วยตนเอง
✥การทอธุงผะเหวด “งานประเพณีบุญผะเหวดเมืองร้อยเอ็ด” จากชุมชนเมืองใหม่ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ธง หรือ ธุง พื้นบ้านอีสานมีที่มาคล้ายคลึงกับการทำตุง ประดับพุทธศาสนสถานในงานพิธีของภาคเหนือ ถือเป็นศิลปหัตถกรรมที่เป็นพุทธบูชา ที่สำคัญของชาวอีสานมักจะทอธุงเพื่อถวายในงานบุญ โดยเฉพาะในงานประเพณีบุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ซึ่งเป็นบุญที่สำคัญในงานฮีต 12 โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ จ.ร้อยเอ็ด มีการจัดงานบุญผะเหวดเป็นงานประจำปีที่สำคัญของจ.ร้อยเอ็ด โดยมีการจัดกิจกรรมประกวดการทอธุงผะเหวด การทอธุงผะเหวดได้จากการนำผ้า กระดาษ หรือวัสดุอื่น เช่น พลาสติก มาตัดเย็บ ประกอบเป็นผืนธงที่มีรูปทรงต่างๆ ตกแต่งลวดลายเป็นรูปสัตว์น้ำ เช่น จระเข้ เต่า ปลา โดยการพิมพ์ เขียนลาย ระบายสี เย็บ ปัก ถัก ทอ หรือตัด ใช้ประกอบกับเสาไม้ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ลำไม้ไผ่ ซึ่ง มีการจัดงานช่วงสัปดาห์แรกของเดือน มีนาคม ของทุกปี(สาธิตการทอธุงผะเหวด พร้อมทั้งให้ผู้เข้าชมงานได้ทดลองทอธุง)
✥การทอผ้าฝ้ายจุลกฐิน “งานปั่นฝ้ายสายบุญจุลกฐิน” จากชุมชนบ้านภู อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร “จุลกฐิน” คือคำเรียกการทอด กฐินที่ต้องทำด้วยการรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่การเก็บฝ้าย ทอเป็นผืนผ้า ตัดเย็บ และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง โบราณจึงถือว่า การทำจุลกฐินมีอานิสงส์มากเพราะต้องใช้ความอุตสาหพยายามกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด (สาธิตอิ้วฝ้าย ปั่นฝ้าย การทำผ้าจุลกฐินพร้อมทั้งให้ผู้เข้าชมงานได้ทดลองทำด้วยตนเอง)
✥การทำกระธูปโบราณ“งานประเพณีบุญกระธูปออกพรรษา” จากชุมชน อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ” ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกระธูปเพื่อนำไปเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในวันออกพรรษา ของทุกปี โดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านสร้างกระธูป โดยทำจากการขยี้เอามาจากกาบมะพร้าวผสมกับใบอ้นและใบเนียมจนร่วงออกมาเป็นผง แล้วพันด้วยกระดาษปอสาและหุ้มอีกทีด้วยกระดาษสีหรือกระดาษแก้วหลากสีสัน ก่อนที่จะนำไปมัดเข้ากับดาวก้านตาล(สานจากใบตาลหรือใบลาน) จากนั้นจึงนำไปมัดห้อยกับก้านธูปที่เป็นเสมือนคันเบ็ด แล้วจึงจะนำเข้าไปเสียบในรูรอบปล้องไม้ไผ่ ทำเป็นชั้นขึ้นไปเหมือนฉัตร ประดับตกแต่งงดงาม มีการจัดงานช่วงเทศกาลออกพรรษา (เดือนกรกฎาคม)ของทุกปี (สาธิตการทำกระธูป พร้อมให้ผู้เข้าชมงานได้ทดลองการทำกระธูป)
✥การร้อยมาลัยข้าวตอก“งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก” จากชุมชนบ้านฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร งานประเพณีแห่มาลัยตำบลฟ้าหยาด จัดในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ของทุกปี จะนำข้าวตอกขาวที่คัดจากข้าวเปลือกที่ดีที่สุดมาร้อยเป็นมาลัย และประดับตกแต่งอย่างงดงามสื่อความหมายแทนดอกมณฑารพที่จะถวายเป็นพุทธบูชาและมีการจัดขบวนแห่มาลัยข้าวตอกไปทอดถวายเป็นพุทธบูชา มีการจัดงานช่วงวันมาฆะบูชา (เดือนกุมภาพันธ์) ของทุกปี (สาธิตการร้อยมาลัยข้าวตอก พร้อมให้ผู้เข้าชมงานได้ทดลองร้อยมาลัยข้าวตอก)
✥การทำมาลัยไม้ไผ่“งานบุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก” จากชุมชนบ้านกุดหว้า จ.กาฬสินธุ์” มาลัยไม้ไผ่” เป็นหัตถกรรมภูมิปัญญาชาวผู้ไทยบ้านกุดหว้า เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในงานบุญพวงมาลัย ที่จัดขึ้นในเดือนเก้า และเดือนสิบ ในช่วงบุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสาก โดยมาลัยไม้ไผ่จะใช้เป็นเครื่องผูกร้อยพืชพรรณธัญญาหารตามฤดูกาล หรือสิ่งของอุปโภคบริโภค พร้อมด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อนำไปประกอบพิธีแห่มาลัยไม้ไผ่รอบโบสถ์ ก่อนจะนำมาแขวนรวมกันเป็นพุ่มขนาดใหญ่เรียกว่าต้นกัลปพฤกษ์แล้วถวายเป็นพุทธบูชา มีการจัดงาน ช่วงแรม 14 ค่ำ เดือน 9 และขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 (สาธิตการทำมาลัยไม้ไผ่ พร้อมให้ผู้เข้าชมงานได้ทดลองทำมาลัยไม้ไผ่)
การแสดงเวทีภาคอีสาน ประกอบด้วย : การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน การแสดงที่หาชมได้ยาก หลากหลายรูปแบบ ทุกวันๆละ 3 รอบ โดยยกโขยงการแสดงพื้นบ้านจาก วนศ.กาฬสินธุ์ 100 คน และการแสดงจากวงพีสะเดิด และพบกับขบวนแห่ที่เป็น Hi light งานประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นของภาคอีสาน เป็นต้น
การแถลงข่าว วิถีอีสานโครงการ กิจกรรม เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2558 ของภาคอีสาน ในวันเสาร์ที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 13.00 น. ณ เวทีการแสดงภาคอีสาน
กิจกรรมการจำลองสาธิตบรรยากาศ “ตลาดนายฮ้อย” ชวนช็อป ผ้าไทยพื้นบ้านอีสานจากโครงการ “รอยไหมใยฝ้าย เสน่ห์อีสาน ผ่านผืนผ้า” หลากหลายรูปแบบของที่ระลึก สินค้า OTOP จากภูมิปัญญาชาวบ้านภาคอีสาน
ภาคตะวันออก มีสโลแกนว่า “สีสันตะวันออก”
แนวคิด : สีสันเมืองแห่งการท่องเที่ยวและบันเทิง ตามสโลแกน “สีสันตะวันออก”
ภาพรวมของหมู่บ้าน :
❖จำลองที่พักสไตล์รีสอร์ท โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก “ปารีฮัท รีสอร์ท” รีสอร์ทสุดโรแมนติกบนเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งสถานที่แห่งนี้เคยเป็นใช้เป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องปืนใหญ่จอมสลัด และฉากละคร เกมร้าย เกมรัก
❖จำลองแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ของพัทยา MIMOZA PATTAYA ภายใต้แนวคิด “The City of Love” ที่มีกลิ่นอายสถาปัตยกรรมเมืองโบราณของฝรั่งเศส โดดเด่นด้วยสีสันสดใส บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวในเมืองพัทยา
❖พบกับ Art in Paradise แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของพัทยา โดยการนำเสนอภาพจำลอง 3 มิติที่รังสรรค์ผ่านศิลปินชาวเกาหลี เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรมถ่ายภาพ เสมือนไปยังสถานที่จริง
❖ Teddy Bear Museum พิพิธภัณฑ์หมีเทดดี้แห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในงานจะยกน้องหมีเท็ดดี้มาให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพและสัมผัสความน่ารักของเหล่าหมีเท็ดดี้ได้อย่างเต็มที่
❖พิพิธภัณฑ์ศิลปในขวดแก้วพัทยา พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเดียวในโลกที่จัดแสดงผลงานศิลปะที่มีการจำลองสถานที่สำคัญๆ ตลอดจนสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของโลกไว้ในขวดแก้วใสหลายรูปทรง หลายขนาด แต่ละขวดบ่งบอกถึงเรื่องราวในอดีต ประเพณีวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ สถาปัตยกรรมอันงดงามทรงคุณค่าของแต่ละชุมชนแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
การแสดงเวทีภาคตะวันออก ประกอบด้วย :
❖พบกับการแสดงจากวงดนตรีทหารเรือ มินิคอนเสิร์ตจากก้อง สหรัถ สังคปรีชา และสินเจริญบราเธอร์ ชมและชิมการสาธิตทำอาหารจากเมนูผลไม้โดยอาจารย์ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ พร้อมชมโชว์สุดอลังการจากอัลคาซ่าร์ และมิโมซ่า พัทยา
กิจกรรมการจำลองสาธิตบรรยากาศตลาด และแนะนำอาหารและของฝาก(OTOP) อาทิเช่น
❖พบกับซุ้มกิจกรรมสาธิต อาทิ ผลิตภัณฑ์และการนวดแผนไทยจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร การทอเสื่อจันทบูรและผลิตภัณฑ์แปรรูปต้นกก จากกลุ่มทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี การสาธิตข้าวห่อกาบหมากและสบู่มังคุด กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศห้วยแร้ง และการสาธิตยาดมจากสมุนไพรนิเวศพิพิธภัณฑ์บ้านช้างทูน จังหวัดตราด
❖สินค้า OTOP ของภาคตะวันออกได้ยกตลาดหนองมน ตลาดบ้านเพ ซึ่งเป็นตลาดของฝากสินค้าอาหารทะเลแห้งที่เป็นที่รู้จัก และผลไม้ที่ขึ้นชื่อของภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นสละ สับปะรดศรีราชา ผลไม้ แปรรูป มาให้นักท่องเที่ยวได้ชิมได้ช้อปกันแบบไม่อั้น
ภาคใต้ มีสโลแกนว่า “ป่าสวยทะเลใส หลากหลายวัฒนธรรม”
แนวคิด : ภาคใต้เป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะและท้องทะเลที่สวยงาม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยด้วยผืนป่าดิบ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสรรพชีวิตนานาชนิด นอกจากนั้นยังมีศิลปวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และวิถีชีวิตของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างลงตัว ดังนั้นหมู่บ้านภาคใต้ได้นำเอกลักษณ์เด่นของแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม ประเพณี วิถีชีวิต อาหาร และผลิตภัณฑ์ของภาคใต้มาจัดแสดงและนำเสนอให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้ชม ชิม และเรียนรู้ ตามสโลแกนที่ว่า “ป่าสวย ทะเลใส หลากหลายวัฒนธรรม”
ภาพรวมของหมู่บ้าน : ได้จำลอง Landmark
1. เรือนปั้นหยา บ้านเรือนพื้นถิ่นภาคใต้ อันเป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม ทรงคุณค่าและมีความหมายของชาวปักษ์ใต้ เกิดจากการเรียนรู้สภาพแวดล้อม และการปะทะสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมจากแหล่งต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจนเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมากมาย โดดเด่นของภาคใต้
2. เทศกาลโคมไฟสีสันเมืองใต้เป็นเทศกาลที่จัดต่อเนื่องมาหลายปี ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จนเป็นที่รู้จักและเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และเป็นชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยการนำเสนอโคมไฟสีสันรูปแบบแปลกตา ขนาดใหญ่และสวยงามตระการตา
3. ประเพณีชักพระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเพณีลากพระหรือชักพระ เป็นประเพณีของชาวภาคใต้ที่ปฏิบัติมา ตั้งแต่โบราณ กำหนดจัดขึ้นในช่วงเทศกาลวันออกพรรษา เป็นเวลารวม 9 วัน 9 คืนโดยกว่าหนึ่งเดือน ก่อนถึงวันออกพรรษา ทางวัดและชาวบ้านในชุมชนต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะช่วยกันจัดเตรียมรถพนมพระและเรือพนมพระ นำมาประดับตกแต่งลวดลายอย่างประณีตงดงาม ตามจินตนาการบวกกับความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นรูปสัตว์ในวรรณคดีบ้างเป็นพญานาค หงส์ พญาครุฑ บ้างก็เป็นรูปหนุมานนัยว่าเป็นราชพาหนะของพระพุทธเจ้า
4. ประเพณีการแห่ผ้าพระบฏ (แห่ผ้าขึ้นธาตุ) พระบฏ หมายถึง ผืนผ้าที่เขียนภาพพระพุทธเจ้า พุทธประวัติ หรือทศชาติชาดก ตลอดจนข้อคติธรรมคำสอน สำหรับห้อยแขวนเป็นพุทธบูชา มีขนาดแตกต่างตามคติและความนิยม เพื่อการสักการะ ประดับ ตกแต่งและประกอบการถ่ายทอดสอนสั่ง เผยแผ่พระศาสนา จนกระทั่งเป็นการสืบทอดและอุทิศส่วนกุศล สร้างผลบุญ โดยภายในงาน สร้างการมีส่วนร่วมโดยเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมงาน เขียนคำอธิษฐาน สิ่งดีๆลงบนผืนผ้าบฏ เพื่อนำไปร่วมในขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมื่อเสร็จสิ้นงาน
การแสดงเวทีภาคภาคใต้ : การแสดงทางวัฒนธรรม บนเวทีอาทิ ชุดเงามรดกแห่งภูมิปัญญาวิถีใต้ ชุดกว่าจะมาเป็นหนังตะลุง ชุดนาฏตะลุงหลุง ชุดระบำจินตปาตีการแสดงที่เข้าประกวดรายการคนไทยขั้นเทพ ชุดร้อยเรียงร้องรำวัฒนธรรมพื้นเมือง ว่ากลอนโนราเพลงบอก การแสดงวัฒนธรรมเทิดพระเกียรติ ละครเพลงลูกทุ่ง The Musical และวงดนตรีลูกทุ่งภาคใต้ชิงช้าสวรรค์
กิจกรรมจำลองสาธิตบรรยากาศตลาด : มีการนำสินค้าพื้นเมืองต่างๆ มาสาธิต ได้แก่ สาธิตการสานผลิตภัณฑ์จากก้านจากชุมชนปากกัดตีนถีบ จังหวัดตรัง เรือหัวโทงชาวมอแกนจำลอง พังงา สาธิตการจักสานย่านลิเภาและตอกเครื่องถม จังหวัดนครศรีธรรมราช สาธิตการทำผ้าบาติก จังหวัดกระบี่ ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว สมุย การสานผลิตภัณฑ์จากกระจูด จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น และ High Light ของปีนี้คือการนำกี่ทอผ้ามาจาก อ.พุมเรียง จ.สุราษฎร์ธานี มาสาธิตการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ให้ผู้ที่สนใจเข้าชมงานได้ชม
แนะนำอาหาร และของฝาก (OTOP) : ร้านอาหารพื้นเมืองและสินค้า OTOP เด่นๆ จาก 14 จังหวัดภาคใต้มาออกร้านขายและแสดงกรรมวิธีการทำให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้ชม อาทิ ลูกชกและส้มตำสาหร่ายเม็ดพริกไทยจากพังงา หมูย่างและขนมเปี๊ยะเมืองตรัง ซาลาเปาทับหลีระนอง กาแฟขี้ชะมดชุมพร ขนมพื้นเมืองภูเก็ต ข้าวยำสูตรสงขลาน้ำพริกหอยนางรมและอาหารทะเลสดๆ จากสุราษฎร์ธานี ไก่กอแฆะ แกงมัสมั่นแพะ นาซิดาแค ลูกหยี จากนราธิวาส ปัตตานีและยะลา เป็นต้น
B. กิจกรรมนิทรรศการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย
นิทรรศการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 55 ปี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในยุคของ Modern Marketing นิทรรศการอดีตสู่ปัจจุบันท่องเที่ยวไทย กิจกรรมพิเศษปีการท่องเที่ยววิถีไทย 2558 ภาพสะท้อนองค์กรแห่งความภาคภูมิใจ / สารสนเทศเทคโนโลยี (IT) / 1672 เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย /อนุสาร อสท. / TAT SHOP / โซน 12 เมืองต้องห้ามพลาด / โซน Dream Destination ฯลฯ
C. กิจกรรมบันเทิงเวทีกลาง ขบวนแห่วิถีไทย 5 ภูมิภาคท่องเที่ยว โดย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย + การแสดงร่วมสมัย และขบวนแห่นักแสดงจาก 5 ภูมิภาคท่องเที่ยว ประกอบด้วย
เวทีกลาง : ภายใต้แนวคิด “ความสุขวิถีไทยยกมาไว้กลางสวนลุม”ประกอบด้วย การแสดงทางวัฒนธรรม ผสมผสานกับการแสดงร่วมสมัยจาก ศิลปินดารา นักร้อง และ การแสดงเด่น ๆ ที่มีชื่อเสียง อาทิ
วันพุธที่ 14 มกราคม 2558 : การแสดงวงดนตรี CU BAND , การละเล่นเด็กไทยหัวโตกลองยาว , การแสดงดนตรีศิลปินรับเชิญ ฮั่น The Star 8 (ฮั่น อิสริยะ) , วงดนตรีลูกทุ่งแชมป์ชิงช้าสวรรค์ โรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ฯ, คอนเสิร์ต ป๊อด ธนชัย
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558 : การแสดงวง SL MUSIC Thailand’s got talent , การแสดงดนตรีคนรุ่นใหม่ 4 ผู้บ่าวห่าวด๊งด๊ง , การแสดงดนตรีศิลปินรับเชิญ ตู่ นันทิดา แก้วบัวสาย , ติ๊ก ชีโร่ , รำวงย้อนยุค/สาวรำวง อ๊อด โฟร์เอส
วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 : การแสดงหุ่นละครเล็ก คลองบางหลวง , คอนเสิร์ต คาราบาว (วงใหญ่) , การแสดงดนตรีศิลปินรับเชิญ หญิงลี ศรีจุมพล , บอย ปกรณ์ , คอนเสิร์ตเพลงอมตะวงสุนทราภรณ์(วงใหญ่)
วันเสาร์ที่ 17 มกราคม 2558 : การแสดงหมากรุกคน , การแสดงภาคเรือยาว , การแสดงกระบี่กระบอง , การแสดงตะกร้อลอดห่วง , การแสดงวงโปงลางดอกอ้อ , การแสดงจำอวดหน้าม่าน , การแสดงศิลปินรับเชิญ อ๋อม อรรคพันธ์ , ริท เรืองฤทธิ์ , วงดนตรีลูกทุ่งแชมป์ชิงช้าสวรรค์โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี
วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม 2558 : การแสดงวงฟุตบาททรีโอ , การแสดง Babymime , การแสดง Magic Show , การแสดงรวมพลคนสวนลุมเต้นแอโรบิค , การแสดงโขน(ชุดใหญ่) นำโดย อ.ประสาท ทองอร่าม(ครูมืด) , การแสดงศิลปินรับเชิญเจมส์มาร์ , การแสดงยายแหวว ตีสิบ , การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งตั๊กแตน ชลดา
ขบวนแห่วิถีไทยทุกวัน เวลา 16.00 น.(บริเวณในสวนลุมพินี) : ภายใต้แนวคิด ท่องเที่ยววิถีไทย จาก 5 ภูมิภาคท่องเที่ยว
D.กิจกรรมพิเศษย้อนยุค 90 ปี สวนลุมพินี และ การออกร้านของดี ของเด่น ของดังจาก 50 เขต กรุงเทพมหานคร
E.กิจกรรมการร่วมออกบู๊ธนิทรรศการของ หน่วยงานจังหวัดพันธมิตร 12 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่, สุโขทัย, สุราษฎร์ธานี, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ฉะเชิงเทรา, อุดรธานี , สตูล – ตรัง -ยะลา – ปัตตานี - นราธิวาส
นอกจากนี้ กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ชมงาน :- ผู้ร่วมชมงานสามารถรับหนังสือเดินทาง “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย ประจำปี 2558” (5,000 เล่มต่อวัน) รวม 15,000 เล่ม เพื่อร่วมกิจกรรมประทับตราท่องเที่ยวตามจุดต่าง ๆ ทั่วบริเวณงาน เพื่อแลกรับของที่ระลึกที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษในงานนี้โดยเฉพาะ
ติดตามรายละเอียดข้อมูล 1672 เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย หรือ www.tourismthailand.org