- Details
- Category: ท่องเที่ยว
- Published: Thursday, 08 January 2015 22:03
- Hits: 2616
มอบนวัตกรรมระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ห่างไกล
ในสภาวะที่ความเจริญทางด้านสังคมและการศึกษาเริ่มแผ่ขยายวงกว้างออกไปความต้องการพลังงานไฟฟ้าและแสงสว่างและคุณภาพชีวิตที่ดีมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้แต่ในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ ป่าเขา และเกาะต่างๆ การปักเสาพาดสายเพื่อนำไฟฟ้าเข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวอาจติดขัดปัญหาหลายประการ ด้วยสาเหตุจากความไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในการติดตั้งระบบสายส่งกำลัง ไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนเล็กน้อยเป็นระยะทางไกลๆ หรือด้วยสาเหตุจากความไม่เหมาะสมเนื่องจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่เป็นเกาะ ภูเขาสูง ซึ่งถ้ามีการปักเสาพาดสายเข้าไป ต้องคำนึงถึงผลเสียหายต่าง ๆ เช่นปัญหา การตัดต้นไม้ ปัญหาสัตว์ป่าทำลายสายไฟจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อสายส่งและชีวิตสัตว์ป่าเอง ปัญหาการทำลายสภาพแวดล้อม เป็นปัญหาดังกล่าวมักเกิดขึ้นกับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเสมอ โดยเฉพาะตำแหน่งที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ต่างๆ อยู่ในพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่กระสา อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าห่างไกล จึงไม่มีความไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์และความไม่เหมาะสมจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในการติดตั้งระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว
WWF ประเทศไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น และมองเห็นถึงความสำคัญที่จะส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้สำหรับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่กระสา อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะทำการติดตั้งสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยพลังงานสะอาดแบบเคลื่อนย้ายได้ในพื้นที่ เพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในกิจการของอุทยานฯ ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นการลดการใช้น้ำมันดีเซล และเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อเป็นโครงการนำร่องในการนำระบบพลังงานสะอาดที่เหมาะสมกับพื้นที่มาใช้ผลิตพลังงาน ซึ่งสามารถนำไปขยายผลในพื้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติอื่น ๆ ได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศสู่อุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) ของกรมอุทยานฯ ทั้งในเชิงอนุรักษ์และในเชิงเศรษฐกิจที่ต้องรักษาสภาพแวดล้อมที่สวยงามและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ และเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติอย่างถูกวิธี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปในอนาคต
ซึ่งในขณะนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้สร้างระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้แล้ว ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศของไทย โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล จึงใครขอเรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่านเข้าร่วมทำข่าวและเป็นสักขีพยานในการส่งมอบเครื่องผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้แล้ว ในวันที่ 13 มกราคม 2558 นี้ ณ ห้องประชุมสโรชา ชั้น 2 อาคารวิจัยพัฒนาโรงงานต้นแบบบางขุนเทียน กทม.