WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa2Aไทยพร้อม

ไทยพร้อมร่วมมือกับเพื่อนประเทศสมาชิกอย่างเต็มที่เพื่อให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียนประสบผลสำเร็จ และเพื่อความแข็งแกร่งของประชาคมอาเซียนในระยะยาว

การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 24 (The 24th Meeting of ASEAN Tourism Ministers)

             ที่ห้องประชุม​ ชั้น​ 2​ กระทรวงการ​ท่องเที่ยว​และ​กีฬา​ นาย​พิพัฒน์​ รัช​กิจประการ​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​การ​ท่องเที่ยว​และ​กีฬา​ เป็นหัวหน้าผู้แทนประเทศไทย​ พร้อมด้วย​ นาย​โชติ​ ตราชู​ ปลัด​กระทรวง​การ​ท่องเที่ยว​และ​กีฬา​ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 24 (The 24th Meeting of ASEAN Tourism Ministers)​ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมี​ นายทอง​ คูน (Thong Khon ) รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา เป็นประธา​น​การประชุม​

            รมต.พิพัฒน์​ กล่าว​ว่า​ ผมขอแสดงความยินดีและขอบคุณประเทศกัมพูชาที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านการประชุมทางไกลได้อย่างดีเยี่ยม ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างยากลำบากในขณะนี้และขอขอบคุณเลขาธิการอาเซียนและทีมงานสำหรับการประสานงานและดำเนินงานให้กับอาเซียนตลอดปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายที่เราต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในภูมิภาคของเราและทั่วโลก แต่ผมเชื่อว่าอาเซียนจะผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ก็ด้วยความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

            ประเทศไทยยินดี ให้การรับรองรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้าน การท่องเที่ยวอาเซียน แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน ฉบับปรับปรุง ATSP 2016-2025 และข้อมูลการลงทุนด้านการท่องเที่ยวในอาเซียนซึ่งจัดทำโดยฟิลิปปินส์ (ASEAN Tourism Investment Portfolio) ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการทบทวนถึงวาระของแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2564-2568 เพื่อให้แผนงานมีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้ง แผนดังกล่าว ยังจัดลำดับและให้ความสำคัญกับกิจกรรมและโครงการที่มุ่งจะฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคหลัง สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับเพื่อนประเทศสมาชิกอย่างเต็มที่เพื่อให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียนประสบผลสำเร็จ และเพื่อความแข็งแกร่งของประชาคมอาเซียนในระยะยาว

     จากวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบในวงกว้างมากที่สุด ทำให้ ประเทศไทยได้ทบทวนว่าที่ผ่านมา เราได้ใช้ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพสร้าง การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลของการพัฒนาดังกล่าวต้องแลกด้วยความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดของเหลือทิ้งที่สร้างมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสุขภาพ จึงต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาอยู่ในลักษณะ “ทำมากได้น้อย” เนื่องจากไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรได้เต็ม ศักยภาพ เกิดการพัฒนาแบบกระจุกตัว และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

        ทำให้วันนี้ ไทย ได้พัฒนา โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า 'BCG' หรือ Bio-Circular-Green Economy เศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อยอดจากจุดแข็ง ของประเทศไทย คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นการ เชื่อมโยงหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) จากฐานความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรมกิจกรรมหลักภายใต้โมเดล เศรษฐกิจ BCG

      ประกอบด้วย (1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา เพิ่มพูนทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม (2) บริหารจัดการ การใช้ประโยชน์และบริโภค อย่างยั่งยืน (3) ลดและใช้ประโยชน์ของทิ้งจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ (4) สร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดห่วงโซ่มูลค่าตั้งแต่ภาคเกษตรที่เป็นต้นน้ำ จนถึงภาคการผลิตและบริการ และ (5) สร้างภูมิคุ้มกัน พึ่งพาตนเอง​ และเพิ่มสมรรถนะในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทุกท่านครับ ถึงเวลาแล้วที่การท่องเที่ยวของอาเซียนเราต้องเริ่มต้นใหม่กับ'รูปแบบใหม่' และ 'วิถีใหม่ เหมือนเป็นการเซ็ตซีโร่เพื่อการท่องเที่ยวที่ดีกว่าเดิม

     และในโอกาสนี้ ผมอยากจะเน้นย้ำถ้อยแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ในการประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 37 ที่แสดงเจตนารมณ์ของประเทศไทยที่มีต่อเพื่อนสมาชิกอาเซียน ในการรับมือกับการแพร่ระบาดและผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญและเร่งด่วน ที่อาเซียนต้องร่วมมือกัน โดยมีประเด็นสำคัญ 4 ประการ ดังนี้​

            1.เราต้องร่วมเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง ความมั่นคงและการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน และทำให้วัคซีนโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะ ที่ประชาชนอาเซียนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมในราคาที่สมเหตุสมผล

            2.อาเซียนควรส่งเสริมแนวทางการฟื้นฟูและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 แบบบูรณาการ เพื่อให้ภูมิภาคนี้ฟื้นตัวและสามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบ New Normal ได้อย่างเต็มที่ และจากการที่ผู้นำอาเซียนได้รับรองกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน และสนับสนุนการนำกรอบการฟื้นฟูนี้ไปปฏิบัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

            3.อาเซียนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ และเตรียมความพร้อมในระยะยาวเพื่อให้สามารถยืนหยัดและต้านทานต่อความท้าทายใหม่ ๆ โดยสร้างความเข้มแข็งจากฐานรากผ่านการบูรณาการความร่วมมือในระดับภูมิภาค สนับสนุนประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

            4.อาเซียนต้องร่วมมือในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดและการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19

  สุดท้ายนี้ ผมขอแสดงความยินดีกับกัมพูชาอีกครั้ง ที่ประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่ประธาน อาเซียนด้านการท่องเที่ยวในปีนี้ นอกจากนี้ ผมและประเทศไทยพร้อมสนับสนุนให้กัมพูชาขยายวาระการเป็นประธานอาเซียนด้านการท่องเที่ยวในปีหน้าอย่างเต็มที่ เพื่อร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันต่อความท้าทายต่าง ๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!