- Details
- Category: กีฬา
- Published: Sunday, 22 May 2016 21:01
- Hits: 5162
เล่นกีฬาให้รุ่ง ต้องเป็นต่อด้วยการควบคุมจิตใจสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูแชร์เคล็ดลับปั้นเยาวชนสู่ทีมชาติไทยและการแข่งขันระดับโลก
ปัจจุบัน กีฬาได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้น นอกจากประเด็นเรื่องสุขภาพแล้ว นักกีฬาที่สามารถไปคว้าชัยชนะมาได้ยังเป็นไอดอล และเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหลายๆ คนด้วย ซึ่งทักษะความสามารถของนักกีฬาที่เราเห็นกันนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวที่ควรค่าแก่การชื่นชม เพราะอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือความสามารถในการควบคุมจิตใจที่สร้างความแตกต่างระหว่างแชมเปี้ยนและนักกีฬาทั่วไป และนั่นคือสาเหตุที่โค้ชระดับโลกให้ความสำคัญกับการฝึกจิตวิทยาการกีฬาควบคู่กับการฝึกฝนทักษะทางกีฬาและการดูแลความสมบูรณ์ทางร่างกายไปพร้อมกัน
หลักการเดียวกันนี้ได้ถูกนำมาถ่ายทอดให้แก่นักกีฬาเยาวชนของสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูจำนวนกว่า 30 คน ที่เข้าร่วมฝึกซ้อมในกิจกรรมค่าย ‘ติวเพิ่ม เติมพลัง‘ครั้งที่ 4 ของสโมสรฯ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ด้วยการสนับสนุนจาก บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานแห่งเอเชียที่มุ่งมั่นพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพแก่นักกีฬาเยาวชน ให้สามารถเข้าร่วมการแข่งขันในระดับประเทศและต่างประเทศอย่างมืออาชีพ ซึ่งความพิเศษของกิจกรรมในปีนี้คือการเวิร์คช็อป จิตวิทยาการกีฬา นำโดยวิทยากรรับเชิญ ดร.วรรณี เจิมสุรวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาเป็นผู้ให้ความรู้และนำการฝึกปฏิบัติ
ดร.วรรณี กล่าวว่า “ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของนักกีฬาในการแข่งขันแต่ละครั้ง คือความวิตกกังวล ดังนั้นจิตวิทยาการกีฬาจึงเป็นศาสตร์ของการระงับความกลัวด้วยการบริหารจัดการกับจิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมในการเล่นกีฬาที่สามารถปรับใช้ได้ทั่วโลกกับกีฬาทุกชนิดและนักกีฬาทุกช่วงอายุ โดยนักกีฬาที่สามารถฝึกควบคุมจิตใจได้ตั้งแต่อายุยังน้อยถือเป็นข้อได้เปรียบ ดังนั้นยิ่งได้รับการฝึกฝนด้านจิตวิทยาเร็วเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลดีมากขึ้นเท่านั้น งานวิจัยมากมายได้พิสูจน์มาแล้วว่าจิตวิทยาการกีฬาช่วยส่งเสริมให้นักกีฬาแสดงฝีมือและจัดการกับอารมณ์ระหว่างการแข่งขันได้ดีขึ้น ทั้งนี้ การควบคุมสภาพจิตใจเพื่อให้เกิดความชำนาญนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จึงต้องใช้เวลาหลายปีเช่นเดียวกับการฝึกซ้อมทักษะด้านกีฬา และการเตรียมพร้อมด้านร่างกาย”
เทคนิคการฝึกฝนจิตใจให้แข็งแกร่งแบบนักกีฬา ควรเริ่มจาก การสร้างจินตภาพ คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในแต่ละแมทช์ ด้วยการฝึกใช้จินตนาการจำลองสถานการณ์ระหว่างการแข่งขันอย่างสม่ำเสมอ โดยคำนึงถึงความรู้สึกที่น่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง ถือเป็นการฝึกให้สมองเคยชินกับอารมณ์ที่จะเกิดขึ้น อันจะนำไปสู่ความสามารถในการระงับอารมณ์ให้สามารถกลับไปให้ความสนใจกับการแข่งขันได้โดยอัตโนมัติในสถานการณ์จริง จากนั้น ฝึกพูดให้กำลังใจและชื่นชมตนเอง ไม่ว่าผลจะแพ้หรือชนะหรือเมื่อเจอคู่ต่อสู้ที่เก่งกว่า เพราะกำลังใจจะส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งขัน อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ได้ผลที่สุดก็คือ การตั้งเป้าหมายและทบทวนเป้าหมายของตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยจดใส่กระดาษหรือเขียนไว้ในที่ที่เห็นได้ตลอดเวลา เพื่อเตือนตัวเองว่าเราจะฝึกซ้อมต่อไปและไม่ยอมแพ้ ทั้งนี้ควรฝึกทำสมาธิและพักสมองทุกวัน ควบคู่ไปด้วยเพื่อฝึกสติ คลายความกังวล โดยไม่คิดถึงผลลัพธ์ของการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น ข้อผิดพลาดในอดีต หรืออาการบาดเจ็บทางร่างกาย เป็นต้น
นางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู กล่าวว่า “กิจกรรมต่างๆ ที่เราจัดให้แก่สมาชิกในสโมสรฯ ล้วนมีเป้าหมายอย่างเดียวกันคือส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้ทั้งจากผู้รู้และเรียนด้วยตนเอง ผ่านทั้งทฤษฎี ปฏิบัติ และลองผิดลองถูก เพราะเราเชื่อว่า พลังความรู้ คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ถือเป็นหัวใจสำคัญในโครงการด้านซีเอสอาร์ของบ้านปูฯ ทุกโครงการ นอกเหนือจากการเสริมสร้างศักยภาพด้านทักษะการเล่นเทเบิลเทนนิสและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องแล้ว สำหรับค่ายในปีนี้ เราเพิ่มเรื่องของจิตวิทยาเข้ามา เพื่อพัฒนาเนื้อหาการฝึกฝนให้รอบด้านมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์แก่นักกีฬาในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแล้ว ยังเป็นทักษะสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน การทำงานหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวของพวกเขาด้วยเช่นเดียวกัน”
ในปีนี้ สโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูยังมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นสมาชิกถึง 7 คน สร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น และประสบความสำเร็จก้าวสำคัญของการเป็นนักกีฬา ด้วยการได้รับคัดเลือกเข้าร่วมทีมชาติไทย และการแข่งขันระดับโลก ได้แก่
นายศุภกร วัฒนศิริชัยพร หรือมาร์ค นายศมะ บุญญวดี หรือจีโน่ และนายวรท โชติเลอศักดิ์ หรือก้องได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย ชายรุ่น 18 ปี
นายนาวิน เมฆอำพร หรือนาวิน และนายธาม แสงเลิศศิลปชัย หรือตาต้า ได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย ชายรุ่น 15 ปี
นางสาวพรกนก ม่วงหวาน หรือแพรว ได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย หญิงรุ่น 15 ปี
เด็กชายสิทธิศักดิ์ นุชชาติ หรือโอปอ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันเทเบิลเทนนิสในรายการเวิลด์โฮปส์ (ITTF World Hopes) รุ่นยุวชน ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 4 มิถุนายนนี้
นาย ศุภกร วัฒนศิริชัยพร หรือ มาร์ค อายุ 18 ปี สมาชิกสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู และเยาวชนทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี เล่าถึงประสบการณ์การฝึกซ้อมว่า “ก่อนหน้านี้ ผมทุ่มเทกับการฝึกฝนทักษะด้านกีฬาและความสมบูรณ์ของร่างกายเป็นอันดับแรก โดยใช้เวลาฝึกซ้อมหลังเลิกเรียนทุกวันประมาณ 5-6 ชั่วโมง แต่ตั้งแต่ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนทีมชาติไทย ผมได้เห็นว่าเมื่อเราขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงขึ้น เราจะต้องเจอกับคนที่เก่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทุกคนอาจมีความสามารถด้านกีฬาพอๆ กัน แต่สิ่งที่จะทำให้เป็นต่อคู่แข่งในระดับเดียวกันก็คือสภาพจิตใจ ในหลายการแข่งขัน ผลมักจะเฉือนกันที่การควบคุมอารมณ์ของนักกีฬา ทุกวันนี้ผมและเพื่อนจากสโมสรฯ บ้านปู อีก 7 คนที่ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนทีมชาติจึงแบ่งเวลาให้กับการฝึกจิตใจและทำสมาธิให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพโดยรวม”
เด็กชายสิทธิศักดิ์ นุชชาติ หรือ โอปอ อายุ 12 ปี สมาชิกสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู และตัวแทนประเทศไทยรุ่นยุวชนในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสในรายการเวิลด์โฮปส์ (ITTF World Hopes) หนึ่งการแข่งขันเทเบิลเทนนิสระดับโลกที่สำคัญ กล่าวถึงความประทับใจจากค่ายว่า “ผมชอบเข้าค่ายของสโมสรฯ บ้านปู เพราะได้ฝึกซ้อมกับเพื่อนและรุ่นพี่ที่มีฝีมือระดับทีมชาติ โดยล่าสุดผมได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยรุ่น 12 ปี ไปแข่งขันเทเบิลเทนนิสในรายการเวิลด์โฮปส์ (ITTF World Hopes) ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 4 มิถุนายนนี้ สิ่งที่ผมกลัวที่สุดในการแข่งทุกครั้งคือกลัวว่าจะแพ้ เพราะที่ผ่านมา ผมชนะมาเกือบทุกรายการ หลังจากเข้าค่ายครั้งนี้ ผมได้เทคนิคใหม่ และจะลองฝึกสภาพจิตใจเพื่อเอาชนะความกลัวและคู่แข่งต่างชาติในการแข่งขันเวิลด์โฮปให้ได้ เพื่อที่วันหนึ่งจะสามารถไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือเป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสที่อายุน้อยที่สุดที่ได้ไปแข่งโอลิมปิก”
###
ภาพประกอบบทความ
ภาพที่ 1
BANPU_189
กิจกรรมค่าย “ติวเพิ่ม เติมพลัง”ครั้งที่ 4 ของสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู
ภาพที่ 2
BANPU_295
นางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
ในฐานะผู้จัดการสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู
ภาพที่ 3
BANPU_310
ดร.วรรณี เจิมสุรวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภาพที่ 4
DSC_1614
นาย ศุภกร วัฒนศิริชัยพร หรือ มาร์ค
สมาชิกสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู และเยาวชนทีมชาติไทย
รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี
ภาพที่ 5
DSC_1639
เด็กชายสิทธิศักดิ์ นุชชาติ หรือ โอปอ
สมาชิกสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู และตัวแทนประเทศไทยรุ่นเด็กในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสในรายการเวิลด์โฮปส์
ภาพที่ 6
DSC_1706
ดาวรุ่งสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปูที่ได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาเยาวชนเทเบิลเทนนิสทีมชาติชุด B และ C
และตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันรายการเวิลด์โฮปส์
ภาพที่ 7-11
BANPU_072BANPU_133 BANPU_123
BANPU_478 BANPU_364
บรรยากาศกิจกรรมภายในค่าย หัวข้อ จิตวิทยาการกีฬา
เกี่ยวกับ บมจ. บ้านปู
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บุกเบิกด้านพลังงานชั้นแนวหน้าของเอเชีย ดำเนินธุรกิจถ่านหิน ธุรกิจไฟฟ้า และพลังงานที่เกี่ยวเนื่องอย่างครบวงจร ใน 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย จีน ออสเตรเลีย ลาว มองโกเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
เกี่ยวกับสโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู
สโมสรเทเบิลเทนนิสบ้านปู หรือ Banpu Table Tennis Club ก่อตั้งขึ้นช่วงต้นปี 2551 เพื่อมุ่งสนับสนุนเยาวชนไทยที่มีพรสวรรค์ด้านกีฬาเทเบิลเทนนิส เป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับองค์กรของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ กับบริษัทย่อยในประเทศจีน คือ Banpu Investment (China) Ltd. หรือ BIC ที่ให้การสนับสนุนกีฬาเทเบิลเทนนิสในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำดึงความเชี่ยวชาญทางด้านกีฬาเทเบิลเทนนิสของชมรมเทเบิลเทนนิสบ้านปูในประเทศจีน มาสู่เยาวชนไทย
“พลังความรู้ คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา”
บ้านปูฯ เชื่อว่า ‘การเรียนรู้‘เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนา ‘คน‘ ซึ่งจะขับเคลื่อนชุมชนและสังคมให้พัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว โครงการซีเอสอาร์ของบ้านปูฯ ในทุกประเทศ จึงมุ่งเน้นสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้กับเยาวชนและชุมชนในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน การฝึกฝนเพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะชีวิต หรือ