WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

294 แพนกาเซยสดอร เวยดนาม 1

ตามไปดูธุรกิจปลาดอรี่ ครบวงจร ของ ซีพี เวียดนาม

     ซีพี เวียดนาม คอปอร์เรชั่น (ซีพีวี) บุกเบิกทำธุรกิจปลาแพนกาเซียส ดอรี่ ครบวงจร เริ่มจากพ่อแม่พันธุ์จนถึงโรงงานแปรรูป หวังผลิตโปรตีนคุณภาพสูงเพื่อการส่งออก ตั้งเป้าปีนี้ 14,000 ตัน

     เวียดนามมีการเลี้ยงและผลิตเนื้อปลาแพนกาเซียส ดอรี่ หรือปลาจา ในภาษาท้องถิ่น ปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีการส่งออกประมาณ 90% โดยเป็นการส่งออกเป็นเนื้อปลาฟิเล่ไม่ต่ำกว่า 600,000 ตันต่อปี ไปยังตลาดหลัก คือ สหรัฐ ยุโรป และประเทศอื่นๆ กว่า 20 ประเทศ ทำให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกปลาชนิดนี้ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก กรมประมงของเวียดนามเองก็คาดการณ์ผลผลิตของปลาชนิดนี้ไว้ที่ 800,000 แสนตัน และจะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2557

     เนื่องจากปลาแพนกาเซียส ดอรี่ เป็นปลาธรรมชาติในลุ่มแม่น้ำโขง ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญของเวียดนาม จึงได้รับการส่งเสริมตามนโยบายของรัฐฯ ซึ่งเวียดนามมีพื้นที่เลี้ยงปลาประเภทนี้ทั้งหมดประมาณ 5,500 เฮกตาร์ หรือประมาณ 34,375 ไร่ โดยพื้นที่เลี้ยงหลักอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงโดยสามารถผลิตเป็นปลา เนื้อป้อนโรงงานต่างๆ ประมาณ 1.4 ล้านตันต่อปี 

     คุณธรรมนูญ จิวิริยะวัฒน์  รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจครบวงจรปลา แพนกาเซียส ดอร์รี่ ของ ซีพีวี กล่าว ว่า บริษัทฯมีการทำการศึกษาข้อมูลทางธุรกิจอย่างละเอียด พบว่า เวียดนามมีความได้เปรียบเรื่องภูมิประเทศค่อนข้างสูง เรื่องแหล่งน้ำจืด  เพราะว่าทางตอนใต้ของเวียดนาม มีแม่โขงเดลต้า  สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง  ซึ่งจะแตกเป็น 9 สาย ก่อนจะลงทะเลที่เวียดนาม ซึ่งมีแหล่งน้ำจืดมหาศาลและสามารถทำฟาร์มปลาชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี

     นอกจากนี้ โปรตีนจากเนื้อปลายังเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารสูง เป็นอาหารสุขภาพ (healthy food) และจะเขามามีบทบาททดแทนปลาทะเล ที่นับวันมีแต่จะลดลงเรื่อยๆ  

     ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ซีพีวี จึงลงทุนทำธุรกิจปลาแพนกาเซียส ดอรี่ ครบวงจรในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์  ลูกพันธุ์  อาหารปลา ฟาร์ม  และโรงงานแปรรูป โดยมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาเป็นอาหารพร้อมรับประทานให้มากขึ้น เช่น ปลาดอร์รี่ผัดฉ่า ปลาดอร์รี่ชุบแป้งทอด  เพื่อรองรับการส่งออกไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก 

     คุณธรรมนูญ กล่าวว่า ปลาฯของบริษัทผ่านมาตรฐานควบคุมการผลิตระดับสากล ทั้งโกลบอลแกป ASC Farm  ตั้งแต่ต้นน้ำคือฟาร์มปลาเลี้ยง  จนสู่กระบวนการผลิตมาตรฐานของ ASC มาตรฐานฮาลาลของอิสลาม 

     คุณนเรศ พรมผิว รองกรรมการผู้จัดการ  ดูแลฟาร์มปลาเนื้อและโรงงานแปรรูปปลา ซีพีวี บอกกับทีมงานว่า ธุรกิจปลาครบวงจรที่เวียดนามประกอบด้วย โรงงานอาหารปลา 3 โรงงานที่จังหวัดด่องนาย, เบ๊นแจและเกิ่นเธอ ด้วยกำลังการผลิตรวม 360,000 ตันต่อปี  ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์ ฟาร์มลูกปลา และฟาร์มปลาเนื้อ 8 ฟาร์ม จำนวน 150 บ่อ กระจายอยู่ทางจังหวัดตอนใต้บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอันอุดมสมบูรณ์ มีกำลังการผลิตรวม 27,000 ตัน โรงงานแปรรูปที่มีกำลังการผลิตปีละกว่า 30,000 ตัน (ปลาเป็น) และมีกำลังการผลิตฟิเลแช่แข็งปีละ 18,000 ตัน  ซึ่งเครื่องจักรในการผลิตของโรงงานเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีจากโรงกุ้งและไก่ เข้าด้วยกันเพื่อให้เหมาะสมกับการผลิตผลิตภัณฑ์จากปลา 

     'การทำฟาร์มปลาครบวงจรของ ซีพี ทำให้สามารถตรวจสอบคุณภาพย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางและสร้างความ มั่นใจในเรื่องอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค' คุณนเรศ ย้ำกับทีมงาน 

      ต่อกรณีที่ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับปลาแพนกาเซียส ดอรี่ ว่าเป็นปลาสวายนั้นคุณสมบัติ สิริพันธ์วราภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์น้ำจืด ซีพีเอฟ กล่าวว่า ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ กับปลาสวาย ถือเป็นปลาสปีชี่เดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ ซึ่งมีบริษัทฯทำการตรวจสอบดีเอ็นเอแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันมาก เมื่อดูประวัติการแพร่พันธุ์ ปลายสวายไทยเป็นปลาแม่น้ำเจ้าพระยา  ส่วนปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ เป็นปลาแม่น้ำโขง 

     ปัจจัยความสำเร็จในการเลี้ยงปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ คือการเลี้ยงในบ่อบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยอาศัยระดับน้ำที่ต่างกันถึง 2 เมตร  จากการขึ้นลงตามธรรมชาติในช่วงเช้าและเย็น  ซึ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้  ที่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำในบ่อเป็นประจำทุกวัน กระแสน้ำที่ไหลเวียนตลอดเวลา ยังทำให้น้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีค่าออกซิเจนสูงขึ้น  เอื้อต่อการเจริญเติบโต และสามารถเลี้ยงแบบหนาแน่นได้  

     ซีพีเวียดนามเป็นผู้นำเทคโนโลยีในการนำเครื่องให้อาหารอัตโนมัติเข้ามา ใช้ในอุตสาหกรรมนี้เป็นครั้งแรก ผลที่ได้นับว่าน่าพอใจ  เพราะการทำงานของเครื่องนี้  จะช่วยเหวี่ยงเม็ดอาหารให้กระจายได้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งบ่อ  ลดการผิดพลาดจากการให้อาหารด้วยแรงงานคน ช่วยให้ปลาทุกตัวได้รับอาหารทั่วถึง ผลผลิตที่ได้จึงมีขนาดใกล้เคียงกันตลอดช่วงการเลี้ยง 200 วัน  ที่สำคัญยังช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก

     ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ จะต้องผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ  เพื่อยืนยันคุณภาพ ก่อนส่งไปจำหน่ายต่อไป  เนื้อปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ มีความนุ่ม ไม่มีกลิ่นคาว จึงเหมาะสำหรับนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายประเภท  อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลก

Bobby 294

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!