- Details
- Category: ข่าวสังคม
- Published: Monday, 04 January 2016 09:02
- Hits: 3650
กุ้งไทยเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม
แม้ว่าในอดีต อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งของไทยจะถูกโจมตีว่าทำลายป่าไม้ชายเลนจำนวนมาก ทั้งที่จริงๆแล้วการลดลงของป่าชายเลนเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การตัดไม้มาทำฟืนและถ่านในเชิงพาณิชย์ การทำเหมืองแร่ในป่าชายเลน การสร้างท่าเรือ-เขื่อน การขยายพื้นที่เมือง และชุมชนอุตสาหกรรม แต่นั่นเป็นเรื่องในอดีต เพราะปัจจุบันกฏเหล็กของภาครัฐที่ออกมาเพื่อปกป้องผืนป่าชายเลน และสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นให้คงอยู่ รวมถึงสำนึกของชุมชน และความร่วมมือจากภาคเอกชน ส่งผลให้ป่าชายเลนของไทยกลับฟื้นคืนสภาพป่าได้ดี ทั้งนี้ เนื่องจากไทยได้นำหลักการปฏิบัติที่ดีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับฟาร์ม เลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งเป็นมาตรฐานแห่งชาติมาใช้ในการรับรองมาตรฐานฟาร์ม โดยคำนึงถึงหลักการต่างๆ เพื่อให้ได้กุ้งทะเลที่มีคุณภาพที่ดี ปลอดภัยต่อการบริโภค มีระบบการเลี้ยงที่คำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานวิจัยร่วมกับ รศ.ดร.อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Dr.Arlo W. Fast จาก Hawaii Institute of Marine Biology พบว่า นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยได้ฟื้นตัวขึ้นมาก ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ทำ กันมาถูกทาง หากพิจารณาจากตัวเลขปี 2539 ที่มีป่าชายเลนอยู่ 1,047,781 ไร่ และปี 2552 ที่มีพื้นที่เพิ่มเป็น 1,525,062 ไร่ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 45.55% ทีเดียว
ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมกุ้งของประเทศไทยก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งของไทย ไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าชายเลน ความพยายามของภาคเอกชนในการลดแรงต้านจากสังคมและประสบความสำเร็จสูงคือ การเลี้ยงกุ้งระบบใหม่ที่ไม่ต้องการพื้นที่ป่าชายเลนอีกต่อไป เพราะพื้นที่ซึ่งเหมาะสมสำหรับระบบใหม่นี้ต้องอยู่หลังแนวป่าชายเลน มีการเติมอากาศลงในน้ำของบ่อเลี้ยงกุ้ง และปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงในบ่อด้วยความหนาแน่นมากกว่าระบบพื้นบ้านดั้งเดิม ทำให้ได้รับผลผลิตกุ้งสูงถึง 800-1,500 กก./ไร่/ปี
การเลี้ยงกุ้งบริเวณพื้นที่หลังแนวป่าชายเลน เป็นระบบการเลี้ยงกุ้งที่ไม่ต้องใช้พื้นที่ป่าชายเลนอีกเลย เพราะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำต่อวันที่รวดเร็ว และการระบายน้ำออกต้องเร็ว พื้นบ่อจึงจำเป็นต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 2 เมตร นอกจากนี้ระบบการเลี้ยงที่มีปริมาณกุ้งต่อพื้นที่ในอัตราความหนาแน่นที่สูง มาก มีการใช้อาหารเสริม เป็นผลให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์บริเวณพื้นบ่อในปริมาณมาก จึงต้องตากบ่อให้แห้งสนิทเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ รวมทั้งต้องจัดสภาพความเป็นด่างให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของกุ้ง พื้นที่ป่าชายเลนจึงไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งระบบใหม่นี้
ดร.วิมล จันทรโรทัย อดีตอธิบดีกรมประมง เคยกล่าวถึงการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำหลักการปฏิบัติที่ดีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ทะเล ซึ่งเป็นมาตรฐานแห่งชาติมาใช้ในการรับรองมาตรฐานฟาร์ม ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมทุกขั้นตอนในการปฏิบัติระดับฟาร์ม รวมถึงการเก็บเกี่ยวและการดูแลหลังการเก็บเกี่ยวก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม โดยคำนึงถึงหลักการต่างๆ เพื่อให้ได้กุ้งทะเลที่มีคุณภาพที่ดี ปลอดภัยต่อการบริโภค มีระบบการเลี้ยงที่คำนึงถึงสุขภาพของสัตว์ การรักษาสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งเป็นหลักการของมาตรฐานสากล อีกทั้ง กุ้งที่ส่งออกไปยังต่างประเทศต้องมาจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน จึงสามารถส่งออกได้
สำหรับการทำฟาร์มกุ้งในประเทศไทย จะต้องจดทะเบียนฟาร์มกับกรมประมงและต้องมีเอกสารสิทธิในที่ดินอย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงไม่สามารถทำฟาร์มกุ้งในเขตป่าชายเลนหรือพื้นที่อนุรักษ์ได้ อีกทั้ง เกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมของไทย โดยจากข้อมูลพบว่า พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลผลิตกุ้งเนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลมี ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งแบบยั่งยืน
ที่ว่าการเลี้ยงกุ้งในป่าชายเลนนั้นไม่เหมาะสม เพราะตามหลักวิชาการพบว่า การเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาในป่าชายเลนเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต เพราะดินในเขตป่าชายเลนมีลักษณะเป็นกรด ทำให้กุ้งทะเลไม่เจริญเติบโต ประกอบกับในบริเวณดังกล่าวยังมีรากไม้ ตอไม้ ส่งผลให้บ่อรั่ว ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ และด้วยเหตุผลสนับสนุนที่ว่าป่าชายเลนยังเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นแนวกันคลื่นลม และสามารถช่วยดูดซับสารอินทรีย์จากการเลี้ยงกุ้งไม่ให้ไปทำลายสิ่งแวดล้อม อื่น ๆ หากป่าชายเลนถูกทำลายก็เท่ากับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ถูกทำลายไปด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่จึงตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลนด้วยการจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนกันอย่างต่อเนื่อง
ด้านความปลอดภัยทางอาหาร ทางกรมประมงมีโปรแกรมเฝ้าระวังและติดตามการตกค้างของยาปฏิชีวนะในฟาร์มกุ้ง ทะเล โดยมีการตรวจติดตามทุกฟาร์มอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ก่อนการส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์กุ้งจำเป็นต้องมีการตรวจสารตกค้าง และยาปฏิชีวนะ เพื่อให้ได้ใบรับรองคุณภาพสัตว์น้ำ ในการยืนยันว่าผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยปลอดภัย ไร้สารตกค้าง กระทั่งเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา จึงไม่พบการตีกลับสินค้าจากสหภาพยุโรปอันเนื่องมาจากพบยาปฏิชีวนะเกินระดับ ที่กำหนดเลย
ในส่วนของบ่อเลี้ยง น้ำที่สูบออกมาจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน จะมีการส่งไปยังบ่อบำบัดเพื่อตกตะกอน และปรับสภาพน้ำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือเป็นการเลี้ยงในระบบปิดน้ำหมุนเวียน เพื่อช่วยในการป้องกันโรคระบาดในกุ้งมายังฟาร์มของตน
‘กุ้งไทย’ เป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลก มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปี กระทั่งปัจจุบัน ประเทศไทยก็ยังครองแชมป์ผู้นำการส่งออกกุ้งเป็นอันดับ 1 ของโลกมายาวนานกว่า 15 ปี สร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลนำกลับเข้ามาพัฒนาประเทศ ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้เกี่ยวข้องรายย่อยตลอดสายการผลิตรวม มากกว่า 1 ล้านคน‘กุ้งไทย’ จึงเป็นพระเอกของประเทศที่ไม่ควรจะปล่อยให้ใครมาใส่ความ ทำลายภาพลักษณ์ ไม่ว่าจะมีจุดประสงค์ใดแอบแฝงก็ตา
Bobby 282