- Details
- Category: ข่าวสังคม
- Published: Tuesday, 05 May 2015 09:35
- Hits: 1246
แอร์บัสเลือก โคเรียน แอร์ แอโรสเปซ ให้เป็นผู้ผลิตปลายปีกชาร์คเลทสำหรับตระกูลเครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ
· ถือเป็นการสานต่อจากประสบการณ์ของ โคเรียน แอร์ แอโรสเปซ ดิวิชั่น ที่ได้ทำการผลิตปลายปีกชาร์คเลทให้กับตระกูลเครื่องบินแอร์บัส เอ320
· มีส่วนช่วยให้เครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ เป็นเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างที่มีความคุ้มค่าทางด้านต้นทุนมากที่สุดในกลุ่มเครื่องบินที่มีขนาดเท่ากัน
โคเรียน แอร์ แอโรสเปซ ดิวิชั่น (Korean Air Aerospace Division: KAL-ASD) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการผลิตเครื่องบินของกลุ่มบริษัท โคเรียน แอร์ กรุ๊ป (Korean Air Group) ได้รับการคัดเลือกโดยบริษัทแอร์บัสให้เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ปลายปีกชาร์คเลท (Sharklet) แบบใหม่ รวมถึงการขยายระยะระหว่างปีกทั้งสองข้างสำหรับเครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ ซึ่งเป็นตัวแปรใหม่ของเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างอย่างตระกูลเครื่องบินแอร์บัส เอ330 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ขายดีที่สุด
ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว โคเรียน แอร์ แอโรสเปซ ดิวิชั่น จะทำการผลิตอุปกรณ์ปลายปีกซึ่งเป็นส่วนประกอบชิ้นใหม่ของเครื่องบิน ณ โรงงานที่ปูซานในประเทศเกาหลีใต้ และลำเลียงอุปกรณ์ดังกล่าวไปยังโครงการประกอบเครื่องบินแอร์บัส ตระกูล เอ330 ขั้นสุดท้ายในตูลูส โดยอุปกรณ์ปลายปีกสำหรับเครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากปลายปีกโค้งของเครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี จะเพิ่มความกว้างของระยะระหว่างปีกทั้งสองข้างโดยรวมจากความกว้างของเครื่องบินแอร์บัส เอ330 ซีโอ ที่มีระยะ 60.3 เมตรในปัจจุบัน ให้กลายเป็น 64 เมตร ขณะเดียวกัน ก็ทำให้เครื่องบินมีแรงยกเพิ่มขึ้นและมีแรงต้านที่ลดลง
เมื่อปลายปีกแบบใหม่ได้ถูกนำมาทำงานร่วมกับเครื่องยนต์โรลสรอยซ์ เทรนท์ 7000 รุ่นล่าสุดของเครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ รวมทั้งการปรับปรุงอากาศพลศาสตร์อื่นๆ และลักษณะที่โดดเด่นของห้องโดยสารแบบใหม่ ก็จะทำให้เครื่องบินสามารถลดอัตราการเผาผลาญพลังงานต่อที่นั่งได้ถึงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเครื่องบินแอร์บัส เอ330 ซีโอ ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน การนำนวัตกรรมเพิ่มเติมเหล่านี้มาใช้จะไม่เพียงทำให้เครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ กลายเป็นเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างที่มีความคุ้มค่าทางด้านต้นทุนมากที่สุดในกลุ่มเครื่องบินที่มีขนาดเท่ากัน แต่ยังทำให้ผู้ปฏิบัติการเครื่องบินรุ่นดังกล่าวได้รับผลประโยชน์จากพิสัยการบินที่เพิ่มขึ้นเป็นระยะ 400 ไมล์ทะเล ในขณะเดียวกัน ก็ยังนำเสนอประโยชน์จากลักษณะร่วม (Commonality) เชิงการปฏิบัติการบินของตระกูลเครื่องบินแอร์บัส โดยการส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ330 นีโอ จะเริ่มต้นขึ้นในไตรมาสที่ 4 ปี 2560
โคเรียน แอร์ แอโรสเปซ ดิวิชั่น เป็นหุ้นส่วนเชิงอุตสาหกรรมในระยะยาวของบริษัทแอร์บัส ด้วยความร่วมมือที่มีมายาวนานกว่า 25 ปี ในปัจจุบัน โคเรียน แอร์ แอโรสเปซ ดิวิชั่น ได้ผลิตส่วนประกอบให้กับโครงการต่างๆของเครื่องบินแอร์บัสอย่างหลากหลาย รวมถึงการผลิตอุปกรณ์ปลายปีกชาร์คเลทสำหรับตระกูลเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ที่เป็นเครื่องบินที่ขายดีที่สุด แผงผนังส่วนลำตัวของเครื่องบิน และชิ้นส่วนส่วนพื้นของตระกูลเครื่องบินแอร์บัส เอ330 และชิ้นส่วนประตูห้องบรรทุกสินค้าของเครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี
ตระกูลเครื่องบินแอร์บัส เอ330 ซึ่งมียอดสั่งซื้อกว่า 1,500 ลำ ได้ให้บริการกับผู้ปฏิบัติการกว่า 100 รายทั่วโลก ที่ยังคงได้รับผลประโยชน์จากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยตระกูลเครื่องบินรุ่นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องบินลำตัวกว้างที่ครอบคลุมที่สุดและทันสมัยที่สุดในโลก ซึ่งยังประกอบด้วยเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่าอย่างเครื่องบินแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี และเครื่องบินสองชั้นอย่างเครื่องบินแอร์บัส เอ380 ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว สมาชิกเครื่องบินและประเภทตัวแปรที่หลากหลายของตระกูลเครื่องบินดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ครอบคลุมความต้องการของสายการบินที่มีต่อเครื่องบินรุ่นลำตัวกว้างทั้งหมดเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการปฏิบัติการบินทั้งแบบพิสัยการบินระยะไกล ระยะกลาง และระดับภูมิภาค โดยมีความสามารถในการจุที่นั่งผู้โดยสารตั้งแต่ 250 ที่นั่ง ไปจนถึงกว่า 500 ที่นั่ง และแบ่งปันลักษณะร่วมในเชิงการปฏิบัติการบินในระดับที่ไม่เหมือนใคร
Airbus Selects Korean Air Aerospace to manufacture Sharklet wingtips for the A330neo Family
· Building on KAL-ASD’s experience with manufacturing Sharklets for the A320 Family
· Contributing to making the A330neo the most cost-efficient widebody in its size category
Korean Air Aerospace Division (KAL-ASD), the aerospace manufacturing division of the Korean Air Group, has been selected by Airbus to supply new Sharklet wingtip devices including a wingspan extension for the A330neo – the new variant of the best-selling A330 Family of widebody aircraft.
Under the terms of the agreement, KAL-ASD will manufacture the new composite wingtip devices at its Busan facility in South Korea, and supply them to the A330 Family final assembly line in Toulouse. Inspired by the curved wingtips on the A350 XWB, the A330neo’s devices will increase overall wingspan from 60.3m of today’s A330ceo to 64m while conferring increased lift with reduced drag.
Along with the A330neo’s latest generation Rolls-Royce Trent 7000 engines, these new wingtips plus other aerodynamic enhancements and new cabin features will enable the aircraft to achieve an overall 14% reduction in fuel burn per seat compared with A330ceos in service today. The application of these incremental innovations will not only make the A330neo the most cost-efficient widebody in its size category, but will also allow operators to benefit from a range increase of up to 400 nautical miles while giving operators all the operational commonality advantages of the Airbus Family. Deliveries of the A330neo will start in Q4 2017.
KAL-ASD is a long-term industrial partner of Airbus, with a relationship dating back more than 25 years. Today KAL-ASD manufactures and supplies parts for various Airbus programmes including the Sharklets for the best-selling A320 Family, fuselage skin panels and floor assemblies for the A330 Family and the composite cargo doors for the A350 XWB.
The A330 Family, which has now attracted more than 1,500 orders, is serving over 100 operators worldwide who continue to benefit from numerous on-going product enhancements. This family is part of the world’s most modern and comprehensive widebody product line, which also includes the larger A350 XWB and double deck A380. Together, the various family members and type variants efficiently cover all airline widebody requirements for regional, medium and long-haul operations, seating from 250 to over 500 passengers and sharing unique levels of operational commonality.