- Details
- Category: ข่าวสังคม
- Published: Friday, 06 February 2015 23:18
- Hits: 2052
20 ปีวีซ่าประเทศไทย : นวัตกรรมและการเติบโตทางธุรกิจ
ผู้ถือบัตรวีซ่าในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งในปี พ.ศ. 2558 ด้วยยอดการชำระผ่านบัตรเครดิตในจำนวนร้อยละ 12 และธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้เติบโตถึงร้อยละ 14
ปีนี้เป็นปีที่วีซ่าฉลองปีที่ 20 ในประเทศไทยซึ่งถือเป็นปีแห่งความสำเร็จด้านตัวเลขในระดับแนวหน้าสำหรับการเติบโตของการชำระทางอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่การเปิดตัวใช้บัตรเครดิตวีซ่าครั้งแรกของประเทศในปี พ.ศ. 2527 ก่อนเปิดบริษัทในประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2537 จนถึงการเปิดตัวใช้สติกเกอร์ชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) ในปี พ.ศ. 2557
ถึงแม้ว่า เงินสดยังคงเป็นตัวเลือกหลักในการใช้จ่ายประจำวัน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ถึงร้อยละ 80 การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านบัตรต่างๆยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อยู่ที่ร้อยละ 17[1]
วีซ่าประเทศไทย ได้แสดงผลการเติบโตอันแข็งแกร่งในปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะผันผวนและไม่มีเสถียรภาพ การเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตวีซ่าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.9 ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงกว่าตัวเลขเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จำนวนร้อยละ 5.8 ส่วนมูลค่าการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตวีซ่าก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12 โดยเปรียบเทียบกับยอดการทำธุรกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จำนวนร้อยละ 6.4 และมูลค่าการทำธุรกรรมผ่านบัตรเดบิต วีซ่าก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.7 เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ร้อยละ 5.2[2]
นายสมบูรณ์ ครบธีระนนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับวีซ่า ในขณะที่ความเชื่อมันของนักลงทุนได้กลับคืนมาเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะขยายธุรกิจหลักของเราให้แข็งแกร่งรวมถึงขับเคลื่อนบริการต่างๆไปพร้อมๆกัน อาทิ การชำระเงินแบบไร้สัมผัสผ่านบัตรวีซ่า เพย์เวฟ และ ธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซให้เติบโตมากยิ่งขึ้น”
เสาหลักของวีซ่าสำหรับการเติบโต
ในขณะที่วีซ่าก้าวเข้าสู่ปีที่ 21 ในพ.ศ. 2558 ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย วีซ่ายังคงมุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้น นำเทคโนโลยีมาปรับใช้และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆอย่างมีประสิทธิภาพ ขยับขยายการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการจากวีซ่าและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจว่าวีซ่าคือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการทำธุรกรรมสำหรับทุกคนในทุกๆสถานที่
นายสมบูรณ์ ได้กล่าวเสริมว่า “ความไว้วางใจจะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เสาหลักเหล่านี้แข็งแกร่งขึ้นโดยเกิดจากการร่วมมือกับสถาบันทางการเงินและร้านค้าต่างๆ รวมถึงการสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับพัฒนาการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของลูกค้าและป้องกันการเกิดอาชญกรรมออนไลน์ โดยสิ่งเหล่านี้จะเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนให้วีซ่ากลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม”
วีซ่ากำลังทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดในการทำความเข้าใจความต้องการเฉพาะทางขอตลาดเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการจากวีซ่าได้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าลูกค้าวีซ่าจะเป็นคุณพ่อที่กำลังจะซื้อจักรยานคันใหม่ให้แก่ลูกสาวในกรุงเทพฯ หรือผู้บริหารหญิงไฟแรงในจังหวัดขอนแก่นที่ต้องการซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมใบแรกออนไลน์ หรือคู่สามีภรรยาชาวจีนที่กำลังพักผ่อนในเมืองพัทยาที่ต้องการใช้บัตรวีซ่า เพย์เวฟ ในซุปเปอร์มาร์เก็ตในพัทยา พวกเขาก็จะได้รับประสบการณ์การการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็วและปลอดภัยเช่นเดียวกันภายใต้แบรนด์วีซ่า
อีคอมเมิร์ซสำหรับการสร้างโอกาสค้าปลีกในบริบทใหม่
อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีมานี้ด้วยการขยายตัวของตลาดและระบบการค้าแบบดิจิตัลซึ่งเทรนด์ดิจิตัลยังคงมีแนวโน้มจะขยายตัวในอนาคต จากการศึกษาของวีซ่าเมื่อเร็วๆ นี้[3]พบว่าร้อยละ 70 ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามคนไทยได้มีการซื้อสินค้าออนไลน์ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา การชำระเงินแบบอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้เพิ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งถือว่าการเติบโตในประเทศไทยสูงเป็นอันดับสองรองจากประเทศสิงคโปร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4]
จากผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งจากตลาดสี่แห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] พบว่าผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 9 จาก 10 รายให้ข้อมูลว่าพวกเขาเป็นผู้ใช้อีคอมเมิร์ซในระดับกลางถึงร้อยละ 25 และนิยมใช้ระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากถึงร้อยละ 64 โดยร้อยละ 51 ยังซื้อของผ่านโทรศัพท์มือถือ
นายสมบูรณ์ ได้กล่าวว่า “โอกาสค้าปลีกในไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่บริบทใหม่และวีซ่ากำลังปรับบทบาทให้ทันสมัยในการสร้างอนาคตของการพาณิชย์โดยเร่งการพัฒนาช่องทางใหม่ๆ ประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินรวมถึงบริการใหม่ๆ ในการตอบสนองรูปแบบการทำธุรกรรมที่หลายหลาย
ระบบการชำระเงินอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีจำนวนสูงถึงร้อยละ 11 จากการชำระเงินทั้งหมดของวีซ่าในประเทศไทยซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการเติบโตในอนาคต โดยการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านบัตรวีซ่าในอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่มีจำนวนสูงสุด ได้แก่การเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศ การประกันภัย และบริการด้านการเงินมีปริมาณมากถึงร้อยละ 80
วีซ่าในอีก 20 ปีข้างหน้า
นายสมบูรณ์เชื่อว่าอนาคตของวีซ่าจะน่าตื่นเต้นและท้าทายสำหรับการแข่งขันในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน “เรากำลังเดินหน้าพัฒนาบัตรวีซ่าในการมอบบริการที่รวดเร็ว ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่ลูกค้าของเรามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าทางออนไลน์หรือที่ร้านค้า เทคโนโลยีใหม่ๆ และระบบการค้าในรูปแบบดิจิตัลทำให้เราสามารถเข้าถึงตลาดต่างๆ และมอบการบริการต่างๆ แก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น แนวโน้มเช่นนี้จะยังคงดำเนินต่อไปและสร้างโอกาสที่ดีในอีกหลายปีและหลายทศวรรษที่ใกล้จะมาถึง”
“ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาในประเทศไทย เราได้สร้างเครือข่ายร่วมกับสถานบันทางการเงินที่แข็งแกร่งโดยร่วมออกบัตรวีซ่าจำนวนหลายสิบล้านใบและเพิ่มจุดรับบัตรในหลายหมื่นร้านค้าซึ่งเป็นการเชื่อมโยงประเทศไทยกับเครือข่ายการค้าโลก ทุกวันนี้ถ้าเราพยายามค้นหาความหมายของคำว่า “ธุรกิจการชำระเงิน (Payment Business)” ในพจนานุกรม คุณอาจจะไม่พบความหมายของคำศัพท์นี้ ผมหวังว่าวีซ่าจะมีส่วนในการกำหนดคำนิยามนี้และทิศทางธุรกิจการชำระเงิน สำหรับ 20 ปีข้างหน้า"
เกี่ยวกับวีซ่า
วีซ่า คือบริษัทผู้ให้บริการด้านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก แก่ลูกค้าบุคคล ธุรกิจ และสถาบันการเงิน ตลอดจนองค์กรรัฐ ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีด้านเงินตราดิจิตอลที่รวดเร็ว ปลอดภัย และวางใจได้ โดยมี VisaNet หนึ่งในระบบเครือข่ายการทำงานด้านเงินตราดิจิตอลที่ทันสมัยมากที่สุดระบบหนึ่งของโลกเป็นรากฐาน ซึ่งสามารถประมวลและควบคุมการทำธุรกรรมได้กว่า 56,000 รายการในหนึ่งวินาที พร้อมด้วยระบบป้องกันการปลอมแปลงสำหรับลูกค้าบุคคล และการรับประกันการชำระเงินสำหรับร้านค้า วีซ่าไม่ใช่ธนาคารและมิได้มีบริการการออกบัตร เพิ่มวงเงินเครดิต หรือกำหนดอัตราค่าบริการแก่ผู้ถือบัตร หากแต่ให้บริการนวัตกรรมซึ่งส่งเสริมให้สถาบันการเงินสามารถมอบทางเลือกที่มีความหลากหลายให้แก่ลูกค้าได้ เช่น บริการชำระเงินจากยอดเงินในบัตรเดบิต หรือการใช้จ่ายด้วยวงเงินล่วงหน้าผ่านผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตต่างๆข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีซ่า ค้นหาได้ที่: http://www.usa.visa.com/about-visa; http://www.visacorporate.tumblr.com/ และ @VisaNews บนทวิตเตอร์
ต้องการรูปภาพและข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คีนันต์ สุเชาว์วณิช วรัชญ์อร มโนมัยรัตน์ (ยิ้ม)
วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย-แปซิฟิค แอลแอลซี สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ (ในนามของวีซ่า)
โทร 02 269 9239 และ 098 830 2939 โทร 02 653 2171-9 และ 081 854 9946
อีเมล์ [email protected] อีเมล์ [email protected]
[1] ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2557
[2] VisaNet Quarter Dec 14, running 4 quarters
[3] The Visa eCommerce Consumer Monitor 2014 จัดทำขึ้นระหว่างกรกฎาคม สิงหาคม 2557 โดย Nielsen Research ในนามของวีซ่าเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค อีคอมเมิร์ซโดยการสำรวจความคิดเห็นได้สัมภาษณ์ 500 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งและมีอายุระหว่าง 18-55 ปีในประเทศไทย
[4] VisaNet C&S Data | Period: FY 2014 (YTD)
[5] The Visa Consumer Payment Attitudes Study 2014 จัดทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2557 โดย BlackBox ในนามของวีซ่าเพื่อศึกษาความคิดเห็นผู้บริโภคต่ออีคอมเมิร์ซโดยการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโค 2000 คนในสี่ประเทศคือ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์และไทย