- Details
- Category: สิ่งแวดล้อม
- Published: Saturday, 19 March 2016 17:09
- Hits: 10120
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ปักธง ปี 59 เดินหน้าโครงการสัตว์ป่าไม่ใช่นักแสดง
บ้านเมือง : องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เผยในปี 2558 สัตว์ 19 ล้านชีวิตทั่วโลก มีชีวิตดีขึ้นจากแคมเปญต่างๆ ที่รณรงค์ทั่วโลก พร้อม เดินหน้าโครงการสัตว์ป่าไม่ใช่นักแสดงในปี 2559
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประจำประเทศไทย (World Animal Protection Thailand) เดินสายเข้าพบสื่อมวลชน เพื่อแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจกับสื่อมวลชนในการอนุเคราะห์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก รวมถึงประชาชนชาวไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก ที่มีส่วนสนับสนุนร่วมรณรงค์และช่วยเหลือโครงการต่างๆ ขององค์กรฯ ในปี 2558 (2015) ที่ผ่านมา ด้วยความร่วมมืออันดีและความเมตตาจากท่าน มีผลให้สัตว์ 19 ล้านชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยในปี 2559 นี้ องค์กรฯ จะเดินหน้าเคมเปญสัตว์ป่าไม่ใช่นักแสดงในไทยและขอเชิญชวนทุกภาคส่วนของสังคมสนับสนุนโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
นางสุภาภรณ์ ลาสต์ ผู้อานวยการองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ในทุกวัน ทุกประเทศทั่วทุกมุมโลก มีสัตว์นานาชนิดได้รับการปลดปล่อยสู่อิสรภาพได้รับการช่วยเหลือให้พ้นจากความอดอยากหิวโหย ทั้งยังได้รับการช่วยชีวิตและบาบัดรักษาให้พ้นจากสภาวะวิกฤติเมื่อเกิดภัยพิบัติ ขณะเดียวกันยังได้รับการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทั้งหมดเกิดจากความช่วยเหลือของทุกภาคส่วนในสังคมที่ทำให้องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก องค์กรเพื่อปกป้องคุ้มครองสัตว์ยุติการทารุณกรรมสัตว์ สามารถทางานเพื่อปกป้องคุ้มครองสัตว์ได้นับล้านชีวิตตลอดปี 2558 ที่ผ่านมา
เมื่อพายุไซโคลนแพมพัดถล่มวานูอาตู ในเดือนมีนาคม ปี 2558 ทีมจัดการภาวะภัยพิบัติขององค์กรฯ สามารถเข้าถึงพื้นที่ และช่วยเหลือสัตว์ได้ทันท่วงที ในปีเดียวกันเราได้ส่งมอบอาหารและให้ความช่วยเหลือสัตว์กว่าหนึ่งล้านสามแสนตัวในพื้นที่ประสบภัยพิบัติทั่วทุกมุมโลก และยังร่วมกิจกรรมฉลองการครบรอบ 10 ปี ของศูนย์พักพิงธรรมชาติเพื่อหมีในโรมาเนีย ซึ่งเป็นศูนย์พักพิงธรรมชาติที่องค์กรฯ จัดทำขึ้นในเขตอนุรักษ์พันธุ์หมีที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เพื่อให้หมีถึง 82 ตัว ที่ได้รับการช่วยเหลือจากการถูกกักขังและทารุณ กลับคืนสู่อิสรภาพและมีชีวิตที่แสนสุข ด้วยความช่วยเหลือจากประชาชน องค์กรฯ ได้ให้การสนับสนุนความพยายามที่จะช่วยเหลือสัตว์ทะเลซึ่งติดอยู่กับซากอวนหรือเครื่องมือประมงอื่นๆ ที่ถูกทิ้ง หรือตกหล่นอยู่ในทะเล ในโครงการรณรงค์ระดับนานาชาติ ที่ริเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน 2558 ซึ่งพันธมิตรของเราจะร่วมกันค้นหาวิธีแก้ไขปัญหา อย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืนต่อไป คาดว่าโครงการนี้จะสามารถช่วยเหลือสัตว์ทะเลได้ถึง 1 ล้านชีวิต ภายในปี 2561
นอกจากนี้ องค์กรฯ ยังได้ดำเนินโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่สามารถช่วยสุนัขถึง 3 แสนตัวทั่วเอเชียและแอฟริกา ให้พ้นภัยจากการถูกฆ่าโดยไม่จำเป็น โดยสามารถหยุดยั้งการฆ่าสุนัขอย่างทารุณและช่วยให้สุนัขเหล่านี้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้" นางสุภาภรณ์ กล่าวและเพิ่มเติมว่า
ในส่วนของประเทศไทย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้ช่วยเหลือสัตว์ผ่านการทางโครงการทางด้านสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้รวมถึงการให้ความรู้แก่ภาคประชาชน อาทิ โครงการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างช้างและมนุษย์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ป่าที่สำคัญมาก ทางองค์กรฯ จึงได้ให้การสนับสนุนองค์กรสวัสดิภาพสัตว์ Zoological Society of London (ZSL) โดยเริ่มต้นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศไทย เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งตลอด 1 ปีที่เราได้ดาเนินโครงการได้สำเร็จลุล่วงและประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ไม่ปรากฏว่ามีการสูญเสียชีวิตของทั้งช้างและคน
โครงการป้องกันพิษสุนัขบ้า ในเขตชายแดนภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ และ จ. เชียงราย องค์กรพิทักษ์สัตว์-แห่งโลก ได้ร่วมกิจกรรมกับกระทรวงสาธารณสุข และปศุสัตว์เขต 5 ภาคเหนือ ในโครงการ "รณรงค์สร้างความตระหนักในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เสี่ยง จังหวัดเชียงใหม่ และ เชียงราย" ใน 4 เขต อ.เมืองและอำเภอชายแดน คือ เทิง เวียงแก่น เชียงของ และแม่สาย โดยรับหน้าที่เป็นวิทยากรรับเชิญในการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า และพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลสัตว์เลี้ยง และยังได้ฉีดวัคซีนและทำหมันให้แก่สุนัขในพื้นที่ด้วย
โครงการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ป่าที่ถูกยึด สัตว์ป่าจานวนมากถูกจับเพื่อขายอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในเขตเอเชียและประเทศไทยเองก็เป็นศูนย์กลางเส้นทางค้าสัตว์ป่า เมื่อมีการจับกุม สัตว์ป่าที่มีชีวิตจะถูกยึดไว้เป็น "ของกลาง" และถูกส่งไปเลี้ยงในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีตามกฎหมาย จึงจะสามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้ ดังนั้นเพื่อดาเนินตามเจตจานงขององค์กรฯ ในการดูแลสวัสดิภาพของสัตว์ที่จะได้รับอิสระได้มีชีวิตที่ดีขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่าง กรมอุทยานแห่งชาติฯ และองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ร่วมกับ มูลนิธิ รักษ์สัตว์ป่า (Love Wildlife Foundation) และ Blue Tail
Animal Aid International (BTA) โดยมีจุดประสงค์หลักร่วมกันคือ ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ พัฒนาทักษะและให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการดูแลสัตว์ป่าที่เลี้ยงในที่กักขัง ให้ผู้ดูแลสัตว์เข้าใจถึงความต้องการของสัตว์แต่ละชนิดแต่ละสายพันธุ์ รวมถึงส่งเสริมคุณภาพชีวิตสัตว์ โดยการจัดการที่อยู่อาศัยของสัตว์ให้ดีและเพียงพอ รวมทั้ง การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับสัตว์แต่ละชนิด โครงการนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในการยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพ
ล่าสุด องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจนสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของบรรดาสัตว์ป่าที่ถูกใช้เพื่อความบันเทิง อย่างเช่น ช้างและหมี โดยทางองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกได้เริ่มรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจกับทั้งภาคเอกชนเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลก และเพื่อให้ภาคประชาชนทั่วโลกตระหนักรับรู้ถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์ที่อยู่เบื้องหลังในการนาสัตว์ป่ามาใช้ในการแสดง เช่น การแสดงช้างและขี่ช้างในอุตสาหกรรมเพื่อการบันเทิง และโน้มน้าวให้บริษัททัวร์ รวมถึงนักท่องเที่ยวได้ตระหนักถึงปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ดังกล่าว จนวันนี้บริษัททัวร์กว่าร้อยแห่งทั่วโลกได้ตกลงที่จะยุติการเสนอทัวร์แสดงช้างขี่ช้างแล้ว และหันไปเป็นการศึกษาชีวิตช้างที่อยู่ตามแหล่งธรรมชาติ โครงการนี้ยังจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ในปี 2559 นี้ด้วย
จากการสนับสนุนของทุกภาคส่วนผ่านองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เพื่อช่วยเหลือสัตว์ทั่วโลกในปี 2558ท่านช่วยให้เราสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของสัตว์ในฟาร์มได้ถึง 19 ล้านชีวิต ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องกับภาคธุรกิจและเกษตรกรทั่วโลก เพื่อให้บรรลุผลในการส่งเสริมสวัสดิภาพชีวิตที่ดีให้กับบรรดาสัตว์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือของทุกคน