WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A5NOx gas

ทส.แจง 5 ปีที่ผ่านมา ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยรายปี ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

      นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า ตามที่ นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองหัวหน้าพรรคกล้า โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุถึงคุณภาพอากาศของประเทศไทยว่า วิกฤตหนักที่กรุงเทพและปริมณฑล กำลังเจอ  NOx gas สารก่อมะเร็งที่ลอยอยู่ในอากาศเกิดจากการสันดาปเครื่องยนต์ดีเซล “สกปรก” และเครื่องฟอกอากาศไม่สามารถกำจัดได้ โดยสาเหตุสำคัญมาจากการใช้น้ำมันยูโร 1-3 ที่ทั่วโลกห้ามใช้ แต่กลับมีการใช้ในประเทศไทย รวมถึงการไม่เข้มงวดกับการปล่อยไอเสียของรถควันดำและโรงงานอุตสาหกรรม

     นายอรรถพล ชี้แจงว่า ทส.ได้มีการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศซึ่งรวมถึงก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(NOx)ซึ่งเป็นสารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยกำหนดค่ามาตรฐานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ไม่เกิน 170 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) และค่าเฉลี่ยรายปี ไม่เกิน 30 ppb และจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่องพบว่า ในกรุงเทพมหานครช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ก๊าซ NOx เฉลี่ยรายปีมีค่าอยู่ในมาตรฐาน สำหรับค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นในปี 2562 ที่พบว่ามีค่าเกินมาตรฐาน 2 ชั่วโมง บริเวณริมถนนดินแดง เขตดินแดง โดยผลการตรวจวัดในปี 2564 (มกราคม - ตุลาคม) พบว่าค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจวัดได้ 122 ppb และค่ามีเฉลี่ยรายปี เท่ากับ 16  ppb ซึ่งมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

    อย่างไรก็ตาม ทส.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาก๊าซ NOx ในภาคการจราจรและอุตสาหกรรม ดังนี้

  1.      การบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบันมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยอยู่ที่ระดับเทียบเท่ามาตรฐานยูโร 4 ซึ่งมีปริมาณกำมะถันในเนื้อน้ำมันทั้งดีเซลและเบนซินอยู่ในระดับไม่เกิน 50 ppm และมีแผนเปลี่ยนไปสู่การบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงให้เทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 หรือมีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 และในระหว่างปี 2564 จนถึง 2566 ในทุกช่วงระหว่างเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี บริษัทน้ำมันได้ผลิตน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 5 ออกมาจำหน่ายในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล นอกจากนี้ คพ. ได้ผลักดันมาตรการด้านภาษีเพื่อเร่งรัดให้เกิดการผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่เทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 ให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว
  2.     การบังคับใช้มาตรฐานรถยนต์ใหม่ ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการบังคับใช้มาตรฐานยูโร 3 สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ และมาตรฐานยูโร 4 สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก แต่อย่างไรก็ตามได้มีแผนที่จะปรับไปสู่การบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 สำหรับรถยนต์ขนาดเล็กและรถยนต์ขนาดใหญ่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2563 วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 และมีแนวทางการใช้มาตรการด้านภาษีเพื่อเร่งรัดให้เกิดการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ที่เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 ได้ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 โดยมาตรฐานยูโร 5 จะสามารถลดการปล่อยก๊าซ NOx ได้ถึงร้อยละ 60 สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ และร้อยละ 28 สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก
  3.       การบังคับใช้มาตรฐานรถยนต์ใช้งาน โดยปัจจุบัน คพ.ได้ปรับปรุงค่ามาตรฐานการปล่อยควันดำจากรถยนต์ดีเซลจากเดิมที่สามารถปล่อยควันดำได้ไม่เกินร้อยละ 45 เป็นปล่อยควันดำได้ไม่เกินร้อยละ 30 ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายในกลางปี พ.ศ. 2565 ซึ่งก็จะส่งผลให้ก๊าซ NOx ลดลงได้ด้วยเช่นกัน
  4. ปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษอากาศจากแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้า ซึ่งมีการควบคุมสารมลพิษอากาศหลักคือ ฝุ่นละอองซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO2 และ NOx ให้เข้มงวดขึ้น ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2565

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!