- Details
- Category: สิ่งแวดล้อม
- Published: Saturday, 19 June 2021 11:33
- Hits: 5609
นักเคมีสังเคราะห์โพลิเมอร์จากพืช รีไซเคิลซ้ำได้ แต่คุณภาพไม่ลดลง
ในปัจจุบัน เราได้นำโพลิเมอร์มาใช้ในการอำนวยความสะดวกในชีวิตอย่างแพร่หลาย เรียกได้ว่าเราสามารถพบเจอโพลิเมอร์ได้ในทุกมิติของการดำรงชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ผลิตจากโพลิเมอร์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น ถุง ขวด หรือ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มักมีอายุการใช้งานที่สั้น หรือมักจะใช้แล้วทิ้ง อีกทั้ง ยังมีส่วนประกอบทางเคมีที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม
ถึงแม้โพลิเมอร์บางชนิดจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้หลายครั้ง แต่สินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบรีไซเคิลก็จะมีคุณภาพลดลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับการใช้ซ้ำ
เพื่อเพิ่มทางเลือกที่ยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมเคมีในอนาคต นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และ Russian Academy of Sciences ได้ร่วมกันสังเคราะห์โพลิเมอร์ชีวมวลชนิดใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างจากโพลิเมอร์อื่นๆ ตรงที่สามารถรีไซเคิลได้หลายครั้งด้วยวิธีการที่ง่ายและไม่ทำให้คุณภาพลดลง
ทั้งนี้ องค์ประกอบหลักของโพลิเมอร์ดังกล่าวก็คือ terpenols ซึ่งเป็นสารประกอบที่ได้จากแอลกอฮอล์ในพืช ยกตัวอย่างเช่น เมนทอลที่ได้จากน้ำมันหอมระเหยในสะระแหน่ และ พิมเสนที่ได้จากน้ำมันหอมระเหยของต้นสนขาว เป็นต้น โดยแอลกอฮอล์เหล่านี้สามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
โพลิเมอร์สังเคราะห์นี้สามารถรีไซเคิลได้ทั้งแบบปฐมภูมิ (primary recycling) และทุติยภูมิ (secondary recycling) โดยในการรีไซเคิลแบบทุติยภูมิหรือการหลอมขึ้นรูปใหม่นั้น โพลิเมอร์ชนิดนี้สามารถหลอมละลายได้ที่อุณหภูมิปานกลางประมาณ 120 ° C และสามารถขึ้นรูปได้หลากหลาย โดยที่คุณภาพไม่ลดลงแม้ผ่านการรีไซเคิลซ้ำถึง 7 รอบ
ปัจจุบัน ทีมนักเคมีของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กกำลังพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเชิงกลของโพลิเมอร์เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ความหดตัว และอื่นๆ เพื่อต่อยอดไปสู่การนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมต่อไป
#GCChemistryforBetterLiving
#GCเคมีที่เข้าถึงทุกความสุข
ที่มา: https://www.azom.com/news.aspx?newsID=55936
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ