- Details
- Category: สิ่งแวดล้อม
- Published: Sunday, 11 October 2020 09:54
- Hits: 21385
’อรรคพล’อธิบดีใหม่ ทำงานเชิงรุก บังคับใช้กฎหมายจริงจังทั้งคดีแพ่งและอาญา
’อรรคพล’อธิบดีใหม่ กรมควบคุมมลพิษ ประกาศเดินหน้าทำงานเชิงรุก บังคับใช้กฎหมายจริงจังทั้งคดีแพ่งและอาญา พร้อมตั้งทีมพิเศษดูแลปัญหามลพิษทางอากาศน้ำเสียขยะพิษ - เร่งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เตรียมแผนป้องกัน PM 2.5 กทม. และปริมณฑลปลายปีนี้ พร้อมติดตั้งเครื่องตรวจวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ จัดทําเป็นคู่มือการบริหารข้อมูลข่าวสารแบบ One Stop Service ขึ้น
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เปิดเผยว่า กรมควบคุมมลพิษจะมีการปรับบทบาท จากการสร้างความรู้สร้างความเข้าใจและแจ้งเตือน ให้เป็นการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น พร้อมกับได้ตั้งชุดเฉพาะกิจศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโดยดึงสำนักสิ่งแวดล้อมภาคทั้ง 16 ภาคมาทำงานร่วมกับ กอ.รมน. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นทีมพิเศษ ตั้งขึ้นมาเพื่อยุติปัญหามลพิษทางอากาศน้ำเสียขยะพิษ คุมเข้มผลทางกฎหมายทั้งคดีแพ่งและอาญา ขณะเดียวกันจะมีคณะทำงานร่วมในการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะการบังคับใช้พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ในส่วนการทำงานของข้าราชการกรมควบคุมมลพิษจะมีการพูดคุยหารือทำความเข้าใจร่วมกัน มีการปรับทัศนคติให้พร้อมสำหรับทำงานเชิงปฏิบัติ โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายในทุกหน่วยงาน นอกจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างบทบาทและภารกิจของกรมควบคุมมลพิษ รวมทั้งจะมีการเปลี่ยนชื่อของกรมใหม่ในเร็วๆ นี้อีกด้วย
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาด้านการบริหารข้อมูลข่าวสารของกรมฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของประชาชน กรมฯ จึงได้กําหนดแนวทางในการดําเนินงานสําหรับเจ้าหน้าที่ในการให้บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อลดขั้นตอนการดําเนินงานตลอดจนเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับผู้มาขอรับบริการ ข้อมูลข่าวสาร โดยจัดทําเป็นคู่มือการบริหารข้อมูลข่าวสารแบบ One Stop Service ขึ้นและหวังว่าคู่มือที่ได้จัดทําขึ้นนี้จะเป็นแนวทางสําหรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และเป็นแนวทางสําหรับผู้ขอรับผู้สนใจโดยทั่วไป
กรณี ประเด็นการร้องเรียนเรื่องปัญหามลพิษ ในเรื่องกลิ่นเหม็น ขยะของเสีย น้ำเสีย ที่สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษมีผลกระทบในวงกว้างทั้งคุณภาพชีวิต คุณภาพสิ่งแวดล้อม และมีต้นทุนสูงในการฟื้นฟู นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการ ทส. และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวง ทส. ได้มีข้อห่วงใยในเรื่องดังกล่าว และได้มีข้อสั่งการให้ คพ. เสริมบทบาทเชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อม มีความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมาย ใช้กฎหมายทางการปกครองให้มากขึ้น ลงโทษต่อผู้กระทำผิดและให้เกิดการชดใช้ค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
นายอรรถพล กล่าว เพื่อดำเนินการเชิงรุกในการติดตามตรวจสอบ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ คพ.ได้จัดทำคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์เฉพาะกิจในการติดตามตรวจสอบ ดำเนินการตามกฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ปล่อยมลพิษทั้งน้ำเสีย มลพิษทางอากาศ กลิ่นเหม็น เสียงดัง ขยะพิษต่างๆ และการนำเข้าสิ่งผิดกฎหมายที่ก่อมลพิษจากต่างประเทศ เพื่อการปฏิบัติการที่รวดเร็วและเบ็ดเสร็จ และเป็นหน่วยต้นแบบขยายองค์ความรู้ไปยังหน่วยภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
พร้อมตั้งสายด่วน 1650 พิทักษ์สิ่งแวดล้อม รับเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษที่สร้างความเดือดร้อน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมมีความสำเร็จตามเป้าหมาย คพ. ได้เข้าหารือกับศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ศปป.4 กอ.รมน.) เรื่องการขอสนับสนุนและแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมี พล.ท. เรืองสิทธิ์ มิตรภานนท์ ผอ.ศปป.4 กอ.รมน. และส่วนงานต่างๆ ภายใน ศปป.4. ซึ่งมีบทบาทในการป้องกัน แก้ไขเสริมสร้างความมั่นคง
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน อาหารและบรรเทาสาธารณภัย ยินดีสนับสนุนการปฏิบัติการศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด นายอรรถพล กล่าว
ส่วน แผนการเตรียมรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ช่วงเปลี่ยนฤดูกาลปลายปีนี้ิ ว่า ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้รู้ว่าการมีฝุ่นละอองนั้นเกิดขึ้นจากอะไร เข้าใจถึงระบบการแจ้งเตือน และมาตรฐานค่าฝุ่นละอองให้มากขึ้น ยึดการดูข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่น Air4Thai ที่จะรายงานค่าฝุ่นละอองได้รับการตรวจวัดของ คพ.และมีมาตรฐานระดับสากล เพราะมีการติดตั้งตรวจวัดค่าฝุ่นละอองไว้ 65 เครื่อง กระจายอยู่ใน 37 จังหวัด และเตรียมจะติดตั้งให้ครบทุกจังหวัดภายในปี 2565
ปัจจุบันยังพบฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกิดจากท่อไอเสียรถยนต์สูงถึงประมาณร้อยละ 70 และอีกร้อยละ 30 เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาในที่โล่ง การปล่อยมลพิษจากโรงงาน และกิจกรรมตามโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ทั้งนี้ คพ.ตั้งเป้าให้ประเทศไทยยกระดับรถยนต์มาตรฐานยูโร 5 ให้ได้ในปี 2567 ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาต้องได้รับการรับรองและผ่านมาตรฐานยูโร 5 เพื่อลดการปลดปล่อยมลภาวะทางอากาศ
นอกจากนี้ นายณรงค์ ปานนอก ประธานชมรมคอลัมนิสต์ นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ไทย และ ดร.เอกชัย เหลืองสะอาด นายกสมาคมสื่อต้านคอรัปชั่น(ประเทศไทย)และคณะกรรมการชมรมฯ เข้าแสดงความยินดีกับนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษคนใหม่ พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นด้านการแก้ปัญหามลพิษ โดยกรมจะเริ่มปฏิบัติการเชิงรุกร่วมกับหลายหน่วยงาน หลังจากภาวะมลพิษขยายตัวมากขึ้น
ศูนย์บริการประชาชน ตู้ปณ.33 สามเสนใน กรุงเทพฯ 10400 สายด่วน 1650 หรือโทร 02 298 2222,02 298 2548, 02 298 5396 Hotline Email : [email protected]
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ