WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2264 เจ้าพระยาเดลต้าเปิดเวทีระดมสมองนักวิชาการสหสาขา มองอนาคตประเทศไทย
ยก ‘เจ้าพระยาเดลต้า 2040’ เป็นมากกว่าแก้ปัญหา ‘น้ำ’

          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาสาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดการประชุมสัมมนาผู้เชี่ยวชาญและการรับฟังความคิดเห็นการศึกษา “โครงการการพัฒนาเจ้าพระยาเดลต้า 2040” ขึ้น เป็นครั้งแรกของการเปิดเวทีระดมความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลเจ้าพระยาเดลต้า ภายใต้ “แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ” โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน นักวิชาการ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา เข้ามาเปิดหน้าตักให้ความรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างเปิดกว้าง สำหรับการวางแผนบริหารจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยาในอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อแนวทางการพัฒนาเมืองมีความหลากหลาย ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะมุ่งไปทิศทางใด?

          ทำไมต้อง “เจ้าพระยาเดลต้า”? แล้วขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาครอบคลุมแค่ไหน?

2264 รศดร สุทธิศักดิ์

          รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้า “โครงการพัฒนาเจ้าพระยาเดลต้า 2040” อธิบายว่า คำว่า “ลุ่มน้ำเจ้าพระยา” หรือ “เจ้าพระยาเดลต้า” ไม่ได้กินความแค่พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น แต่ยังขยายไปถึงลุ่มแม่น้ำบางปะกง ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำแม่น้ำท่าจีน เพราะมองว่าวิถีของคนในพื้นที่บริเวณนี้มีความเชื่อมต่อกัน และปัญหาบนพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่ได้มีแค่น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือน้ำทะเลรุก ฯลฯ เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ดังนั้น การบริหารจัดการจึงต้องดำเนินไปโดยต้องคำนึงถึงบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนไปด้วย

          การเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นประเด็นหลักของโครงการวิจัยนี้ เพราะถือเป็นพื้นที่ไข่แดงของเมือง ไม่เพียงเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นพื้นที่สำคัญทางสังคม และเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานอีกด้วย

          “ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นการทำลายความเชื่อมั่นของสังคม ของนักลงทุน และอีกหลายๆ เรื่อง ในขณะที่บริเวณพื้นที่นี้เป็นพื้นที่รับน้ำจากแม่น้ำหลายๆ สาย แต่พอแล้งก็ขาดน้ำ เรามีปัญหาน้ำทะเลรุก มีพื้นที่ถูกกัดเซาะหายไปมากมาย เช่น วัดขุนสมุทรจีน ที่จังหวัดสมุทรปราการ”

          ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี บอกว่า ในความเป็นจริง ขณะนี้เราอยู่ได้ด้วยระบบทางวิศวกรรมทั้งหมดด้วยระบบไฟฟ้า ระบบปั๊ม ระบบคลอง ฯลฯ หากไม่มีการจัดการเสียแต่ตอนนี้ อีก 20 ปีกรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไร ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีโครงการแก้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมายจากหลายๆ หน่วยงาน แต่ปัญหาคือ ยังไม่มีการบูรณาการการทำงานกันอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือ ต้องไม่มองการแก้ปัญหาจากศูนย์กลางเท่านั้น แต่ท้องถิ่นต้องรับรู้ เข้าใจ และมีส่วนร่วมด้วยตั้งแต่ต้นทาง
         “ทำอย่างไรเราจะแก้ปัญหาได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมองถึงอนาคต ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาสังคมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย” ดร.สุทธิศักดิ์ ขยายความในมุมมองของตน และว่า

          “วิธีการแก้ปัญหาคือ ทุกหน่วยงานต้อง “แบไพ่เล่น” เปิดข้อมูลออกมา แล้วช่วยกันถกคิด สร้างแบบจำลองร่วมกัน ครั้งนี้เราจึงรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา เพื่อว่าสุดท้ายจะสร้างโซเชียลแพล็ตฟอร์ม (Social platform) และนำไปสู่เวทีสาธารณะ โดยโครงการเจ้าพระยา 2040 จะเป็นเวที (platform) ทางข้อมูล สำหรับการวางแผนและบริหารจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นเวทีที่จะรวบรวมข้อมูล แผน ปัญหา และความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มภาคประชาสังคม เพื่อดึงความฝันร่วมที่เป็นไปได้กับทุกฝ่าย”

          ด้าน รศ.ดร.สุจริต คูณธนกูลวงศ์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย ด้านสังคม แผนการบริหารจัดการน้ำ กล่าวว่า เป้าหมายของโครงการเจ้าพระยาเดลต้า 2040 ซึ่งเป็นโครงการเข็มมุ่งมีระยะเวลา 3 ปี แต่การจะเริ่มต้นต้องมีการสร้างกระบวนการทางสังคมบางอย่างเพื่อให้สร้างการรับรู้และทำความเข้าใจร่วมกัน เช่น ในส่วนของเครือข่ายเทศบาล ซึ่งปัจจุบันมีการมาอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร เป็นการกระตุ้น สร้างความตื่นตัว เพื่อว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริง เทศบาลจะสามารถรับมือได้

          ฉะนั้น ในการวางเป้าหมายของโครงการนี้ แม้ว่าเป้าหมายแรกจะมุ่งวางแผนในระดับประเทศ แต่เพื่อให้เห็นผลสัมฤทธิ์เร็วขึ้นจึงทำแผนเชิงสังคมควบคู่กันไป โดยใช้กระบวนการสร้างความเข้าใจและลดความขัดแย้ง นั่นคือจะต้องมีชุมชนเข้ามาผนึกกำลังและเดินหน้าไปด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งการมีเวทีเช่นนี้จะทำให้เราได้ข้อมูล ความคิดเห็นที่หลากหลาย และมองเห็นโครงการที่ควรจะพัฒนา น่าจะช่วยแก้ปัญหาประเทศที่พอเห็นได้ภายในระยะเวลา 3 ปี

          ขณะที่ รศ.ดร.บรรณโภศิษฐ์ เมฆวิชัย รองประธานกรรมการ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขยายความเพิ่มเติมว่า ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 5 ก็มีการเชื่อมโยงในเชิงพื้นที่ ซึ่งปีนี้เราเริ่มเอาเชิงพื้นที่มาทำแผนที่สีเขียว (Green Map)

          “เราไม่ได้มองแต่ output อย่างเดียว แต่เรามองกรณีที่เป็น outcome ด้วยว่าในกระบวนการที่เรายังด้อยอยู่ก็คือ การที่เรามาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันเดินไปข้างหน้าด้วยกัน แม้ยังไม่มีกระบวนการที่ชัดเจน เราก็เอาไปขยายทำในลักษณะเชิงพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง โดยมองพื้นที่ในภาพรวมและสร้างกระบวนการ เพราะชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ ชุมชนต้องรู้ว่าทรัพยากรของเขามีอะไร และเป็นฐานสำคัญในระดับมหภาค (macro environment) มีทั้งระดับลุ่มน้ำ และลุ่มน้ำสาขา จึงต้องมองในภาพรวมทั้งหมด เพื่อให้ได้ความพอใจแก่ทุกฝ่าย”

          สมพร เพ็งค่ำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบโดยชุมชน (Community Health Impact Assessment in Southeast Asia) ให้ทัศนะผ่านประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาว่า ในส่วนของกระบวนการไม่ใช่แค่การมีส่วนร่วมของชุมชน แต่ต้องเริ่มต้นจากชุมชน ไม่โดดเดี่ยวชุมชน ที่สำคัญคือ ต้องค้นหา “ค่านิยมหลักของชุมชน” (community core value) อย่าลืมว่าในชุมชนไม่ได้มีแค่ดินกับน้ำ แต่ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ กับสิ่งแวดล้อม เมื่อการพัฒนาเข้าไป สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านบวกและลบได้

          “หัวใจของงานนี้นอกจากการรู้จัก core value ในกระบวนการยังต้องมี facilitator ที่ออกแบบเป็น ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้ดำเนินรายการ ต้องมีความเป็นมืออาชีพ รู้ว่าการเอาคนที่มีความคิดต่าง ความฝันต่าง ต้องมีกระบวนการอย่างไรที่จะไม่ถ่างความขัดแย้ง เราต้องสร้างทีมนี้ขึ้นมาก่อน โจทย์ที่ 2 คือ ต้องมีความเป็นสถาบัน เป็นแกนหลักของทีมที่จะดำเนินการเรื่องนี้ สร้างความเป็น ownership ของชุมชน สร้างโมเดลและนำไปสร้างแรงบันดาลใจ”

          ทางด้าน ปิยะเนตร เขตสมุทร จากภาคประชาชน บอกว่า 3 องค์ประกอบที่จะต้องมีคือ 1) มีกฎหมายรองรับ 2) “คน” ซึ่งขณะนี้เรามี “สภาองค์กรชุมชน” เป็นกลไกที่ต้องเอาเข้ามามีส่วนร่วม และ 3) กระบวนการ “คนในพื้นที่” ต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจไปด้วยกัน ซึ่งจากประสบการณ์ของการเป็นนักวิชาการด้านการจัดการน้ำมา 2 ปี องค์กรชุมชนและหน่วยงานรัฐมีความคิดเห็นไม่ต่างกันเพียงแต่ทั้งสองฝ่ายไม่มีโอกาสได้พูดคุยกัน การมี “พื้นที่กลาง” จึงสำคัญ โดยที่ทุกฝ่ายต้องมีเป้าหมายร่วมกัน มีการสื่อสารและต้องมีเครือข่ายสนับสนุน

          เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อคิดที่ได้จากการเปิดเวทีข้อมูลในครั้งแรก ที่ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ย้ำว่า การมองพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยลำพัง โดยไม่มองปิง-วัง-ยม-น่านนั้นไม่ได้ จึงต้องมีเวทีนี้เข้ามาช่วยจุดประกายความคิด สร้างการมีส่วนร่วม สร้างคนสร้างเครือข่าย เดินหน้าร่วมแก้ปัญหาไปด้วยกัน

 


AO2264

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!