- Details
- Category: สิ่งแวดล้อม
- Published: Friday, 23 August 2019 20:24
- Hits: 4429
สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
จัดทำแผนแม่บทพัฒนาป่าชายเลนและระบบนิเวศชายฝั่งของจังหวัดเพชรบุรี
สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจในการจัดทำแผนแม่บทเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ครอบคลุมพื้นที่ 24 ตารางกิโลเมตรในจังหวัดเพชรบุรี
เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีสภาพแวดล้อมทางทะลที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่การใช้ชีวิตแบบคนเมืองและกิจกรรมชายฝั่งต่างๆ เช่นการทำนาเกลือได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง โดยปัจจุบันจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ป่าชายเลนคงเหลือเพียง 17% เท่านั้น
ดร.ชวัลวัฒน์ และคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ กล่าวว่า การจัดทำแผนแม่บทนี้ตั้งเป้าที่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้แก่มนุษย์รวมถึงพืชและสัตว์ด้วย “การร่วมมือกันในครั้งนี้เพื่อหาหนทางสำหรับมนุษย์และธรรมชาติให้อยู่ร่วมก้นอย่างมีความสุข”
“ป่าชายเลนนอกจากจะช่วยรักษาสมดุลของโลกเราแล้วยังมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นด้วย เนื่องจากป่าชายเลนมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะและฟูมฟักของสัตว์น้ำที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมประมงและการท่องเที่ยว หัวใจสำคัญของการพัฒนาแผนแม่บทนี้จึงเน้นการส่งเสริมให้ชาวบ้านเป็นผู้ร่วมปกป้องป่าชายเลนของพวกเขา” ดร.ชวัลวัฒน์ กล่าว
สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้จะร่วมทำงานกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ภายใต้กรอบระยะเวลา 3 ปี โดยแผนแม่บทที่พัฒนาขึ้นนี้จะสอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตรืของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการนี้จะทำการพัฒนาต้นแบบในระดับโลกของป่าชายเลนในเมืองสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ป่าจำนวน 400,000 ตารางเมตร ณ ตำบลบางตะบูนออก รวมถึงการขยายผลไปสู่การจัดการขยะพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลอย่างวาฬบรูด้า และการวิจัยนำร่องในการฟื้นฟูป่าชายเลนในสภาพดินเค็มจัดในพื้นที่นาเกลือทิ้งร้าง ณ ตำบลปากทะเล
ขณะที่ คุณโลวิต้า รามกุทธี รักษาการผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย เผยว่า โครงการนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อชายฝั่งทะเลไทย
“แผนแม่บทนี้ครอบคลุมปัจจัยสำคัญและเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่ง เราต้องร่วมมือกับชาวบ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมพัฒนาและดำเนินการโครงการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติมีบทบาทหลักในการประสานผู้มีส่วนได้เสียทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากลเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมดำเนินการ การร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นการทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 13 (การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และเป้าหมายที่ 14 (การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล) และเป้าหมายที่ 15 (การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก)”
สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้และ UNDP จะทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน หน่วยงานสาธารณะ และผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ MQDC และทีม Urban Action Team จากบริษัทดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในการดำเนินงานโครงการนี้
สำหรับบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ได้รับการลงนามโดยดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ นายกสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ คุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ อุปนายกสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และดร.วิทย์ สุนทรนันท์ กรรมการและเหรัญญิกสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้
โดยตัวแทนจาก UNDP ได้แก่ คุณโลวิต้า รามกุทธี รักษาการผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และคุณแสงโรจน์ ศรีสวัสดิ์ไกรศร หัวหน้าทีม IGSD UNDP ประเทศไทย และหน่วยงานพัฒนาที่ยั่งยืน
#MQDC #ForAllWellBeing
AO08458
Click Donate Support Web