WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ข้อเท็จจริงแร่ใยหินไครโซไทล์........ใช้ได้อย่างปลอดภัย

    ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ตีแผ่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ยืนยันนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย พร้อมแสดงข้อมูล ที่ประชุมใหญ่สมัชชาองค์การอนามัยโลก(World Health Assembly : WHA) มีมติยอมรับว่าแร่ใยหินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน อีกทั้งองค์กรแรงงานระหว่างประเทศยังระบุว่าแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีการใช้แร่ใยหินเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย พร้อมหยิบยกถึงความจำเป็นของคนไทยที่ยังต้องใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในชีวิตประจำวัน อาทิ กระเบื้องมุงหลังคา ท่อน้ำซีเมนต์ ผ้าเบรคฯลฯ ที่ยังไม่มีวัสดุใดมาทดแทนได้ทั้งในด้านคุณภาพความคงทนและราคาดังนั้นศูนย์ข้อมูลฯ จึงจำเป็นต้องตั้งคำถามฝากไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องว่าเหตุใดจึงมุ่งเป้าที่จะกำจัดแร่ใยหินไครโซไทล์และวิงวอนให้ทุกภาคส่วนพิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นธรรมและโปร่งใส

    CICเมธ นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ (CIC) เปิดเผยว่าตนเองมีความจำเป็นที่จะต้องออกมาชี้แจงเนื่องจากที่ผ่านมามีความพยายามจากกลุ่มต่อต้านในการยกประเด็นบิดเบือนถึงความเป็นอันตรายของแร่ใยหินไครโซไทล์ และพยายามผลักดันให้มีมาตรการยกเลิกการนำเข้าและการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย ทำให้ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ในฐานะองค์กรที่นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์เห็นว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม จึงเป็นหน้าที่ของศูนย์ข้อมูลฯ ในการนำหลักฐานและเอกสารต่างๆข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งมาแสดงต่อสาธารณชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาต่อไป

     “แร่ใยหินเป็นเส้นใยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เซอร์เพนไทน์ และแอมฟิโบล โดยแร่ใยหินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งในด้านโครงสร้างทางเคมีและด้านคุณสมบัติ ปัจจุบันประเทศไทยได้ห้ามใช้แร่ใยหินประเภทแอมฟิโบลแล้ว เนื่องจากมีผลการศึกษาว่าก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ในขณะที่ยังคงให้ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ (สีขาว) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเซอร์เพนไทน์ได้ต่อไป เนื่องจากไม่มีรายงานการก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพที่ชัดเจนทั้งที่มีการใช้มานานกว่า 70 ปีนายเมธี กล่าว

    นอกจากนี้ ในที่ประชุมใหญ่สมัชชาองค์กรอนามัยโลก(World Health Assembly) ครั้งที่ 60 วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ณ เมืองเจนีวา มีมติว่าแร่ใยหินแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จึงควรจัดให้มีการดูแลที่แตกต่างกันไม่มีมติให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแต่อย่างใด นายเมธย้ำ และกล่าวต่อว่า องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ก็มีการระบุชัดเจนว่าแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

     ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการกำหนดมาตรการควบคุมการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เพื่อให้ประชาชนใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ทั้งทีบางประเทศจะมีการห้ามใช้แร่ใยหิน แต่จากข้อมูลสถิติการค้าแร่ใยหินในปี 2556 ของสหประชาชาติ (United Nations) พบว่าประเทศเหล่านั้นกลับมีการอนุญาตให้มีการนำเข้าและส่งออก อาทิ เยอรมัน สเปน สวิสเซอร์แลนด์ และประเทศอื่นๆ ในยุโรป เป็นต้น

     นายเมธี กล่าวว่า ประเทศไทยมีการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรง คงทน ได้แก่ กระเบื้องหลังคา ท่อน้ำซีเมนต์ คลัทช์ และผ้าเบรคมานานกว่า 70 ปี ซึ่งหากมีการยกเลิกกันจริงๆ ก็จะส่งผลกระทบเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลให้แก่ภาครัฐและเอกชน อีกทั้งวัสดุทดแทนก็ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่ในด้านความแข็งแรงทนทานทำให้คุณภาพสินค้าลดลงรวมถึงระยะเวลาการใช้งานก็ลดลงด้วยเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน ผู้บริโภคซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง รวมถึงหน่วยงานราชการและ

     โครงการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกรมชลประทาน การประปา โครงการหลวง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯลฯ ที่จะต้องใช้ท่อน้ำซีเมนต์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินไครโซไทล์

     นายเมธี กล่าวเพิ่มเติมว่า การห้ามนำเข้าและใช้แร่ใยหินไคร์โซไทล์ อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น จีน รัสเซีย บราซิล คาซัคสถาน เป็นต้น ทั้งนี้ตามมติครม. เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555 ว่าด้วยเรื่อง ผลการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1 ภายใต้คณะกรรมมาธิการร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ได้ระบุชัดเจนให้คำนึงถึงการพิจารณาร่วมกันระหว่างไทยกับรัสเซียในประเด็นแร่ใยหิน และทางรัสเซียก็ได้ร้องขอให้ประเทศไทยให้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ รวมทั้งยินดีที่จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์และทำการศึกษาอย่างจริงจัง ในขณะที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายของกระทรวงอุตสาหกรรม มีข้อสรุปว่าจากการศึกษาไม่ปรากฏข้อมูลที่ชัดเจนว่าแร่ใยหินไครโซไทล์ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการเลิกใช้วัสดุดังกล่าว

      “นอกจากนี้ ตามที่มีการอ้างถึงข้อมูลของสถาบันวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer) หรือ IARC ที่ระบุว่าแร่ใยหินทุกชนิดรวมถึงแร่ใยหินไครโซไทล์เป็นสารก่อมะเร็งร้ายแรงนั้น ในความเป็นจริงแล้วแร่ใยหินไครโซไทล์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งเช่นเดียวกับแสงแดดและปลาเค็ม ดังนั้น การห้ามใช้จึงเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมนายเมธีกล่าว

     นายเมธี ยังเพิ่มเติมอีกว่า รายงานผลการพิจารณาศึกษา ของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2555 ชี้ให้เห็นว่าการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปจัดทำแผนการยกเลิกการนำเข้า ผลิตและจำหน่ายแร่ใยหินและผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบทุกชนิด คงมิใช่เป็นผลจากข้อมูลด้านสุขภาพทั้งหมด แต่อาจเกิดขึ้นจากความพยายามของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ

      นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยข้อมูลจากองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (US EPA) ระบุไว้ว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้มีการห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีใยหิน ทั้งนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2534 อนุญาตให้มีการนำเข้าแร่ใยหินเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย ทั้งนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินที่ไม่ได้มีการห้ามใช้ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมวัตถุมีพิษ(The Toxic Substances Control Act)หรือ TSCA ได้แก่ กระเบื้องลอนซีเมนต์ใยหิน แผ่นซีเมนต์ใยหินชนิดเรียบ เสื้อผ้าที่มีส่วนผสมแร่ใยหิน วัสดุหุ้มท่อ แผ่นฉนวนรองหลังคา กระเบื้องปูพื้นไวนิลใยหิน แผ่นมุงหลังคาซีเมนต์ใยหิน กระดาษอัด ท่อน้ำซีเมนต์ ครัชท์ ผ้าเบรก ปะเก็น สารเคลือบทั่วไป และ สารเคลือบหลังคา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นว่าแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

     นายเมธี กล่าวสรุปว่า จากข้อเท็จจริงที่ได้ประมวลมาเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะให้มีการยกเลิกการนำเข้า ส่งออก หรือใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทยในทางกลับกันควรจะสนับสนุนให้มีมาตรการส่งเสริมให้มีการใช้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยทั้งนี้ หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเอกสารที่แนบมาด้วย หรือต้องการให้ศูนย์ข้อมูลฯ ชี้แจงในประเด็นใดๆ ทางศูนย์ข้อมูลฯ ยินดีให้ความร่วมมือทุกประการ โดยท่านสามารถติดต่อ นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร โทร. 089-816-4031

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!