WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaaiหอการคาญปน

หอการค้าญี่ปุ่น-มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบทฯ-ซีพีเอฟ หนุนนักเรียนเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ปีที่ 18

    (จังหวัดเชียงราย) หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท สนับสนุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ และซีพีเอฟบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าโครงการเลี้ยงไข่ไก่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 ร่วมส่งมอบโครงการฯแก่โรงเรียน 5 แห่ง มูลค่า 1.5 ล้านบาท ณ โรงเรียนป่าแดงวิทยา ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย

      นายณรงศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางนักเรียน จากความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงาน และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการเพื่อเยาวชนที่น่าชื่นชม เนื่องจากมีการดำเนินการในรูปแบบที่สนับสนุนให้โรงเรียนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน และทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีจากการได้รับประทานไข่ไก่สดคุณภาพดีที่พวกเขาช่วยกันดูแลเอง ขณะเดียวกัน โรงเรียนยังมีเงินกองทุนที่สามารถนำไปบริหารจัดการโครงการฯได้อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลพบว่าโรงเรียนที่ร่วมโครงการฯที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และนำรูปแบบไปขยายในเครือข่ายของโรงเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

      ด้าน นายมิจิโนบุ ซึงาตะ ประธานคณะกรรมการหอการค้าญี่ปุ่น–กรุงเทพฯ ส่วนการศึกษาฝ่ายความช่วยเหลือสังคม กล่าวว่า การร่วมสนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนี้ เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ของ JCC-B ที่ต้องการจัดทำโครงการเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ (72 พรรษา) ในปีพ.ศ. 2543 จึงเกิดเป็นความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายขยายโครงการฯ ปีละ 5-8 โรงเรียน และสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโรงเรียนละ 200,000-300,000 บาท ตลอด 17 ปีที่ผ่านมา JCC-B สนับสนุนเงินทุนให้กับโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 23,925,000 บาท ในโรงเรียน 112 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย แบ่งเป็นโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 75 แห่ง ภาคเหนือ 23 แห่ง ภาคกลาง 10 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับนักเรียนกว่า 32,000 คน และครูกว่า 800 คน

       นายชาญชัย หีบสัมฤทิธิ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า โครงการฯนี้มุ่งลดภาวะทุพโภชนาการของเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล ขณะเดียวกัน นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ที่ถูกต้องจากพนักงานของซีพีเอฟเพื่อให้มีผลผลิตไข่ไก่คุณภาพสำหรับปรุงเป็นอาหารกลางวัน ทั้งยังได้ฝึกฝนด้านการบริหารจากการทำงานจริง ตลอดจนโรงเรียนมีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดการบูรณาการกิจกรรมสู่การเรียนการสอน ที่ผ่านมาพบว่าหลายโรงเรียนสามารถขยายผลความสำเร็จสู่กิจกรรมและโครงการอื่น อาทิ โครงการเลี้ยงปลา และปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งเป็นการผลิตอาหารกลางวันเพิ่มเติมจากฝีมือของนักเรียนเอง และผลผลิตจากโครงการยังเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในการได้บริโภคไข่ไก่สดในราคาที่เหมาะสม ขณะที่การเลี้ยงไก่ไข่ก็ยังกลายเป็นอาชีพทางเลือกของนักเรียนและผู้ปกครอง ช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้เสริมให้กับครอบครัว

       โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางนักเรียนมีรูปแบบการดำเนินการ โดย JCC-B ให้การสนับสนุนงบประมาณสำหรับก่อสร้างโรงเรียนพร้อมอุปกรณ์การเลี้ยง พันธุ์ไก่ไข่ อาหาร และยาสัตว์ในการเลี้ยงรุ่นแรก ด้านกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้เสนอรายชื่อโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ ส่วนมูลนิธิพัฒนาชนบทฯ บริหารจัดการโครงการและงบประมาณ คัดเลือกโรงเรียนที่จะดำเนินโครงการ จัดทำแผนการดำเนินงาน ติดตามและรายงานผล โดยมีซีพีเอฟ ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิควิชาการและการจัดการ และเข้าดูแลให้คำปรึกษาแก่อาจารย์และนักเรียนผู้ดูแลโครงการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!