WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1KTB20

รอบตัดเชือกโครงการ 'กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว' ปี 10 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พร้อมเงินรางวัลรวม 1,350,000 บาท ภายใต้แนวคิด 'เศรษฐกิจพอเพียง'

    'กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว'ปี 10 เดินทางมาถึงรอบตัดเชือก พร้อมประกาศผลทีมผู้ชนะเลิศจากผลงานของ 10 ทีมสุดท้ายที่ส่งโครงการเข้าร่วมประกวด ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในปีนี้ โครงการได้ปรับกระบวนการให้ความรู้อย่างเข้มข้น ให้ผู้เข้าแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน และสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ Growing Together ที่ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของบุคลากร สร้างการบริการที่มีคุณค่า ดำเนินธุรกิจ อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

     โครงการ กรุงไทย ต้นกล้าสีขาวประจำปี 2559  ซึ่งเป็นปีที่ 10 โครงการปรับแผนโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ เข้าร่วมประกวดการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมเข้าใจแนวคิดการจัดการที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรก โดยจัดการแข่งขันขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2559 ถึง เดือนมีนาคม 2560 และจัดประกวดรอบชิงชนะเลิศ 10 ทีมสุดท้าย ขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2560 ณ Banking Hall ชั้น 2 อาคาร 1 (นานาเหนือ) บมจ.ธนาคารกรุงไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พร้อมมอบเงินรางวัล  รวม 1,350,000 บาท

    ในงาน ได้รับเกียรติจากผู้บริหารธนาคารกรุงไทย, แขกผู้ทรงคุณวุฒิร่วมงาน อาทิ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม, นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่, นางศิริพร นพวัฒนพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารกลุ่ม สายงานสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร, นายนนทิกร กาญจนะจิตรา กรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม และ ดร.กุลยา ตันติเตมิท กรรมการธนาคาร กรรมการบริหารและกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ธนาคารกรุงไทย และโชว์พิเศษการขับร้องบทเพลงเพื่อพ่อโดย คณะนักร้องเพลงประสานเสียง โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ชนะเลิศอันดับหนึ่งการขับร้องขับขานประสานเสียงระดับมัธยม งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65

    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี กล่าวว่า โครงการ กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว ปี 10 ได้เปลี่ยนจากกลุ่มนิสิต นักศึกษา ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ มีส่วนร่วมโครงงานนำเสนอเป็นครั้งแรก โดยมีโครงงานส่งเข้าประกวดจำนวน 254 ทีมจากทั่วประเทศ โดยคัดเลือกเหลือ 30 ทีม ให้มาเข้าค่ายเวิร์คช็อป ในหัวข้อต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน พร้อมเปิดโอกาสให้ทั้ง 30 ทีมนำเสนอโครงงานของตนเองในกิจกรรม “The Following Camp” และประกาศผล 10 ทีมสุดท้าย ซึ่งเป็นทีมที่มาจากจังหวัดต่างๆ ครอบคลุม              ทุกภูมิภาคของประเทศ แต่ละทีมจะได้รับเงินทุนตั้งต้นจำนวน 30,000 บาท เพื่อนำไปดำเนินโครงงานจริงในชุมชนของตน โดยธนาคารได้ส่งทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญพิเศษลงพื้นที่ให้องค์ความรู้ แนะนำ ติดตามความคืบหน้า และร่วมผลักดัน เพื่อสร้างศักยภาพทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ให้กับ 10 ทีมสุดท้าย ตลอดจนการผลิต คลิปวีดิโอสรุปผลงานเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุด เป็นผู้ชนะเลิศในวันนี้ครับ

ผลการแข่งขัน กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว ประจำปี 2559

ชนะเลิศ                         ทีมจิกกะลาโมเดล จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

                                    รับเงินรางวัล มูลค่า 300,000 บาท

พร้อมเข้าเฝ้ารับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

รางวัล Popular Vote        ทีมจิกกะลาโมเดล จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

เงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท

รองชนะเลิศ อันดับ 1      ทีมต้นกล้าเพชรบุรี จากโรงเรียนพรหมานุสรณ์ จังหวัดเพชรบุรี

                                    รับเงินรางวัล มูลค่า 200,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและโล่รางวัล

รองชนะเลิศ อันดับ 2      ทีม นิว เจน ลานนา (NEW GEN LANNA) จากวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่

                                    รับเงินรางวัล มูลค่า 150,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและโล่รางวัล

ข้อมูล 10 ทีมสุดท้ายโครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ปี 2559

ลำดับ ชื่อทีม ชื่อสถาบัน ชื่อโครงงาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1 New Gen Lanna

วิทยาลัยอาชีวศึกษา

จังหวัดเชียงใหม่

พานพุ่มสักการะจากการขดสานตอกไม้ไผ่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า ทำตามความสามารถของตนเอง ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาล้านนาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต้องการสร้างอาชีพกับชุมชนดอนแก้ว ตำบลท่าศาลา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
2

โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม)

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ตลาดโรงเรียน ยั่งยืนสู่ชุมชน ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การให้ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ทั้งด้านการปลูกพืชและ เลี้ยงสัตว์ การให้ความรู้เรื่อง “ธนาคารเมล็ดพันธุ์” เพื่ออนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พื้นถิ่นไม่ให้เลือนหายไปตามกระแสทุนนิยม ในชุมชน บ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
3 น้ำพริกเผาเพื่อสุขภาพ

วิทยาลัยอาชีวศึกษา

จังหวัดสระบุรี

น้ำพริกเผาลดโซเดียมและน้ำตาลโดยใช้หล่อฮังก๊วย ความพอประมาณและมีภูมิคุ้มกันที่ดีมาปรับใช้กับการทำธุรกิจน้ำพริกเผาสุขภาพ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกสู่ตลาดในแนวทางการดูแลสุขภาพของผู้ที่รักสุขภาพและผู้ป่วย                      เป็นทางเลือกของผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคอ้วน ที่ต้องการรับประทานน้ำพริกที่มีโซเดียมต่ำ น้ำตาลน้อย และเป็นสุขภาพที่ยั่งยืน กับ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่ายาง ตำบลบ้านลำ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
4 RCC ACCOUNT

วิทยาลัยเทคโนโลยี

พณิชยการราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร

รู้คิด รู้ทำ

สร้างสรรค์สังคม

ความพอประมาณ และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทุกหัวข้อ มาใช้กับชุมชนโดยปลูกฝังให้ความรู้ของแต่ละหัวข้อ โดยให้ชุมชนได้ทำในเรื่องของการทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน เป็นระยะเวลา 4 เดือน กับชุมชนข้างวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนินและชุมชนวัดโมลีโลกยาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ จังหวัดกรุงเทพ

ลำดับ ชื่อทีม ชื่อสถาบัน ชื่อโครงงาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5 ต้นกล้าเพชรบุรี โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี

ชะเย้โพลง

พริกแสบสรร

ผันชีวิต

ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมี                         ภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม

โดยนำมาพัฒนากับชุมชนบ้านลิ้นช้าง หมู่ที่3         ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี

6 คนจริงถิ่นใต้

วิทยาลัยเทคโนโลยีวชิราโปลีสงขลา

จังหวัดสงขลา

แสงส่องทาง น้ำบูดูบ้านดินลาน สู่ตลาดที่ยั่งยืน ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม             ในการทำโครงงานมาใช้กับชุมชนบ้านดินลาน อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
7 จิกกะลาโมเดล

โรงเรียนกันทรารมณ์

จังหวัดศรีสะเกษ

จิกกะลาไม่มีหนี้

ชีวีพอเพียง

ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม            มาใช้ในโครงการจิกกะลาไม่มีหนี้ชีวีพอเพียง กับชุมชนจิกกะลา ตำบลผักแพว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
8 เห็ด Strong

วิทยาลัยอาชีวศึกษา

อุบลราชธานี

เพิ่มมูลค่าก้อนเชื้อเห็ด พัฒนาชุมชน            สู่วิถีพอเพียง ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับโครงการเพิ่มมูลค่าก้อนเชื้อเห็ด พัฒนาชุมชน สู่วิถีพอเพียง ที่ชุมชนบ้านนาโพธิ์                 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
9 เยาวชนรักบ้านเกิด โรงเรียนบ้านดุงวิทยา จังหวัดอุดรธานี สืบสานภูมิปัญญา นานาเกลือกก มรดกบ้านดุง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม มาปรับใช้กับชุมชน หมู่11                 บ้านหนองหินใต้และชุมชนหมู่ 9 อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
10 เตรียมน้อมสมุทรร่วมใจ ช่วยไทยยั่งยืน

โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า

จังหวัดสมุทรปราการ

โครงการเลี้ยงกุ้งด้วยชีววิถี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกุ้งปลอดสารเคมีสู่ชุมชน และชีวีที่ยั่งยืน ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!