WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aTNS

นชาตรังสรรค์ปฏิทินประวัติศาสตร์พร้อมฉายภาพยนตร์ได้ด้วยแอปพลิเคชัน AR Code ชุด ๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา ผลงานภาพเขียนและประพันธ์บทอาเศียรวาทโดยศิลปินแห่งชาติ น้อมรำลึกถึงรัชกาลที่ ๙ และเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ ๑๐

    กลุ่มธนชาตรังสรรค์ปฏิทินฉายภาพยนตร์ได้ ประจำปี ๒๕๖๐ ชุด ‘๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา’ น้อมรำลึกแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยี AR Codeให้รับชมภาพยนตร์พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ ๙ ผ่านแอปพลิเคชัน Layar โดยได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติ ‘เปี๊ยก โปสเตอร์’ ร่วมเขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์อันล้ำค่า และ’อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์’ ประพันธ์บทอาเศียรวาท

      นายวิชา กุลกอบเกียรติ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปฏิทินกลุ่มธนชาตประจำปี ๒๕๖๐ ชุด ‘๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา’ จัดทำขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อพสกนิกราวไทย ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย ยังความวัฒนาสถาพร และความมั่นคงเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง  และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มธนชาตจะได้ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ทรงคุณค่า น่าจดจำ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงออกถึงความจงรักภักดีตราบนิจนิรันดร์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

    “ปฏิทินชุดนี้มีความพิเศษในการนำเสนอภาพยนตร์ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยในรูปแบบมัลติมีเดีย AR Code เพียงแค่สแกนภาพบนปฏิทินด้วยสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต โดยใช้แอพลิเคชัน Layar ก็จะสามารถรับชมภาพยนตร์ พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านภาพวาดพระบรมสาทิสลักษณ์สีน้ำมันอันวิจิตรของ อ.สมบูรณ์สุข นิยมศิริ (เปี๊ยก โปสเตอร์) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี ๒๕๕๘ และการประพันธ์บทอาเศียรวาทอันล้ำค่าโดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๓๖ และกวีรางวัลซีไรต์ ประจำปี ๒๕๒๓ พร้อมการประพันธ์คำอธิบายภาพโดย นายอธิชนัน สิงหตระกูล เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาศิลปวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๕๗ จึงนับเป็นการผสมผสานอย่างลงตัวของความงดงามด้านวิจิตรศิลป์ วรรณศิลป์ ในรูปแบบของปฏิทินที่งดงามและมีคุณค่าทางจิตใจ ส่งต่อคุณค่าผ่านกาลเวลาด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อเทิดทูนดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพยิ่ง”

    อ.สมบูรณ์สุข นิยมศิริ (เปี๊ยก โปสเตอร์) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์) ประจำปี ๒๕๕๘ เผยความรู้สึกที่ได้บรรจงเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ในปฏิทิน ชุดนี้ว่า “ถือเป็นสิริมงคลของชีวิตอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการรังสรรค์ผลงานภาพเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โดยได้ร่วมกับลูกศิษย์บรรจงเขียนภาพด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และตลอดการเขียนภาพจะมีความสุขและอิ่มใจอย่างมาก”

     “เชื่อว่าปฏิทินธนชาตประจำปี ๒๕๖๐ ชุด ‘๙ ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา’ จะเป็นหนึ่งในบันทึกประวัติศาสตร์ ที่จารึกเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในทุกช่วงพระชนมพรรษา และเพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นทรงราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งจะเป็นปฏิทินที่มีคุณค่าทั้งทางกาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีคุณค่าทางจิตใจกับมหาชนชาวสยามไปตลอดกาลนายวิชา กล่าวปิดท้าย

ปฏิทินธนชาต ชุด "ทศวรรษ ฉัตรชัยประชา"

มกราคม  : ปฐมกิจมหิตลานุวงศ์

.ศ. ๒๔๗๗ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ แห่ง    พระบรมราชจักรีวงศ์ ในการนี้สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรี นครินทรา บรมราชชนนี ทรงมีบทบาทสำคัญในกาอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาให้ทรงความรัก และทรงเอา พระราชหฤทัยใส่ ในการอบรมสั่งสอนทั้งคุณธรรม จริยธรรม ถ่ายทอดพระราชอัจฉริยภาพและพระราชจริยาวัตรอันงดงาม ให้ทรงพระเจริญสมบูรณ์ด้วยพระสติปัญญา สมพระอิสริยยศ

กุมภาพันธ์  ดำรงอนุชาธิราชวัตร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ จากนั้น พ.. ๒๔๘๘ จึงเสด็จนิวัตประเทศไทย โดยครั้งนี้ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสำคัญพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชา ในการเสด็จเยือนสำเพ็งอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก หลังมีเหตุความไม่สงบเมื่อวันที่ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อสร้าง ความปรองดองระหว่างคนไทยและคนจีน

มีนาคม  ยุวกษัตริย์เถลิงรัชสมัย

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อพระชนมพรรษา ๑๙ พรรษา จากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดยทรงเปลี่ยนไปศึกษาวิชาด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ ในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ

เมษายน  เคียงราชหฤทัยพระจอมขวัญ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาองค์โตของหม่อมเจ้า นักขัตรมงคล กิติยากร และหม่อมหลวงบัว กิติยากร จากนั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย จึงได้ทรงประกอบ พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นองค์ ประธานในพิธี

พฤษภาคม  ทรงสรรค์ธรรมราชานุกิจ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ พฤษภาคม พ.. ๒๔๙๓ พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า 'เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่ง มหาชนชาวสยาม'และใน พ.. ๒๔๙๙ ได้ทรงพระผนวชเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการปฏิบัติราชการแผ่นดินแทนพระองค์

มิถุนายน  อารยมิตรราชสัมพันธไมตรี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ สำคัญ โดยการเสด็จพระราชดำเนินเยือนนานาอารยประเทศอย่างเป็นทางการ ในฐานะองค์พระประมุขของชาติไทย และฐานะผู้เทนของปวงชนชาวไทย เพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรี และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมสากล ยังประโยชน์ต่อ ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างมิตรประเทศสืบเนื่องยั่งยืนมาจวบจนถึงปัจจุบัน

กรกฎาคม  : ทั่วธานีประทับรอยพระบาทยาตร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประจักษ์ถึงปัญหาความยากจน  ความขาดแคลน ความลำบาก และความด้อยโอกาสของราษฎรในชนบทห่างไกลความเจริญ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ด้วยทรงมีพระวิริยะอุตสาหะที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และพัฒนา คุณภาพชีวิตให้ราษฎรอยู่ดีกินดีอย่างเท่าเทียมกัน

สิงหาคม  : จอมปราชญ์ทรงศาสตร์การศึกษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักดีว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ คุณธรรมของบุคคล ดังนั้น หากต้องการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าก็ต้องเริ่มการพัฒนา บุคคลของชาติให้มีคุณภาพ โดยให้การศึกษา การพัฒนาแก่ประชาชน

กันยายน  :  พัฒนาประชาราษฎร์สุขฟื้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น กษัตริย์นักพัฒนาทรงอุทิศพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจ นานัปการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร และช่วยเหลือราษฎรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยโครงการใน พระราชดำริกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ วางรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนแท้จริงให้แก่ปวงชนชาวไทย 

ตุลาคม  นิกรชื่นพระบารมีปรากฏ

.ศ. ๒๕๓๙ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยได้ร่วมกันจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเพื่อถวายเป็นราชสักการะและถวาย พระพรชัยมงคล ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้จัดการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม 

ราชวรมหาวิหาร

พฤศจิกายน  ยิ่งยศสิริราชสมบัติไพบูลย์

วันที่ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถือเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี นับเป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลก และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีพระประมุขและผู้แทนพระองค์มารวมกันมากที่สุดถึง ๒๕ ประเทศ เพื่อร่วมถวายพระพร ชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ธันวาคม  :  เทิดทูนรอยยุคลยาทตราบนิรันดร์

นับเป็นความโชคดีของคนไทยและประเทศไทยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขของชาติตลอด ๗๐ ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติ พสกนิกรชาวไทยได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พระผู้เป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมแห่งจิตใจของประชาชนไทยทั้งประเทศ และด้วยพระบารมี เราจึงรวมกันอยู่ได้อย่างเหนียวแน่นเป็นปึกแผ่น มีชาติ มีประเทศ อันตั้งเป็นอิสระเสรีจนถึงทุกวันนี้ แผ่นดินไทยอยู่คู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์มาช้านานนับเป็นหนึ่งสถาบันหลักบนผืนธงชาติไทยที่เราเคารพรักและเทิดทูน เหนือยิ่งสิ่งใด และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไปตราบนิจนิรันดร์

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบรรณาธิการ

                การรับชมภาพยนตร์ด้วยเทคโนโลยี AR หรือ Augmented Reality คือเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง ช่วยให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจในการรับชมข้อมูลทั้งภาพและเสียงมากยิ่งขึ้น และยังเป็นเทคโนโลยีที่กำลังพลิกโฉมหน้าให้กับสื่อยุคใหม่ให้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้งานได้อย่างเต็มความรู้สึกมากขึ้นในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟมีเดีย (Interactive Media) โดยแท้จริง ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถใช้งานได้บนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS หรือ Android เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Layar จากนั้นสแกนไปที่ภาพในปฏิทินจะปรากฏภาพยนตร์ขึ้น

ออกข่าวโดย :    กลุ่มสื่อสารองค์กร สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)  โทรศัพท์ 0-2613-6000 ต่อ 6456      

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!