WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ซี.พี.กับ ความท้าทายของภาคเอกชนในการผลักดันการพัฒนา CG สู่ความยั่งยืน
  ทันข่าวCP


       ในงานสัมมนาใหญ่ The 3rd National Director Conference 2014 เรื่อง 'Improving Corporate Governance:Key to Advancing Thailand' ซึ่งจัดโดย สถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี นับเป็นงานใหญ่แห่งปีที่รวมบุคลากรระดับมันสมองของประเทศมาขึ้นเวที อาทิ รศ.ดร.จิรายุ  อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานกรรมการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ศาสตราพิชาน ดร.สมคิด  จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) คุณบัณฑูร  ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คุณสุพันธุ์  มงคลสุธีประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.อาชว์  เตาลานนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ และคนอื่นๆอีกมากมาย  

     กระแส CG (Corporate Governance) ที่ได้รับการยอมรับว่าสำคัญมาก ณ ห้วงเวลานี้ และควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา CG อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดเป็นผลจาก 1.วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก 2.การตระหนักว่า CG เป็นเครื่องมือสร้างความไว้วางใจ หรือ Trust  ให้กับธุรกิจ และ 3.CG มีส่วนช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างดี ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นความท้าทายของภาคเอกชนในการผลักดันการพัฒนา CG สู่ความยั่งยืน 

       ในประเด็นนี้ ดร.อาชว์  เตาลานนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ เชื่อว่า CG ต้องเริ่มจากตนเอง จากนั้นจึงผลักดันให้ผู้อื่นปฏิบัติด้วย กรณีของหอการค้า มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา CG ในบริษัทขนาดเล็ก โดยเริ่มจากเรื่องธรรมาภิบาลและพัฒนาไปสู่การส่งเสริมเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ได้เสนอให้มีการส่งเสริม CG ในวงกว้างไม่ใช่แค่ในบริษัทจดทะเบียน แต่ครอบคลุมถึงสถาบันการศึกษาซึ่งปัจจุบันมีการสอดแทรกเรื่อง CG ไว้ในเนื้อหาการเรียนแล้ว และขอสนับสนุนให้นำแนวคิดปรัชญาพอเพียงมาใช้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

        จากประสบการณ์การทำงานกับซี.พี.ที่มีครอบครัวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งให้ความสำคัญกับ CG คณะกรรมการเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อน และสื่อสารมายังผู้บริหารและทุกคนในองค์กร ในปัจจุบันซี.พี.ได้มีการตั้งศูนย์ผู้นำ พัฒนาผู้บริหารเพื่อให้มีความเข้าใจที่สอดคล้องกันในเรื่องแนวทางการดำเนินธุรกิจของคณะกรรมการ  นอกจากนี้คณะกรรมการยังเปิดกว้างให้พนักงานมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็น การจัดวางระบบท้ง CG CSR ให้สอดแทรกเข้าไปในการปฏิบัติงาน และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงบุคลากรในอนาคต  

        ดร.อาชว์ ยังบอกต่ออีกว่า ทุกองค์กรในภาคเอกชนควรร่วมกันในการขับเคลื่อนเรื่อง CG โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นหัวรถจักรในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจของประเทศไทย ทั้งนี้ควรปรับปรุง CG ของตนเองให้ดีขึ้นตลอดจนนำไปขยายผลต่อภาคส่วนต่างๆ อาทิ สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!