WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1พรเดนเชยล

พรูเด็นเชียล สนับสนุน ศิลปินไทยโกอินเตอร์ในนิทรรศการ Prudential Thailand Eye ณ กรุงลอนดอน               

      ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายไนเจล เฮิร์สท์ ผู้อำนวยการและกรรมการผู้จัดการหอศิลป์ซาทชี่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นางลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย มร.บินายัค ดัตตา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ที่1จากขวา) ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนหลัก ร่วมแถลงข่าวการจัดงานนิทรรศการศิลปะไทยร่วมสมัย Prudential Thailand Eye ในหอศิลป์ซาทชี่ (Saatchi) กรุงลอนดอน เมื่อเร็วๆ นี้ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

    ทั้งนี้ นิทรรศการศิลปะไทยร่วมสมัย Prudential Thailand Eye เป็นงานเทศกาลไทยในราชอาณาจักร ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และเพื่อเฉลิมฉลอง 160 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหราชอาณาจักร โดยนิทรรศการได้รวบรวมผลงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่มีความโดดเด่นและสร้างสรรค์จากรากฐานของศิลปวัฒนธรรมของไทยเกือบ 100 ชิ้น ของศิลปินไทย 25 คน เพื่อจัดแสดงสู่สายตาสาธารณชนผู้ชื่นชอบงานศิลปะร่วมสมัยในหอศิลป์ซาทชี่ (Saatchi) กรุงลอนดอน พื้นที่ที่ได้รับความนิยมจากผู้คนในวงการศิลปะ ที่ก่อตั้งมากว่า 30 ปี ซึ่งนิทรรศการดังกล่าวจะมีขึ้น ณ หอศิลป์ซาทชี่ (Saatchi) กรุงลอนดอน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558- มกราคม 2559 และ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมีนาคม- มิถุนายน2559

_________________________________

เกี่ยวกับ บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

        กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลได้เริ่มธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2538 โดยได้ผสานประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระดับโลก เพื่อให้พรูเด็นเชียล ประเทศไทยเปี่ยมด้วยศักยภาพและพร้อมส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวไทยได้ดีที่สุด ปัจจุบัน พรูเด็นเชียล ประเทศไทยให้บริการด้านการประกันชีวิตผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย โดยเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดด้านธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์

        ตลอดระยะเวลา 20 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างความเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมั่นคงให้แก่องค์กร ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้พัฒนาอย่างยั่งยืน ล่าสุด บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจด้านแบงก์แอสชัวรันส์กับธนาคารธนชาตเป็นระยะเวลา 15 ปี รวมถึงการเข้าซื้อธุรกิจของธนชาตประกันชีวิต เพิ่มเติมจากการเป็นพันธมิตรธุรกิจกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) และธนาคารยูโอบี

เกี่ยวกับ หอศิลป์ซาทชี่ (Saatchi)

        หอศิลป์ Saatchi ก่อตั้งขึ้นในปี 2528 มีพื้นที่สำหรับจัดแสดง 7,000 ตารางเมตร  โดยตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา ได้รับความนิยมจากผู้คนในวงการศิลปะร่วมสมัยและผู้ที่สนใจเป็นอย่างมาก อันจะเห็นได้จากสถิติผู้เข้าชมผลงานศิลปะในหอศิลป์ที่มากกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี หรือประมาณ 4,250  คนต่อวัน โดยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้เข้าชม อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18-24 ปี แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของหอศิลป์ในการดึงดูดคนรุ่นใหม่และผู้ที่กำลังเริ่มทำงาน (young professionals) ให้มาเข้าชมและมีส่วนร่วมกับการนิทรรศการผลงานศิลปะร่วมสมัยอย่างต่อเนื่อง และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หอศิลป์ร่วมสมัยแห่งนี้ ได้จัดนิทรรศการที่มีจำนวนผู้เข้าชมสูงสุดในกรุงลอนดอนถึง 15 ครั้ง จากการจัดนิทรรศการทั้งหมด 200 ครั้ง ตามการจัดลำดับความนิยมพิพิธภัณฑ์นานาชาติของวารสารด้านศิลปะ The Art Newspaper นอกจากนี้ หอศิลป์ Saatchi ยังติดอันดับ 1 ใน 5หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ของโลกที่ได้รับการกด Like มากที่สุดทาง Facebook และ Twitter อีกด้วย

         นอกจากนี้ หอศิลป์ซัทชี่ (Saatchi) โดยความร่วมมือของสำนักพิมพ์ สคีรา (Skira) กรุงลอนดอน จะจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมเรื่องราวและผลงานของศิลปินร่วมสมัยของไทยกว่า 70 คน เพื่อเผยแพร่ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการจะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่วงการศิลปะร่วมสมัยของอังกฤษ และคาดว่าจะได้การตอบรับจากผู้ที่สนใจงานศิลปะร่วมสมัยในสหราชอาณาจักรเป็นอย่างมาก

โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ในสหราชอาณาจักร 

------------------------------------

แผนงาน                 อนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

ชื่อโครงการ                     โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี                                          ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ในสหราชอาณาจักร

ลักษณะโครงการ   โครงการใหม่

หมวดรายจ่าย               รายจ่ายอื่น

ความสอดคล้อง                      R    นโยบายรัฐบาล

                                           R    ยุทธศาสตร์กระทรวง (ระบุ)

 นำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศมาสร้างคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ    

          R    รัฐธรรมนูญมาตรา ๗๙ ข้อ ๔.๔.๑ เร่งดำเนินการให้ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมีบทบาทนำในการร่วมเทิดทูนสถาบันหลัก ชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก  สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร กรมส่งเสริมวัฒนธรรม  

       สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

       โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๘๙๔๒-๘ โทรสาร W๐ ๒๔๔๖ ๘๓๔๗Q๐ ๒ ๓๐๗๒

หน่วยงานร่วมจัด  กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภาคเอกชน

๑.       หลักการและเหตุผล

เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษากระทรวงวัฒนธรรมในฐานะหน่วยงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ จึงได้จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ในต่างประเทศ ด้วยการจัดการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเผยแพร่ความเป็นเลิศของศิลปวัฒนธรรมไทยในสาขาศิลปะการแสดงที่เป็นแบบฉบับให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีระดับโลกซึ่งจะตอบสนองต่อนโยบายการทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy)ซึ่งหมายถึง การใช้ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ  ให้บรรลุผลประโยชน์แห่งชาติ ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ และโดยแนวคิดที่ว่า วัฒนธรรมสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการสร้างภาพพจน์ที่ดีของประเทศ สร้างความนิยมที่สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม วิถีชีวิต รวมทั้งแนวคิดทางเศรษฐกิจและการเมืองโดยรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่มีความสำคัญที่จะต้องร่วมมือกันผลักดันให้เกิดการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ สามารถแก้ไขและฟื้นฟูสถานการณ์ของประเทศได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาทางสังคม และการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างมีทิศทางอันจะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศไทย โดยในปี ๒๕๕๘ ได้กำหนดให้สหราชอาณาจักรเป็นประเทศเป้าหมายสำคัญ

ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๓๙๘ ต่อมาในปี ๒๔๒๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ส่งศิลปินไทยไปถวายการบรรเลงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย ซึ่งถือเป็นการนำเอกลักษณ์อันโดดเด่นของศิลปะการแสดงไทยในฐานะทูตวัฒนธรรมไปสู่สายตาประเทศมหาอำนาจเป็นครั้งแรกดังนั้น ในปี ๒๕๕๘ จะครบรอบ ๑๓๐ ปีการเดินทางของศิลปินไทยไปถวายการบรรเลงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย ซึ่งถือเป็นการนำศิลปะการแสดงของไทยไปสู่สายตาชาวอังกฤษเป็นครั้งแรก และการครบรอบ ๑๖๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรอีกด้วย

       ๒.    วัตถุประสงค์     

๒.๑)         เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวพระราชดำริในด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม

๒.๒)         เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสการครบรอบ ๑๖๐ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร และครบรอบ ๑๓๐ ปีการเดินทางของศิลปินไทยไปถวายการบรรเลงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย

๒.๓)         เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานการทูตทางวัฒนธรรมและการทูตสาธารณะเพื่อให้ประชาชน รัฐบาลและประชาคมนานาชาติรู้จัก และมีทัศนคติในทางบวกต่อประเทศไทยและประชาชนไทย ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว

     ๒.๔)   เพื่อนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรรมในรูปแบบศิลปะการแสดง ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง และตระหนักในอัตลักษณ์ คุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมที่เป็นองค์ประกอบในสังคมไทยทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ อันจะเป็นปัจจัยในการสร้างความสมานฉันท์ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และเกื้อหนุนความมั่นคงของชาติ ตลอดจนส่งเสริมการแสดงออกทางวัฒนธรรม

             ๒.๕)   เพื่อสนับสนุนศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

     ๓.    กลุ่มเป้าหมาย

               ๓.๑)   ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานด้านศิลปวัฒนธรรม ศิลปิน                                   นักแสดง เอกชน

               ๓.๒)   เครือข่ายด้านเศรษฐกิจ การลงทุนและการท่องเที่ยวของสหราชอาณาจักร

            ๓.๓)  ประชาชนชาวอังกฤษและนักท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียง

            ๓.๔)  สื่อมวลชนในสหราชอาณาจักรและประเทศใกล้เคียง

            ๓.๕)  หน่วยงานและเครือข่ายตลอดจนชุมชนไทยในต่างประเทศ

       ๔.     ระยะเวลาดำเนินการ

               มิถุนายน – ธันวาคม ๒๕๕๘

       ๕.     สถานที่

กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

       ๖.     กิจกรรมดำเนินการ   

ลำดับที่ กิจกรรม

ช่วงเวลา

สถานที่ หมายเหตุ
๖.๑

การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์  

ตอน นิ้วเพชร – ลักสีดา – ยกรบ – คืนนคร

๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘

Royal Albert Hall

กรุงลอนดอน

โรงละคร Royal Albert Hall เป็นโรงละครขนาดใหญ่ จุผู้ชมได้ประมาณ ๓,๙๕๑ คน เป็นโรงละครที่ศิลปินไทยได้ไปไปบรรเลงเมื่อ ๑๓๐ ปีที่แล้ว
๖.๒

เทศกาลภาพยนตร์ไทย

(Thai Film Festival)

๒๕ – ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘

BAFTA

กรุงลอนดอน

๖.๓ นิทรรศการศิลปะไทยร่วมสมัย ๑๗ พฤศจิกายน – ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๘

Saatchi Gallery

กรุงลอนดอน

๗.    หน่วยงานที่รับผิดชอบ                                              เป็นการบูรณาการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                                                      หน่วยงานหลัก – กระทรวงวัฒนธรรม (สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร กรม                                             ส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์)

       หน่วยงานร่วมจัด – กระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กระทรวง                    การท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งภาคเอกชน

๘.    งบประมาณ                    (/)      งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ ของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม                                     กรมศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยและกรมส่งเสริม                                                วัฒนธรรม และงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ     

๙.          ผลลัพธ์/ ผลลัพธ์

๙.๑)   ศิลปวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นผลผลิตของการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษที่มีเอกลักษณ์ด้านความงาม ประณีต สะท้อนถึงความสูงส่งของภูมิปัญญา ได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่ปรากฏอย่างแพร่หลายในประเทศเป้าหมาย เป็นการส่งเสริมเกียรติภูมิของชาติไทยและเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยในระดับนานาชาติที่มีประสิทธิผลต่อภาพพจน์ของไทยเป็นอย่างมาก

๙.๒)   ผลของการดำเนินงานสามารถส่งผลต่อการสร้างความนิยมไทยและการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนมากขึ้น เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์และการท่องเที่ยวระหว่างกัน ตลอดจนการขยายความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนของประเทศเป้าหมาย

              ๙.๓)   การดำเนินงานเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่และเป็นที่แพร่หลายท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมโลกซึ่งมีผลในด้านการแก้ไขภาพลักษณ์ของประเทศในทางที่ดีและถูกต้อง

              ๙.๔)   การจัดงานครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่าย ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งของฝ่ายไทยและประเทศเป้าหมาย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันจะส่งผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเมืองต่อไป

              ๙.๕)   การจัดงานครั้งนี้ คาดว่าจะมีจำนวนผู้เข้าชม ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน และส่งผลต่อการเพิ่มรายได้และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหลายล้านบาท

ข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ

กัลยาณี วัชโรบล, ปนัดดา สามสีทอง

ฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร

บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย)

โทร. 0 2352 8040 , 0 2352 8575  โทรสาร 0 2352 8927  

E-mail :  [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!